ผุดโรงไฟฟ้าชุมชน โอกาสทองของพืชพลังงาน “หญ้าเนเปียร์”สร้างความรำรวยได้!

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

                                                                          สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

     การที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้ผ่านความเห็นชอบเกี่ยวกับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ตามโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ของกระทรวงพลังงาน ภายใต้การนำของ   นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  ในฐานะรัฐมนตรีว่าการฯ อย่าลืมว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือ เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยนโยบายพลังงาน

        พูดถึงพลังงานทดแทน อยากทำความเข้านิดหนึ่งว่า ความหมายตรงๆของคำว่า “พลังงาน”  คือพลังงานที่มาจากน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าไม่ใช่มาจากน้ำมันเชื้อเพลิงถือว่าเป็น “พลังงานทดแทน” ฉะนั้นพลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงนั่นเอง

        พลังงานทดแทน หามาได้ 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไปเลย ที่เรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง อาทิ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน รวมถึงนิวเคลียร์กับอีกประเภทหนึ่ง คือพลังงานที่ใช้แล้ว สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน อาทิ แสงอาทิตย์  พลังงานจากลม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ  พลังงานความร้อนจากใด้ดิน และไฮโดรเจน ถือเป็นพลังงานที่สะอาด และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

       สำหรับตามโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ นั้นมีความชัดเจน ที่เน้นเป็นพลังงานหมุนเวียน เป็นวัตถุ อาทิ โรงไฟฟ้าชีวมวล  ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย-ของเสีย)  และ เชื้อเพลิงไฮบริด รวมถึงโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์โดยให้ความสำคัญกับโรงไฟฟ้า Quick Win เป็นอันดับแรก

      ที่สำคัญยิ่งวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ มีเป้าหมายชัดเจน คือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยนโยบายพลังงาน  อย่างที่เคยได้กล่าวมาแล้วว่า สิ่งที่คนในชุมชนได้มาคือทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกว่า 7 หมื่นล้านบาท และก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้ชุมชน กระแสไฟฟ้าชุมชนจะได้ใช้ที่ถูกลง

      อันนี้ดูเหมือนว่าชุมชนได้มาโดยทางอ้อม แต่สิ่งที่ชุมชนจะได้แบบชัดเจนโดยเฉพาะเกษตรกรนั้นมาจากการใช้วัตถุดิบที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรมี 2 รูปแบบ คือตลอดระยะเวลา 20 ปีของโครงการ ทางโรงไฟฟ้าต้องซื้อวัตถุดิบมาจากชุมชน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ต้องใช้พืชพลังงานเป็นวัตถุ ฉะนั้นรูปแบบที่หนึ่งที่เกษตรกรจะได้ วัตถุดิบที่มาจากการและเหลือใช้จากเดิมเผาทิ้ง จนเสียมลภาวะ  ไม่ว่าจะเป็น ฟางข้าว ซังข้าว ซังข้าวโพด ต่อไปจะได้อัดก้อนขายให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล

      อีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจยิ่ง คือเดิมที่เกษตรกรปลูกพืชหลายอย่างที่ไม่ได้ราคา เพราะเกิดจากภาวะล้นตลาด เราควรแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกพลังงาน เพื่อขายให้กับโรงไฟฟ้าชุมชน โดยเฉพาะการหญ้าเนเปียร์ ที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ และปัจจุบันผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชุมที่เอกชนดำเนินการอยู่ปลูกเองบ้างแล้ว เพื่อเป็นวัตถุในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นของตัวเอง ต่อไปเมื่อมีโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์เกิดขึ้น ย่อมต้องการวัตถุอย่างแน่นอน

      การนั้นการที่เราจะปลูกหญ้าเนเปียร์ หรือไม้โตเร็ว ประเภทเนื้ออ่อนอย่างอื่นนั้น ต้องมีความชัดเจนก่อนว่า โรงไฟฟ้าชุมชนต้องการเท่าไร ไม่ใช่ว่าทิ้งพืชอย่างอื่นแห่งมาปลูกหญ้าเนเปียร์ หากล้นตลาดก็มีปัญหาเช่นกัน

       ตอนนี้ในส่วนของกระทรวงพลังงานเดินหน้ากันแล้ว สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ ฉะนั้นต้องเป็นหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร รวมถึงสภาเกษตรกรแห่งชาติด้วย ที่ควรจะบูรณาการร่วมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นว่าแต่ละจุดนั้นต้องการอะไรบ้าง ซึ่งต้องรดดูว่า จะมีผู้ประกอบรายใด มีจำนวนเท่าไร และจะสร้างโรงไฟฟ้า ณ จุดใด เพื่อส่งเกษตรกรปลูกพืชพลังงาน รวมถึงการปศุสัตว์ด้วยต่อไป

       เมื่อโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์เกิดขขึ้พืชพลังงานตัวหนึ่งที่น่าสนใจ และมีความเป็นได้สูงที่เกษตรกร ควรหันมาปลูกคือ “หญ้าเนเปียร์” เพราะเก็บเกี่ยวได้เร็ว คือเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวหญ้าครั้งแรกเมื่ออายุ 75 วัน จากนั้นจะตัดมาใช้ประโยชน์ได้ทุกๆ 60 วัน และจะสามารถตัดได้ตลอดทั้งปี โดยปีละ 5-6 ครั้ง จะได้ผลผลิตน้ำหนักสด ประมาณไร่ละ 70-80 ตัน ต่อไร่ เป็นน้ำหนักแห้งราวๆ 10-12 ตัน

      ฉะนั้น หญ้าเนเปียร์ น่าจับตามอง และเชื่อว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยได้ในอนาคต  เพราะโดยปกติ เกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สามารถขายได้ถึง 2 ช่องทาง คือเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในกลุ่มสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ และสามารถขายเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมพลังงานได้อีก ยิ่งใรโครงการไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ยิ่งมีตลาดเพามากขึ้นด้วย

      โอกาศหน้าจะเล่าถึงรายละเอียดของหญ้าเนเปียร์ ว่าสายพันธุ์อะไรน่าปลูกที่สุดในบ้านเรา วิธีปลูกอย่างไร ค่อยติดตามครับ !!