ซีพีเอฟ รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award 2022จากสถาบันไทยพัฒน์ จากการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยื นปี 2565 ตามมาตรฐานสากลด้วยความโปร่งใส ครบทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการดูแลชุมชน ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน (SDGs) สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่ วนได้เสีย สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและพั ฒนาองค์กรสู่ความยั่งยื นในระยะยาว
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวั ลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2565 โดยปีนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award 2022 มีนายสุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ เป็นตัวแทนรับมอบรางวัล จากนายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสั งคมและการพัฒนาความยั่งยืนองค์ กร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award 2022 สะท้อนความก้าวหน้าและความโปร่ งใสในการเปิดเผยข้อมูลความยั่ งยืนของซีพีเอฟ ที่ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข้ อมูลการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานการรายงานสากล GRI และด้าน ESG (Environmental Social and Governance) ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งแสดงถึงความยั่งยืนของธุรกิ จ และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่ วนได้เสียของกิจการ
ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจสู่การเป็นองค์กรที่ ยั่งยืน และมุ่งมั่นสร้างความมั่ นคงทางอาหาร ด้วยการขับเคลื่อนเป้าหมายกลยุ ทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ภายใต้ 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ ประกอบด้วย 9 ความมุ่งมั่น ได้แก่ ด้านอาหารที่ยั่งยืน การทำการตลาดอย่างรับผิดชอบ ด้านสวัสดิภาพสัตว์ สิทธิมนุษยชน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลลัพธ์เชิงบวกทางสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็ นเลิศ การจัดหาอย่างรับผิดชอบต่อโลก และการสร้างคุณค่าปราศจากขยะ ซึ่งสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ได้ครบทั้ง 17 ข้อ
นอกจากนี้ ภายใต้เป้าหมายความยั่งยืน ซีพีเอฟดำเนินการเชิงรุ กกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชั ดเจนในการก้าวสู่การเป็นองค์ กรที่ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็ นศูนย์ (Net-Zero Emissions) ภายในปีพ.ศ. 2593 โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ แนวทาง BCG Model คือ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มาใช้ เพื่อสนับสนุนเป้ าหมายของประเทศไทยและของโลกในกา รแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภู มิอากาศ (Climate Change)
พร้อมกันนี้ บริษัทฯมุ่งสร้างผลกระทบเชิ งบวกทางสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า อาทิ การเคารพสิทธิมนุษยชนและดู แลพนักงานที่สอดคล้องกับหลั กการด้านสิทธิมนุษยชน การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพพนั กงานทั่วโลก การส่งเสริมการพัฒนาศั กยภาพการแข่งขันทางการค้าที่ยั่ งยืนแก่ผู้ประกอบการรายย่ อยและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงการดูแลชุ มชนรอบสถานประกอบการให้มี ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น ผ่านการส่งเสริมให้พนักงานคิ ดสร้างสรรค์โครงการที่ดีและจั ดประกวดแข่งขันกันในองค์กร เป็นต้น
สำหรับรางวัลการเปิดเผยข้อมู ลความยั่งยืนในปีนี้ แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award มีองค์กรที่ได้รับรางวัล 56 แห่ง ประกาศเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Recognition มีองค์กรที่ได้รับประกาศเกี ยรติคุณ 43 แห่ง และกิตติกรรมประกาศ Sustainability Disclosure Acknowledgement มีองค์กรที่ได้รับกิตติ กรรมประกาศ 22 แห่ง รวมทั้งสิ้น 121 รางวัล