บทเรียน ที่ข้าวไทยควรระวัง

  •  
  •  
  •  
  •  

กรณี(น่า)ศึกษาการตอบโต้ของ EU ต่อข้าวกัมพูชาและเมียนมา

ปี 2561 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังตลาดโลก รวม 1.3 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1,413 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี 8 % ส่งออกในตลาดอียู ทั้งมีอัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิเฉลี่ยที่ 3 โดยมีปัจจัยหนุนจากผู้บริโภคในกลุ่ม EU ที่มีการเปิดรับการรับประทานข้าวที่หลากหลายประเภทและหลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งยังมีปริมาณนำเข้าข้าวที่สีแล้วโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการนำเข้าจากอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่ม EU ด้วยกันมากที่สุด

โดยข้าวที่กัมพูชาส่งออกไป EU ส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมสายพันธุ์เมล็ดยาว ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของข้าวหอมมะลิไทย ทั้งนี้ข้อได้เปรียบหลักของกัมพูชาอยู่ที่ราคาส่งออกที่อยู่ในระดับต่ำกว่าไทยถึง 200-300 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน

โดยราคาส่งออกข้าวที่สีบ้างแล้วของกัมพูชา อยู่ที่ 600-700 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เทียบกับไทยซึ่งอยู่ที่ 800-1,000  ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ค่าเฉลี่ยปี 2561) ส่วนต่างของราคาส่งออกข้าวที่สูงนี้ เป็นผลมาจากการที่กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีนำเข้าข้าวไปตลาด EU

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปได้ใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard measures) กับสินค้าข้าวกับทั้งสองประเทศ คือ กัมพูชา และเมียนมา อันเนื่องจากก่อให้เกิดความเสี่ยงบางประการ คือ เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่รัฐบาลอิตาลีและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ผลิตข้าว (สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส กรีซ ฮังการี โรมาเนีย และ บัลแกเรีย) ได้ร้องขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปดำเนินการสืบสวนสอบสวนการนำข้าข้าวจากกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งมีราคาต่ำจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการในสหภาพยุโรป

จากกการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2561 คณะกรรมาธิการยุโรปพบว่า การนำเข้าข้าวสายพันธุ์อินดิกา (Indica rice) จากทั้ง กัมพูชาและเมียนมามีปริมาณรวมกันเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 89 ในช่วงฤดูเพาะปลูก 5 ฤดูที่ผ่านมา

ในขณะเดียวกัน สินค้าข้าวจากทั้งสองประเทศมีราคาต่ำกว่าข้าวในตลาดสหภาพยุโรปเป็นอย่างมากและ ราคาข้าวจากทั้งสองประเทศลดลงในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้การนำเข้าข้าวปริมาณมากในราคาต่ำในช่วงระยะเวลาอันสั้นจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ผลิตข้าวในสหภาพยุโรปซึ่งสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในสหภาพยุโรปจากร้อยละ61 เป็น ร้อยละ 39

ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Implementing Regulation (EU) 2019/672 ลงใน Official Journal of the European Union เมื่อวันที่ 17 มกราคม2562 เพื่อเริ่มเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา ปกติสำหรับสินค้าข้าวจากกัมพูชาและเมียนมาตั้งแต่ วันที่ 18 มกราคม 2562 เป็นต้นไปเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยในปีแรกจะเก็บในอัตราตันละ 175 ยูโร และลดลงจนถึงอัตราตันละ 150 ยูโร ในปีที่ 2 และ 125 ยูโร ในปีที่ 3

มีการตั้งข้อสังเกตว่า มาตราการทางภาษีดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้เกิดการลักลอบขนส่งข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทยเพื่อปลอมแปลงถิ่นกำเนิดสินค้าก่อนจะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ทั้งนี้แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับสิทธิ GSP

การนำเข้าข้าวที่มีถิ่นกำเนิดสินค้าในประเทศไทยมีอัตราภาษีที่น้อยกว่าอัตราภาษีสำหรับข้าวจากเมียนมาหรือกัมพูชาประมาณตันละ 25 ยูโร ซึ่งสามารถลดต้นทุนของการส่งออกไปยังประเทศ สมาชิกสหภาพยุโรปได้มากในระดับหนึ่งในกรณีที่ส่งออกในปริมาณมาก

ด้วยเหตุนี้ ทางการไทยไทยจึงควรเฝ้าระวังการลักลอบและหลีกเลี่ยงการนำเข้าข้าวสายพันธุ์เดียวกัน (like products) จากประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด่านศุลกากรที่มีพรมแดนติดกับทั้งสองประเทศ เช่น ด่านศุลกากรแม่สาย จังหวัดเชียงราย และด่านศุลกากร อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

อย่าไรก็ตามเห็นได้ว่ามาตรการทางการค้าระหว่างประเทศบางประการที่ใช้กับประเทศเพื่อนบ้านนั้น แม้ไม่ได้มีผลโดยตรงกับประเทศไทยแต่อาจส่งผลกระทบทางอ้อมที่ควรเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางศุลกากรและความผิด ตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะในกรณีนี้หากเกิดการปลอมแปลงถิ่นกำเนิดสินค้าในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปอาจใช้ มาตรการบางประการที่อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าจากไทยไปยังประเทศสมาชิกมีความยากลำบากมากขึ้น

ที่ : https://www.bangkokbanksme.com