ธ.ก.ส. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับ Young Smart Farmer 50,000 ราย สู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรชั้นนำ

  •  
  •  
  •  
  •  

ธ.ก.ส. มุ่งสู่แกนกลางการเกษตร จับมือกรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้ายกระดับ Young Smart Farmer ทั่วไทย 50,000 คน สู่การเป็นผู้ประกอบธุรกิจเกษตรชั้นนำภายในปี 2571 จัดหลักสูตรอบรม Online และ Onsite ครอบคลุมทุกมิติ ควบคู่การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการผลิต และการเชื่อมโยงเครือข่าย เกษตรกรในพื้นที่ พร้อมสนับสนุนเงินทุนเต็มพิกัตรองรับการเติบโตทางธุรกิจ หวังเพิ่มขีดความสามารถเกษตรกร ไปสู่ภาคการผลิตที่มีมูลค่าสูงและมีมาตรฐานในระดับสากล

วันที่ 26 มีนาคม 2567 นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 50,000 คน สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรชั้นนำ ภายในปี 2571 โดยนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ Added Value พร้อมผลักดันสู่การเป็นหัวขบวน ที่สามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาการ ดำเนินงาน และแบ่งปันให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ อันนำไปสู่การ ต่อยอดธุรกิจ ที่ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนอย่างยังยืน โดยมีคณะผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องโถง ชั้น 2 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

นายฉัตรชัย ศิริโล ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. วางเป้าหมายสู่การเป็น “แกนกลางการเกษตร (Essence of Agriculture) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อยกระดับรายใต้สู่ภาคการเกษตรใน 4 ด้าน คือ 1) เงินทุน 2) เทคโนโลยี 3) Added Value 4) Knowledge and Marketing ซึ่งความร่วมมือระหว่าง ธ.ก.ส. และกรมส่งเสริม การเกษตรครั้งนี้ เป็นหนึ่งในภารกิจดังกล่าว โดยจะสนับสนุนการพัฒนาและยกระดับเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี และมีความต้องการเข้ามาร่วมพัฒนาอาชีพทางการเกษตร มีทักษะการบริหารจัดการทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

โดยมีการเชื่อมโยงเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กร อิสระ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ในการเติมเต็มศักยภาพผ่านหลักสูตรการอบรม Online และ Onsite ที่ครอบคลุมทุกมิติ เช่น Financial Literacy Digital Literacy การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต การแปรรูป ดีไซน์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และการพัฒนามาตรฐานสินค้าไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยสร้างรูปแบบและ ช่องทางการตลาดแบบใหม่ ๆ และการเป็น influencer เป็นต้น

พร้อมผลักดันสู่การเป็นเกษตรกรหัวขบวน ที่สามารถ เชื่อมโยงเครือข่ายตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ และนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ดังกล่าว จะช่วยเสริมความ แข็งแกร่งให้กับภาคการเกษตรของไทย ในการเข้าสู่เวทีการแข่งขันในตลาดโลก โดยมีเป้าหมายการพัฒนาในช่วงปี 2567-2571 ปีละ 10,000 ราย รวม 50,000 ราย

ทั้งนี้ ในส่วนของ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนเงินทุน และเงื่อนไขพิเศษ ในการต่อยอดธุรกิจผ่านสินเชื่อ BCG Model วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) สินเชื่อเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ(Bio Economy Credit) 2) สินเชื่อเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Credit) 3) สินเชื่อสีเขียว (Green Credit) และสินเชื่อแทนคุณ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท

ด้านนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการสร้าง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Young Smart Farmer เข้ามาทดแทนเกษตรกรที่สูงอายุ เพื่อลดปัญหาด้าน Aging Society ของประเทศมาตั้งแต่ปี 2557 จนปัจจุบันมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนากับกรมส่งเสริมการเกษตร แล้วกว่า 27,000 ราย การร่วมมือครั้งนี้

นอกจากเป็นการเติมเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการ เพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจให้มากขึ้นแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรจะดำเนินการคัดเลือก Young Smart Farmer ที่เคยผ่านการอบรมกับกรมส่งเสริมฯ มีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถ สร้างโอกาสให้กับภาคการเกษตร และตอบโจทย์การเชื่อมโยงไปสู่ห่วงโซ่การผลิตอื่น ๆ ให้เข้มแข็งและเติบโตไป ด้วยกัน

เพื่อให้ ธ.ก.ส. พิจารณาสนับสนุนเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจ รวมถึงการแนะนำแนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การลงทุนแบบมืออาชีพ ซึ่งการร่วมมืออย่างเข้มข้นกับ ธ.ก.ส. ครั้งนี้ จะเป็นการ สร้างเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไป