ส่งออกสินค้าเกษตรไทย ยังขยายตัวไปได้สวย สศก.โชว์ตัวเลข ปี 66 เกินดุลกว่า 5 แสนล้าน ภายใต้ความตกลง FTA

  •  
  •  
  •  
  •  

สศก. เผยส่งออกสินค้าเกษตรไทย ยังขยายตัวไปได้สวย โชว์ตัวเลข ปี 66 เกินดุลการค้ากว่า 5 แสนล้าน ภายใต้ความตกลง FTA ทั้ง 9 ประเทศ มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.25 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.01 ล้านล้านบาท จากมูลค่าการค้ารวมทั้งหมด 2.372 ล้านล้านบาท ระบุสินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ทุเรียน มูลค่า 1.39 แสนล้านบาท ตามด้วยไก่ปรุงแต่ง  ยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง  ชิ้นเนื้อและเครื่องในที่บริโภคได้ของไก่แช่แข็ง

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาพรวมสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรของไทยกับโลกในปี 2566 ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 2.372 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.13 จากปี 2565 ที่มีมูลค่า 2.375 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม ไทยยังเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 9.51 แสนล้านบาท  ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะประเทศคู่เจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี อินเดีย ฮ่องกง (ไม่รวมประเทศสมาชิกอาเซียน) พบว่า ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

โดยในปี 2566 ภาพรวมการค้าสินเกษตรของไทยกับคู่เจรจาทั้ง 9 ประเทศ มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.25 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.01 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร 7.70 แสนล้านบาท และมูลค่านำเข้า 2.40 แสนล้านบาท ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรกับประเทศคู่เจรจาทั้ง 9 ประเทศดังกล่าวข้างต้น 5.29 แสนล้านบาท โดยตลาดส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และออสเตรเลีย สำหรับสินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน (1.39 แสนล้านบาท) ไก่ปรุงแต่ง (5.32 หมื่นล้านบาท) ยางธรรมชาติ (4.91 หมื่นล้านบาท) มันสำปะหลัง (3.99 หมื่นล้านบาท) ชิ้นเนื้อและเครื่องในที่บริโภคได้ของไก่แช่แข็ง (3.61 หมื่นล้านบาท)

เมื่อพิจารณารายประเทศคู่ค้า FTA ของไทย มูลค่าการค้าและอัตราการเจริญเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า จีน ยังคงเป็นตลาดที่ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุด โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 4.49 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.60 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ทุเรียน (1.37 แสนล้านบาท) มันสำปะหลังฝานหรือทำเป็นเพลเลต (3.94 หมื่นล้านบาท) ยางธรรมชาติ (3.50 หมื่นล้านบาท) ส่วนคู่ค้า FTA ประเทศอื่น ๆ ที่ไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ได้แก่

นิวซีแลนด์ มีมูลค่า 7.39 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.18 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารสุนัขหรือแมว (8.78 ร้อยล้านบาท) ปลาทูน่ากระป๋อง (8.60 ร้อยล้านบาท) น้ำตาลที่ได้จากอ้อย (8.01 ร้อยล้านบาท) ชิลี มีมูลค่า 2.42 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.75 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาทูนากระป๋อง (1.69 พันล้านบาท) อาหารสุนัขหรือแมว (2.94 ร้อยล้านบาท) สับปะรดปรุงแต่ง (95 ล้านบาท) และ เปรู มีมูลค่า 1.79 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.98 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาทูนากระป๋อง (1.30 พันล้านบาท) ข้าวโพดสำหรับการเพาะปลูก (1.87 ร้อยล้านบาท) และข้าว (1.79 ร้อยล้านบาท)

สำหรับประเทศคู่เจรจาที่ไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้ลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น ส่งออกลดลงร้อยละ 5.31 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ไก่ปรุงแต่ง (4.72 หมื่นล้านบาท) ชิ้นเนื้อและเครื่องในที่บริโภคได้ของไก่แช่แข็ง (1.50 หมื่นล้านบาท) อาหารสุนัขหรือแมว (1.13 หมื่นล้านบาท) เกาหลีใต้ ส่งออกลดลงร้อยละ 8.47 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำตาลที่ได้จากอ้อย (1.00 หมื่นล้านบาท) ยางธรรมชาติ (4.67 พันล้านบาท) ไก่ปรุงแต่ง (4.63 พันล้านบาท) อินเดีย ส่งออกลดลงร้อยละ 22.49 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ (2.44 หมื่นล้านบาท) ยางธรรมชาติ (3.48 พันล้านบาท)น้ำมันถั่วเหลือง  2.88 พันล้านบาท) ออสเตรเลีย ส่งออกลดลงร้อยละ 7.02 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาทูนากระป๋อง (5.96 พันล้านบาท) อาหารสุนัขหรือแมว (3.99 พันล้านบาท) ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส (2.43 พันล้านบาท) ฮ่องกง ส่งออกลดลงร้อยละ 8.54 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว (4.82 พันล้านบาท) ทุเรียน (1.76 พันล้านบาท)        เนื้อไก่ปรุงแต่ง (1.20 พันล้านบาท)

“แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนจากภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ยังคงไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในหลายพื้นที่ ทำให้การส่งออกสินค้าในภาพรวมมีอัตราการเติบโตที่ลดลง แต่สินค้าเกษตรของไทยก็ยังคงสามารถเติบโตและสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศอย่างได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรไทยยังคงต้องยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกที่ยังคงมีการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่หลายๆ ประเทศนำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าเกษตร ทั้งนี้หากผู้ผลิต/ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้ ก็อาจสูญเสียโอกาสทางการค้าในตลาดโลก นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปในโลกยุคปัจจุบัน” เลขาธิการ สศก. กล่าว

สถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรไทยกับโลก  (ปี 2565 เปรียบเทียบปี 2566)

หน่วย: ล้านบาท

มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรไทย ปี 2565 ปี 2566 อัตราเติบโต (%)
ภาพรวมการค้า 2,375,936 2,372,865 -0.13
     การส่งออก 1,681,250 1,661,959 -1.15
     การนำเข้า 694,686 710,906 2.33
     ดุลการค้า 986,565 951,053 -3.60

 

สถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรไทยกับประเทศ FTA 9 ประเทศ (ปี 2565 เปรียบเทียบปี 2566)

หน่วย: ล้านบาท

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ปี 2565 ปี 2566 อัตราเติบโต (%)
ภาพรวมการค้า 978,704 1,010,556 3.25
     การส่งออก 756,215 770,226 1.85
     การนำเข้า 222,489 240,330 8.02
     ดุลการค้า 533,726 529,896 -0.72
ตลาดส่งออก

– จีน    

– ญี่ปุ่น

– เกาหลีใต้

– อินเดีย

– ออสเตรเลีย

– ฮ่องกง

– นิวซีแลนด์

– ชิลี

– เปรู

 

406,771

170,234

51,954

53,950

35,790

27,141

6,653

2,171

1,546

 

449,946

161,194

47,551

41,814

33,277

24,824

7,397

2,426

1,793

 

10.61

-5.31

-8.47

-22.49

-7.02

-8.54

11.18

11.75

15.98

สินค้าเกษตรส่งออก

     – ทุเรียน

     – ไก่ปรุงแต่ง

– ยางธรรมชาติทีเอสเอ็นอาร์

     – มันสำปะหลัง

– ชิ้นเนื้อและเครื่องในที่บริโภคได้ของไก่แช่แข็ง

– สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง

– น้ำตาลอื่นๆ อาทิ มอลโทส น้ำผึ้งเทียม คาราเมล

– ผลไม้และลูกนัตอื่นๆ ที่ดิบหรือสุกโดยการนึ่งหรือต้ม แช่แข็ง หรือทำให้หวาน

– น้ำมันปาล์มดิบ

– อาหารสุนัขหรือแมว

 

109,187

57,014

54,974

51,924

30,995

40,891

13,448

16,692

 

38,003

23,832

 

139,539

53,270

49,182

39,908

36,190

36,039

28,862

25,430

 

24,430

21,955

 

27.80

-6.57

-10.54

-23.14

16.76

-11.87

114.62

52.35

 

-35.72

-7.88

ที่มา: กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ รวบรวมจากสถิติการค้าสินค้าของกรมศุลกากร ข้อมูล ณ วันที่ 12 มีนาคม 2567