ไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบันเห็ดฟางที่ขายในท้องตลาดราคาแพงมาก ทั้งที่เป็นเห็ดพื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ เมื่อก่อนเวลาจะเพาะเห็ดฟางจะใช้ฟางข้าว แต่ปัจจุบันสามารถใช้วัสดุหลายอย่าง ล่าสุด ข่าวเกษตรไทยรัฐ เสนอข่าวเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือก กาแฟ น่าสนใจมาก
การเพาะเห็ดฟางเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจ เพราะใช้เงินทุนและพื้นที่ไม่มาก ระยะเวลา 8–10 วัน มีดอกเห็ดให้เก็บไปทำอาหาร หรือขายได้อย่างสบาย…แม้เกษตรกร
จะเพาะเห็ดฟางกันมาก แต่ราคาไม่เคยตก ยังซื้อขายกันที่ กก.ละ 100–120 บาท เพราะความต้องการสูง “เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง
กันมาก แต่ราคาไม่เคยตก ยังซื้อขายกันที่ กก.ละ 100–120 บาท เพราะความต้องการสูง “เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง แต่นับวันราคาสูง
ขึ้นเรื่อยๆ ภาคเหนือมีเปลือกเชอรี่กาแฟเหลือทิ้งจำนวนมาก เราจึงคิดทดลองนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดฟางในตะกร้าแทนขี้เลื่อย ปรากฏว่า ไม่เพียงจะให้ผลผลิตดี
เห็ดดอกใหญ่ ขาวสะอาด แถมยังไม่มีกลิ่นอับชื้นเหมือนเพาะด้วยขี้เลื่อยหรือฟาง และที่มาทำเป็นเห็ดตะกร้าแทนเป็นกอง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดวางและเก็บดอกเห็ด
ได้ง่ายเท่านั้นเอง”
น.ส.นันธินี ศรีจุมปา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย เผยถึงที่มาของการใช้ตะกร้าเพาะเห็ดด้วยเปลือกกาแฟ…ที่ ใช้เงินทุนเพียง 150 บาท แต่ได้เห็ด 5 ตะกร้า ตะกร้าละ 1 กก. กำไรเห็นๆ 300 บาท ภายใน 14 วัน ต้นทุนครั้งแรกจะหมดไปกับค่าตะกร้า ผ้าพลาสติก สแลน และค่าเชื้อเห็ด แต่หลังจากนั้นจะนอนเก็บกำไรอย่างเดียว เพราะมีแต่ค่าเชื้อเห็ดเท่านั้นเอง
วิธีการทำ หลังจากได้เชื้อเห็ดฟางต้องขยี้ให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำแป้งข้าวเหนียว 2 ช้อนโต๊ะ มาคลุกเคล้ากับเชื้อเห็ดให้เข้ากัน แบ่งก้อนเห็ดให้ได้ 9 กองเท่าๆกัน สามารถเพาะเห็ดได้ 3 ตะกร้า นำเปลือกเชอรี่กาแฟ แห้งไปแช่น้ำนาน 1 ชม.ให้อุ้มน้ำ จากนั้นนำมาใส่ก้นตะกร้าอัดให้แน่น หนา 2 นิ้ว
นำผักตบชวาสดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ยาวไม่เกิน 1 นิ้ว โรยชิดขอบตะกร้าด้านใน เว้นบริเวณตรงกลางตะกร้าสูง 1 ซม. นำเชื้อเห็ดที่คลุกแป้ง 1 กอง มาโรยให้ทั่วชั้น เสร็จแล้วนำเปลือกเชอรี่กาแฟที่แช่น้ำมาโรยอัดให้แน่น ตามด้วยผักตบชวาอีกที ทำขั้นตอนวิธีเดียวนี้ให้ครบ 3 ชั้น…ชั้นบนสุดต้องโรยผักตบให้ทั่วทั้งชั้นเต็มพื้นที่ผิวไม่ต้องเว้น แล้วโรยเชื้อเห็ดให้ทั่ว
นำตะกร้าเพาะเห็ดวางใต้โคนต้นไม้ ทำโครงไม้ให้มีความโค้งครอบตะกร้าเห็ด ป้องกันไม่ให้น้ำหยดลงไปในตะกร้า เพราะจะทำให้เชื้อเห็ดฝ่อ คลุมด้วยผ้าพลาสติก และปิดทับด้วยสแลนอีกชั้นเพื่อพรางแสง 5 วันแรกปล่อยทิ้งไว้ห้ามเปิดผ้า…วันที่ 6 เริ่มเปิดผ้าพลาสติกด้านหน้าโครงไม้เพื่อระบายอากาศ จะเห็นเส้นใยเห็ดเริ่มเดิน และเมื่อดอกเห็ดมีขนาดเท่าเม็ดผงซักฟอก ควรเปิดผ้าพลาสติกออกเหลือไว้แต่สแลน วันที่ 8 เริ่มมีดอกเห็ดฟางให้เก็บ…วันที่ 9 ดอกเห็ดจะยังไม่มาก วันที่ 10 และ 11 จะมีดอกมากที่สุด จากนั้นค่อยลดลง หมดไปภายใน 14 วัน
ถ้าต้องการให้มีเห็ดออกมาขายได้ทั้งเดือน นันธินีบอกว่า ขึ้นอยู่วิธีการบริหารจัดการในเรื่องวางแผนการเพาะเห็ดแต่ละชุดให้ทยอยออกดอกได้อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยต้องมีโครงเพาะเห็ด 3 ชุด ถึงจะเก็บเห็ดขายได้ทุกวัน…สนใจติดต่อ โทร.08–1112–2370.
ที่มา : ไทยรัฐ : โดย…เพ็ญพิชญา เตียว