มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับซีพีเอฟ หนุน “นวัตกรรมยกระดับการประมงและผลิ ตภัณฑ์ประมง” ชู “ปลาหยก วากิวแห่งสายน้ำ” โอเมก้า 3 สูง สัตว์น้ำเศรษฐกิจใหม่ของไทย พร้อม ชวน ชม ช้อป ชิม ยกระดับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ของไทยอย่างยั่งยืน ในงานเกษตรแฟร์ ปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิ จการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายบู รณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต มก. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดกิ จกรรม “นวัตกรรมยกระดับการประมงและผลิ ตภัณฑ์ประมง” พร้อมด้วยหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาทิ กรมประมง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และนวั ตกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้ องในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้ ประกอบการเกิดแนวคิดในการพั ฒนาการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสั ตว์น้ำ ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ ความสำเร็จของผู้ประกอบการด้ านการประมงสู่ผู้ที่เกี่ยวข้ อง ตลอดห่วงโซ่ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค นิสิต และผู้สนใจ ผ่านนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ การสาธิตเมนูอาหาร และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยมี นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุด ด้านงานวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ ยงสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ ร่วมด้วย ณ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก กล่าวว่า มก. มีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ตลอดชีวิต (KU-Lifelong Learning Model) เชื่อมโยงประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ กับบทบาทของมหาวิทยาลัย และบูรณาการความร่วมมือกับเครื อข่าย เพื่อยกระดับความรู้ นวัตกรรม ผ่านสินค้าและบริการคุณภาพ ควบคู่กับการพัฒนาทรัพยากรมนุ ษย์ ประกอบกับปีนี้เป็นปีของการเฉลิ มฉลองครบรอบ 80 ปีของมหาวิทยาลัยฯ จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิ จกรรม “นวัตกรรมยกระดับการประมงและผลิ ตภัณฑ์ประมง” ในช่วงงานเกษตรแฟร์ ระหว่างวันที่ 3 – 11 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมให้ผู้ เยี่ยมชมภายในงาน พร้อมทั้งถ่ายทอดสดผ่านระบบ Online อีกด้วย
การเสวนาทางวิชาการในครั้งนี้ หัวข้อที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ “ปลาหยก วากิวแห่งสายน้ำ” สัตว์น้ำเศรษฐกิจใหม่ของไทย จากซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์พรีเมียมที่อุดมไปด้ วยสารอาหารที่ดีและจำเป็นต่อร่ างกาย เช่น ไขมันดี มีโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาแซลมอนถึง 3 เท่า ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และความดันสูง รวมทั้ง DHA (Docosahexaenoic Acid) ที่มีส่วนช่วยบำรุงเซลล์ประสาท สมอง และดวงตา เสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก ลดอาการอ่อนล้าจากการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีคอลลาเจนที่จะช่วยทำให้ผิ วพรรณดี ลดการปวดข้อต่อ และชะลอการสลายของมวลกระดูก ที่เลี้ยงจากกระบวนการผลิตด้ วยเทคโนโลยีทันสมัยได้ มาตรฐานสากล ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้ นตอน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร กล่าวว่า ปลาหยก หรือ (Jade Perch) ชั้นเลิศจากซีพีเอฟ ได้รับความนิยมจากร้ านอาหารและภัตตาคารชั้นนำมากกว่ า 20 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล อาทิ ร้าน An Com An Ca (อันเกิม-อันก๋า) ร้านข้าวต้ม ฟ้า ปลา ทาน จาก iberry ร้าน WAH LOK โรงแรมคาร์ลตัน ภัตตาคาร HEI YIN เกษรพลาซ่า ภัตตาคารหนานหยวน ภัตตาคารฮองมิน ภัตตาคารเชียงการีล่า และร้านมาเรีย พิซซาเรีย สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนานวั ตกรรมและใช้เทคโนโลยีทันสมั ยในห่วงโซ่การผลิตปลาหยก ตลอดจนการใช้ทรัพยากรน้ำอย่ างเกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นมิ ตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการน้ำให้ สะอาดอยู่เสมอ ผ่านระบบ Ultrafiltration เทคโนโลยีการหมุนเวียนน้ำ RAS (Recirculation aquaculture system) กำจัดของเสียในน้ำและหมุนเวี ยนน้ำใสคุณภาพดีกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรค จึงส่งผลทำให้ปลาหยกแข็งแรง โตไว โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ มีคุณภาพ รสชาติอร่อย ไม่คาว และคุณค่าทางโภชนาการสูง เพื่อสุขภาพที่ดีสู่ผู้บริโภคทั่ วโลก
“ปลาหยก เป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่เสิร์ ฟขึ้นโต๊ะผู้นำ Apec 2022 โดยเชฟชุมพล ร่วมรังสรรค์เมนูชั้นเลิศ สร้างความประทับใจแก่ผู้นำระดั บโลกจากประเทศต่างๆ ที่ได้ลิ้มลองเป็นอย่างมาก สะท้อนศักยภาพของปลาหยก ทั้งด้านรสชาติที่ดี ความอร่อย และคุณค่าทางโภชนาการสูง สร้างความภาคภูมิใจให้กับบริษั ทฯ และประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสดีที่ จะขยายตลาดปลาหยกให้เป็นที่รู้ จักและผลักดันให้เป็นสัตว์น้ำ เศรษฐกิจใหม่ของไทย เพราะนอกจากส่งเสริมสุขภาพที่ดี สู่ผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยกันลดโลกร้ อนจากกระบวนผลิตที่เป็นมิตรกั บสิ่งแวดล้อมอีกได้ทางหนึ่งด้ วย” นายเปรมศักดิ์ กล่าว
สำหรับผู้ที่สนใจชมนวั