
สัตวแพทย์ยืนยันว่า เนื้อหมูปลอดภัยสำหรับการบริโภค และไม่ใช่พาหะของโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ผู้บริโภคควรปรุงสุกทุกเมนู และเลือกซื้อจากร้านจำหน่ายที่ ถูกสุขอนามัยได้การรับรองจากหน่ วยงานภาครัฐ เพื่อความมั่นใจ
นายสัตวแพทย์วรวุฒิ ศิริปุณย์ รองเลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุ กรแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่มีความกังวลเกี่ ยวกับการแพร่ ระบาดของโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) สมาคมฯ ขอชี้แจงว่า แอนแทรกซ์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิ ดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis สามารถพบได้ในดินและสภาพแวดล้ อมตามธรรมชาติ เชื้อดังกล่าวมักจะส่งผลกระทบต่ อสัตว์กินพืชและเคี้ยวเอื้อง สัตว์พาหะหลัก เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และอูฐ แต่ ไม่แพร่ระบาดในหมู ประชาชนสามารถบริโภคเนื้อหมู ได้อย่างปลอดภัย หากปรุงสุกอย่างทั่วถึงที่อุ ณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป ซึ่งจะสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรี ยและจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้ อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ควรรับประทานเนื้อหมูที่ ดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเชื้ อโรคที่อาจปนเปื้อน

ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากแหล่ งที่ถูกสุขลักษณะและได้รับการรั บรองคุณภาพ เช่น กรมปศุสัตว์ หรือสำนั กงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้ อน การบริโภคเนื้อหมูจากร้านที่มี มาตรฐานและสุขลักษณะที่ดี จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าเนื้อหมู มีความสะอาดและปลอดภัย ที่สำคัญการปรุงสุกที่อุณหภูมิ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อทำลายเชื้ อแบคทีเรียที่อาจตกค้างได้
นายสัตวแพทย์วรวุฒิ กล่าวย้ำว่า ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการสัมผั สสัตว์ติดเชื้อหรือซากสัตว์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติ การระบาด หากจำเป็นต้องสัมผัสเนื้อสัตว์ ควรสวมถุงมือ หน้ากาก และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้ อหมูดิบ หรือเมนูที่ปรุงไม่สุกทั่วถึง เช่น ลาบดิบ ก้อย หรือต้มสุก ๆ ดิบ ๆ

นอกจากนี้ การรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงไม่ สุก ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Streptococcus Suis ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้หูดับ (Streptococcal meningitis) ที่ทำให้เกิดอาการไข้สูง ปวดเมื่อย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสี ยการได้ยินถาวร หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น การปรุงสุกอย่างทั่วถึงจึงเป็ นการป้องกันที่ดีที่สุด
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ขอเน้นย้ำว่า ประชาชนไม่ต้องตระหนกกับข่าวสาร แต่ควรศึกษาข้อเท็จจริงและปรุ งสุกเนื้อหมูก่อนบริโภคทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี ของทุกคน