“เนสกาแฟ” กาแฟไทย…ส่งเสริมเกษตรกรปลูกยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

“ปลูกด้วยใจ กาแฟไทยยั่งยืนกับเนสกาแฟ” (Grown Respectfully) ขึ้นเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การปลูกกาแฟในระดับฟาร์ม ทั้งกับเกษตรกรชาวสวนกาแฟ, ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยการปลูกกาแฟด้วยความรับผิดชอบ และคำนึงถึงความยั่งยืนมาหลายทศวรรษ

สำหรับประเทศที่มีการปลูกและผลิตกาแฟ เช่น ประเทศไทย เกษตรกรชาวสวนกาแฟต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตต่ำ ทำให้บางปีได้รับผลตอบแทนไม่เต็มที่ การจัดทำหลักปฏิบัติตามแนวทาง “ปลูกด้วยใจ กาแฟไทยยั่งยืนกับเนสกาแฟ” ก็ด้วยจุดมุ่งหมายในการช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้มีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์และเกิดความยั่งยืน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรชาวสวนกาแฟ ครอบครัว คนทำงานในสวน และชุมชน

  

คุณแวลดดิสลาฟ อังดรีฟ ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์กาแฟและครีมเทียม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “จุดมุ่งหมายของหลักปฏิบัติตามแนวทาง “ปลูกด้วยใจ กาแฟไทยยั่งยืนกับเนสกาแฟ” ก็คือการสร้างอุปทานเมล็ดกาแฟให้มีความยั่งยืนและมีคุณภาพ (quality green coffee) พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ โดยผ่านการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ควบคู่ไปกับการฝึกอบรมจากทีมนักวิชาการเกษตรที่มีความเชี่ยวชาญของเนสกาแฟ ที่จะเข้าไปทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิดในการส่งต่อเมล็ดพันธุ์กาแฟคุณภาพดี และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปลูกกาแฟเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้นอย่างเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงชีพทั้งของตนเองและครอบครัว พร้อมทำให้การทำสวนกาแฟเป็นอาชีพที่สามารถสืบทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป ควบคู่ไปกับการมีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ในช่วงการปลูกตลอดจนถึงกระบวนการผลิต”

คุณทาธฤษ กุณาศล ผู้จัดการฝ่ายบริการการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “Grown Respectfully ไม่ใช่โครงการระยะสั้นที่ทำแล้วเลิก แต่เป็นสิ่งที่เนสท์เล่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการเกษตรของเนสท์เล่ทำงานร่วมกับเกษตรกรในด้านนี้มากว่า 30 ปีแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของแผนกใดแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นความรับผิดชอบต่อ สิ่งคือ เกษตรกร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของความยั่งยืนที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ในระยะยาว เพราะในธุรกิจนี้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องสภาพภูมิอากาศ ความสมบูรณ์ของดิน และโดยเฉพาะเรื่องแรงงานในภาคเกษตรที่ลดลง ลูกหลานเกษตรกรที่เรียนจบปริญญาตรีมาไม่อยากสืบทอดสวนกาแฟของพ่อแม่ เราจึงริเริ่มโครงการ Junior Coffee Farmer ขึ้นมาเพื่อเข้าไปสอนเด็กวัยมัธยมที่อยู่ในหมู่บ้านว่ากาแฟยังเป็นพืชที่มีอนาคต และเราพยายามที่จะสื่อสารให้เกษตรกรมีมุมมองความคิดที่เปลี่ยนไป เป็นแบบ agricultural entrepreneur หมายความว่าเกษตรกรต้องมองว่ากาแฟคือธุรกิจของเขา การเกษตรคือการทำธุรกิจ เขาต้องมีการลงทุน ต้องบริหารจัดการความเสี่ยง โดยเราช่วยลดความเสี่ยงที่เจอให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด ปัจจุบัน เนสท์เล่มีนักวิชาการเกษตรเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนกาแฟในพื้นที่ จังหวัด คือ ชุมพร ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจันทบุรี และเรามีแผนจะขยายการทำงานออกไปยังพื้นที่ในจังหวัดอื่นๆ ด้วย”

