กก.ฟื้นฟูประมงฯ นัดถกเตรียมคิกออฟปล่อยกู้ให้ชาวประมงครั้งประวัติศาสตร์กว่าหมื่นล้านในเดือนมิ.ย.นี้

  •  
  •  
  •  
  •  

อลงกรณ์ พลบุตร

คณะกรรมการฟื้นฟูประมงฯ นัดประชุมนัดแรกศุกร์ที่ 29 พ.ค.63 นี้ ถกเตรียมคิกออฟปล่อยสินเชื่อให้ชาวประมง หลังจา กครม.ไฟเขียวโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในวงการประมงไทย วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา

      วันที่ 27 พฤษภาคม 2563  นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย กล่าวว่า  คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาทตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 63 ซึ่งเป็นโครงการสินเชื่อประมงที่มีเงินมากที่สุดครอบคลุมทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ครั้งแรกของประเทศ และยังเป็นโครงการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมมากที่สุดของทุกภาคส่วนภายใต้การทำงานของคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยกับกรมประมงและสมาคมประมงทุกสมาคมโดยจะมีการประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูฯในวันศุกร์ที่ 29พ.ค. นี้ ที่กรมประมงเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการคิกออฟเปิดโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องประมงทันทีในเดือนมิถุนายน 2563

        นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า จากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีนและวิกฤติโควิด19 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบนโยบายการให้ความช่วยเหลือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านเพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพด้วยการจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพประมง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพต่อไป โดยตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยเป็นกลไกทำงานขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปีที่แล้ว และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เห็นชอบให้ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีเกษตรฯนำเสนอโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องประมง10,300 ล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวานนี้

         นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่าโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 2,164.1 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 2,163 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการประมงกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี และผู้ประกอบการประมงสมทบร้อยละ 4 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่กู้ แบ่งเป็น (1) ธนาคารออมสิน ให้ผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน10ล้านบาทรวมเป็นวงเงินชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 1,050 ล้านบาท และ (2) ธ.ก.ส. ให้ผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อ 5,300 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน5ล้านบาทรวมเป็นวงเงินชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 1,113 ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.