‘ปิดทองฯ’ส่งเสริมเลี้ยงแพะ ยกระดับอาชีพยกระดับรายได้

  •  
  •  
  •  
  •  

‘ปิดทองฯ’ส่งเสริมเลี้ยงแพะ ยกระดับอาชีพยกระดับรายได้

หากกล่าวถึงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคนอาจนึกถึงปัญหาความมั่นคงหากแต่อีกด้านหนึ่งพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแต่ปัญหาเศรษฐกิจก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประชาชนในพื้นที่

ทัณฑวัต พุทธวงค์ หัวหน้างานพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชายแดนใต้ มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เริ่มการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแนวพระราชดำริ ตั้งแต่ปี 2559 ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ของ 3 จังหวัดภาคใต้โดยมูลนิธิปิดทฯ ได้ทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยโครงการต่างๆที่ดำเนินการ ปัจจุบันมีชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่รับประโยชน์5,158 คน1,075 ครัวเรือนในพื้นที่ทั้งหมด 27,484 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทางการเกษตร 18,538 ไร่

“การทำงานจะแบ่งเป้าหมายออกเป็นระยะๆระยะแรกคือการอยู่รอดและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เริ่มงานระยะแรกเพื่อการเกษตรและบริโภคในครัวเรือน ตามด้วยการพัฒนาอาชีพเดิม ส่งเสริมอาชีพใหม่” 

ตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในพื้นที่การเข้าร่วมโครงการได้แก่ชุมชน“บ้านสุเหร่า”ตำบลท่าน้ำ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีปิดทองหลังพระฯ ได้เริ่มเข้ามาพัฒนา ในปี 2560 โดยเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำใช้ในการเกษตรเป็นอันดับแรก 

ในการส่งเสริมระยะแรกปิดทองหลังพระฯได้ให้เกษตรกร 5 ราย ไปศึกษาดูงานที่ จังหวัดต่างๆ ที่มีการเลี้ยงแพะทั่วประเทศ เพื่อนำวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมมาปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมในชุมชน 

นอกจากนี้เกษตรกร 5 รายยังได้รับมอบแพะพระราชทาน“พันธุ์แบล็คเบงกอล”จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ผ่านมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯคนละ 5 ตัว จำนวนทั้งสิ้น 25 ตัวและได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนับสนุนการก่อสร้างคอกแพะและประสานศูนย์แพะแกะยะลา จัดทำรูปแบบการวัดการเจริญเติบโตของแพะให้ถูกสุขลักษณะและสุขาภิบาล ซึ่งจะส่งผลให้แพะสมบูรณ์ได้ราคาดีมากขึ้น158168397143

สุนีย์ ชุมนพรัตน์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพะท่าน้ำ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เล่าว่าในอดีตชุมชนมีการเลี้ยงแพะโดยช้วิธีการเลี้ยงและปล่อยตามธรรชาติปล่อยให้แพะและถึงเวลาจึงจะมีการนำแพะมาจำหน่ายซึ่งมีทั้งที่จำหน่ายเพื่อนำมาใช้ตามข้อกำหนดทงศาสนาอิสลามสำหรับเด็กเกิดใหม่ และจำหน่ายเป็นอาหาร ทำให้มีรายได้จากการเลี้ยงและจำหน่ายแพะรอบละ7-8 พันบาท 

โดยเมื่อมูลนิธิปิดทองหลังพระฯเข้ามาช่วยให้ความรู้และให้มีการศึกษาดูงานเพื่อนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ โดยมีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงแพะโดยทำคอกยกสูง ซึ่งทำให้แพะมีสุขอานามัยที่ดีขึ้น มีการนำมูลแพะไปขายทำปุ๋ยได้  ที่สำคัญแพะที่เลี้ยงด้วยวิธีนี้เป็นไปตามหลัก“ฮาลาล”ของศาสนาอิสลามที่แพะควรจะเลี้ยงในพื้นที่ปิดเพื่อไม่ให้แพะไปกินสิ่งของหรือหญ้าในพื้นที่คนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

“แพะที่เลี้ยงในคอกยกสูงจึงได้รับความนิยมเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบหลักการประกอบอาหารเลี้ยงฉลองเมื่อมีเด็กเกิดใหม่ หรือ ที่เรียกว่า อากีเกาะห์ แม้จะมีราคาสูงกว่าแหล่งอื่นก็ตาม ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้สูงขึ้นเป็น 20,000 บาทต่อการเลี้ยงแพะ 1 รอบ”

ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนแพะท่าน้ำมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมมีสมาชิกกลุ่ม 12 รายปัจจุบันขยายการลี้ยงแพะเป็น 80 ราย เพื่อเพิ่มปริมาณแพะให้เพียงพอกับความต้องการตลาด และการพัฒนาคุณภาพเพื่อส่งออกถือเป็นการเพิ่มรายได้จากการเลี้ยงปศุสัตว์ที่คุณภาพสูงขึ้นและมีราคาสูงขึ้นซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้กับคนในพนที่มากขึ้นในอนาคต

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