“ทั้งหมดนั้นสะท้อนออกมาในงานที่เราทำอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในปี 2542 เนสท์เล่เซ็น MOU กับกรมวิชาการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงเรื่องการพัฒนากาแฟโรบัสต้าร่วมกัน มีการส่งนักวิชาการไปศึกษาเรื่องการวิจัยและพัฒนากาแฟที่เมือง Tours ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้ช่วยเหลือเราในด้านการแลกเปลี่ยน หาพันธุ์กาแฟที่เหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ในปี 2547 เราพบว่ามีความต้องการต้นกล้ากาแฟมากเพราะคนอยากปลูกเยอะขึ้นแต่กรมวิชาการเกษตรผลิตไม่ทัน เราจึงช่วยผลิตต้นกล้ากาแฟโรบัสต้าในปีนั้น พร้อมกับจัดตั้งแปลงทดสอบที่   อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จนพร้อมกระจายต้นกล้าให้เกษตรกรได้ในปี 2549 ซึ่งนับถึงปัจจุบัน เรากระจายไปมากกว่า 1.6 ล้านต้น เรายังเข้าไปส่งเสริมเรื่องการรับซื้อด้วย เรามีจุดรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกรที่อยู่ในภาคใต้ เริ่มครั้งแรกในปี 2535 โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ในพื้นที่ใกล้กับเกษตรกรเพื่อให้เสียค่าขนส่งน้อยที่สุด เนสกาแฟเป็นผู้รับซื้อกาแฟจากเกษตรกรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ ปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้คาดหวังแค่กาแฟรสชาติดี หรือราคาสมเหตุสมผลเพียงเท่านั้น แต่คำนึงถึงที่มาที่ไปของวัตถุดิบด้วย เช่น มีการใช้แรงงานเด็กหรือไม่ มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือไม่ หรือมีการบังคับแรงงานให้ทำงานหรือไม่ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีหลักปฏิบัติที่เกษตรกรไทยกว่า 2,700 คน ผ่านเกณฑ์มาแล้ว เรียกว่า มาตรฐาน 4C (Common Code for Coffee Community) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ทั้งนี้ เนสท์เล่จะมีการให้ incentive (bonus) แก่เกษตรกรด้วย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรได้มาตรฐานดี การรับรองจะกระทำโดยองค์กรสากล ตรวจสอบภายใต้หลัก 10 ข้อห้าม และ 27 ข้อควรทำ ซึ่งพิจารณาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”

 

โครงการ “ปลูกด้วยใจ กาแฟไทยยั่งยืนกับเนสกาแฟ” มีวัตถุประสงค์ในการสร้างหลักประกันให้กับอนาคตของกาแฟคุณภาพที่ส่งถึงผู้บริโภคได้ทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต โดยประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน อันได้แก่การตระหนักถึงคุณค่าของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ การสร้างคุณค่าให้ชุมชน และการรักษาคุณค่าของสิ่งแวดล้อม” คุณแวลดดิสลาฟกล่าวเสริม

     
ยุวชนชาวสวนกาแฟ Junior Coffee Farmer Program

การต่อยอดไปสู่การจัดทำโครงการ “Junior Coffee Farmer Program” เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2560 เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกกาแฟให้กับลูกหลานในชุมชนเกษตรกรชาวสวนกาแฟด้วยกิจกรรมที่เด็กๆ จะเรียนรู้ได้อย่างสนุก เข้าใจง่าย และได้ลงมือปฎิบัติจริง โดยในปี 2561 ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความพิเศษเพิ่มเติมคือ การสอนการปลูกแปลงแม่พันธุ์กาแฟที่เนสกาแฟได้วิจัยและพัฒนามาแล้วว่าเหมาะกับการปลูกในเมืองไทย ให้ผลผลิตที่ดีกว่าพันธุ์เดิม เด็กๆ จะได้ซึมซับและผูกพันกับการปลูกกาแฟ เห็นคุณค่าของอาชีพชาวสวนกาแฟว่าสามารถสร้างรายได้มั่นคงให้ตนเองได้ในอนาคต