อนิสงค์”น้ำปุ๋ย”จากน้ำใจซีพีเอฟ เกษตรกรเฮ! ลดวิกฤตแล้ง เพาะปลูกได้ผลผลิตสูง

  •  
  •  
  •  
  •  

“น้ำที่ได้จากฟาร์มของซีพีเอฟนอกจากมีสารอาหารที่เหมาะกับพืชแล้ว ช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อนที่ไม่ได้ใช้น้ำปุ๋ย ได้ผลผลิตต่อไร่ 900-1,000 กิโลกรัม หลังจากใช้น้ำปุ๋ยปัจจุบันได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 3,000 กิโลกรัมต่อไร่    ที่สำคัญน้ำปุ๋ยจากฟาร์มยังมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ที่เป็นธาตุอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย”

       จากสถานการณ์ภัยแล้ง ที่กระนำและคุกคามพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรและสร้างความเสียงให้ต่อภาคการเกษตรอย่างมหาศาลปีแล้วปีเล่า บางพื้นที่เกิดภาวะแห้งแล้งซ้ำซาก ดุจเดียวกับปีนี้ได้เกิดภาวะทิ้งช่วง และมีปริมารน้อยทำให้เกษตรกรขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ที่รัฐบาลประกาศแล้วประกาศอีกเพื่อขอความร่วมมือจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไปใช้น้ำอย่างประหยัด

       ทว่า…เกษตรกรที่อยู้ใกล้สถานการประกอบการโดยเฉพาะฟาร์มปศุสัตว์ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่มีความพร้อมด้านแหล่งนี้นั้น ทางซีพัเอฟ พร้อมแบ่งปันน้ำปุ๋ยจากระบบบำบัดของฟาร์มสุกรและโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชในชุมชนรอบสถานประกอบการ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมาเกือบ 20 ปีแล้ว เกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือยืนยันว่า ไม่เพียงแต่จะมีน้ำเพื่อเพาะปลูก หากแต่อนิสงค์จากน้ำปุ๋ยของซีพีเอฟ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย 


        นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ บอกว่า  จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นรุนแรงกว่าหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะกระทบกับการเพาะปลูกของพี่น้องเกษตรกร บริษัทจึงเตรียมความพร้อมแบ่งปันน้ำ จากฟาร์มสุกรที่ออกมาจากระบบไบโอแก๊ส และผ่านระบบการบำบัดแล้ว โดยให้แต่ละฟาร์มสำรวจความต้องการเกษตรกร และเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือในการจ่าย “น้ำปุ๋ย” ให้กับเกษตรกรที่อยู่รอบๆฟาร์ม

        ทั้งนี้ช่วยลดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรจากวิกฤติแล้ง ตอบรับนโยบายของภาครัฐที่ให้ผู้ประกอบการนำน้ำที่ผ่านระบบบำบัด เป็นน้ำที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด แล้วมาช่วยการเพาะปลูกของเกษตรกร ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2545 ซีพีเอฟได้แบ่งปันปันน้ำปุ๋ย ให้พี่น้องเกษตรกรหลายพื้นที่นำไปใช้ในไร่อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยูคาลิปตัส ปาล์ม สวนผลไม้ ฯลฯ อย่างต่อเนื่องจนถึง ปีนี้มีเกษตรกร 113 ราย รับน้ำไปใช้ในแปลงเพาะปลูกบนพื้นที่รวม 3,650 ไร่


         “ตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ดำเนินโครงการฯ ได้มีส่วนช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยให้กับเกษตรกรได้มากกว่า 1.99 ล้านบาทต่อปี นอกจากฟาร์มสุกรแล้ว โรงชำแหละของบริษัท อาทิ ที่โรงชำแหละสระแก้ว มีเกษตรกรขอนำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดไปใช้ในไร่อ้อย 100 ไร่ ทั้งช่วยแก้ปัญหาขาดน้ำและลดค่าปุ๋ยได้ถึงปีละ 300,000 บาท” นายสมพร กล่าว


          นางยุพิน อะตะมะ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน 2 ไร่ และพืชผักสวนครัวอีก 1  ไร่ ในพื้นที่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเกษตรกรในชุมชน 20 รายที่นำ “น้ำปุ๋ย” จากฟาร์มสุกรซีพีเอฟมาตั้งแต่ปี 2561 เล่าว่า า หลังจากใช้น้ำปุ๋ยจากฟาร์มสุกรจอมทอง  ไม่เพียงช่วยบรรเทาความเสียหายของพืชผลจากปัญหาภัยแล้ง แต่ยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี และผลผลิตเพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ 4 กระสอบ ตอนนี้ลดใช้ปุ๋ย เหลือเพียง 2 กระสอบเท่านั้น

        เนื่องจากน้ำที่ได้จากฟาร์มของซีพีเอฟนอกจากมีสารอาหารที่เหมาะกับพืชแล้ว ช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อนที่ไม่ได้ใช้น้ำปุ๋ย ได้ผลผลิตต่อไร่ 900-1,000 กิโลกรัม หลังจากใช้น้ำปุ๋ยปัจจุบันได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 3,000 กิโลกรัมต่อไร่    ที่สำคัญน้ำปุ๋ยจากฟาร์มยังมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ที่เป็นธาตุอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย


       เช่นเดียวกับ นางวันดี สิงห์ทะ ที่ปลูกข้าวโพดหวานบนพื้่นที่ 4 ไร่ บอกว่า า หลังจากใช้ “น้ำปุ๋ย” ไดผลผลิตเพิ่มเป็นไร่ละ 2,500 กิโลกรัม จากที่เคยได้ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ และลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้มากกว่าเท่าตัว เพราะน้ำปุ๋ยมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด

            นอกจากฟาร์มสุกรแล้ว โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จ.นครราชสีมาและจ.สระบุรี บริษัทฯ ยังพร้อมนำน้ำที่ผ่านระบบการบำบัดและมีคุณภาพตามมาตรฐานแล้ว ประมาณ 11,000 ลูกบาศก์เมตร/โรงงาน/วัน แบ่งปันให้พี่น้องเกษตรกรที่เพาะปลูกอยู่รอบโรงงาน ซึ่งที่ผ่านมามีเกษตรกรในชุมชนรอบโรงงานขอรับน้ำไปใช้ในแปลงเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง


         ทั้งนี้ นายสำราญ โสดานิล เกษตรกรที่รับน้ำจากโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ครบวงจรซีพีเอฟ ต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี กล่าวว่า ทำสวนเกษตรผสมผสานบนพื้นที่ 7 ไร่ โดยขอรับน้ำจากโรงงานซีพีเอฟ ตั้้งแต่ปี 2557 สำหรับใช้รดต้นกล้วย มะนาว และพืชอื่นๆ แต่ละเดือนรับน้ำประมาณ 115 ลูกบาศก์เมตร และช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 2,500 บาทต่อเดือน ซึ่งช่วยเกษตรกรผ่านวิกฤติภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงได้แล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่งด้วย

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการของซีพีเอฟ ที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อให้กับเกษตรกรที่อยู่รอบๆสถานประกอบ ที่กำลังประสบปัญหาความเดือดจากภัยแล้ง จนไม่มีน้ำเพื่อใช้การเพาะปลูก แต่การแบ่งปันน้ำปุ๋ยของซีพีเอฟนั้น ไม่เพียงที่จะให้บรรเทาความเดือดร้อนที่ขาดแคลนน้ำอย่างเดียว หากแต่ทำให้พืชที่เกษตรกรปลูกเพิ่มผลผลิตอีกด้วย