“มนัญญา” แจ้งข่าวดี ฤกษ์งาม ยามดี ทุเรียนไทยฉลุยส่งถึงเมมืองจีนได้สำเร็จ ผ่านการตรวจสอบจากจีนว่าปลอดเชื้อโควิด-19 เรียบร้อย เผยเป็นความในการให้ความร่วมมือของกระทรวงเกษตรฯสาธารณสุข และจังหวัดจันทบุรี ที่ร่วมกันทำ GAP+ ที่ปฏิบัติตามมาตรการการส่งออกผลไม้ไปจีน ประกาศพร้อมเดินหน้ายกระดับด่านตรวจพืชตามมาตรฐาน GAP กวดขันตรวจเข้มทั้งส่งออก-นำเข้า
วันที่ 30 มีนาคม 2565 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้ เวลา 10.00 น. ได้รับรายงานจากกรมวิชาการเกษตรว่า ทุเรียนของไทยส่งถึงประเทศจีนสำเร็จแล้ว และผ่านการตรวจสอบจากจีนว่าปลอดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงสาธารณสุข และจังหวัดจันทบุรี ร่วมกันทำ GAP+ ที่ปฏิบัติตามมาตรการการส่งออกผลไม้ไปจีน
จนทำให้วันนี้ล้งที่ผ่านการฝึกอบรมจากกรมวิชาการเกษตร ในด้านต่างๆ ทั้งการตรวจสอบจากจีนว่าปลอดเชื้อโควิด-19 การตรวจแมลงศัตรูพืช การพ่นยา การตรวจทุเรียนอ่อน จนสามารถส่งออกทุเรียนของไทย ไปถึงจีนได้สำเร็จ ที่เกิดจากความมือมือของทุกภาคส่วน
“ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทยและเกษตรกรชาวสวนทุกคน แม้ก่อนหน้านี้มีกระแสว่าทุเรียนของไทยไม่สามารถส่งออกไปจีนได้ ขอเกษตรกรอย่าเชื่อข่าวบิดเบือนดังกล่าว วันนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าทุเรียนประเทศไทยมีคุณภาพมาตรฐาน ปฏิบัติตามมาตรการ Zero Covid อย่างเข้มงวด จนเป็นที่ยอมรับของจีน” นางสาวมนัญญา กล่าว
โอกาสนี้ นางสาวมนัญญา ไปเป็นประธานพิธีมอบพันธุ์พืช ชีวภาพและชีวภัณฑ์ จากกรมวิชาการเกษตร เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 67 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2565 และพิธีเปิดอาคารสํานักงานด่านตรวจพืชจันทบุรี ณ ด่านตรวจพืชจันทบุรี ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสําคัญในการผลิตและการส่งออกผลไม้ของภาคตะวันออก จากสถานการณ์ความเข้มงวดของประเทศจีนในด้านสุขอนามัยพืชและการปนเปื้อนของเชื้อ Covid-19 จึงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรจัดทํามาตรฐาน GAP Plus และ GMP Plus เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดสินค้าผลไม้ไทย ซึ่งผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ ได้มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานด้านกระบวนการผลิตและให้ความสําคัญกับมาตรการ Zero Covid มากขึ้น
รมช.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า ในส่วนของด่านตรวจพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ได้ให้ความสําคัญ และต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานการทํางานให้มีความสามารถในการตรวจสอบศัตรูพืช และสารพิษตกค้าง รวมถึงการเชื่อมโยงการทํางานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมากขึ้น สําหรับด่านตรวจพืชจันทบุรีแห่งนี้ มีหน้าที่ตรวจสอบศัตรูพืช และตรวจปิดตู้ผลไม้เพื่อการส่งออกไปยังประเทศปลายทาง ให้ปลอดจากศัตรูพืชและเชื้อ Covid-19 เพื่อไม่ให้มีการแจ้งเตือนจากประเทศปลายทาง
ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงจัดให้มีพิธีเปิดอาคารสํานักงานของด่านตรวจพืชจันทบุรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาด่านตรวจพืชให้มีมาตรฐาน ทั้งด้านสถานที่ปฎิบัติงาน เครื่องมืออุปกรณ์และ ห้องปฏิบัติการ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานและ เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ด่านศุลกากร ด่านตรวจสัตว์ และประมง ในการรองรับโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)หรือ EEC
ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรมีภารกิจในการกํากับดูแล ควบคุมการนําเข้า-ส่งออกพืช โดยมีด่านตรวจพืช จํานวนทั้งสิ้น 48 แห่งทั่วประเทศ เพื่อทําหน้าที่การตรวจสอบพืช ผลิตผลพืช และวัสดุการเกษตรที่นําเข้า และส่งออกตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ร.บ.ยาง และ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจากการเคลื่อนย้ายพืช และเพื่อเป็น การสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าของไทยไม่ให้มีการระบาดของศัตรูพืชจากต่างประเทศ เข้ามาในประเทศ และเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอด 24 ชั่วโมงในอนาคต
ทําให้ต้องพัฒนาด่านตรวจพืชให้ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงข้อมูลการปฏิบัติงานกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง และกรมศุลกากร โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบ National Single Window (NSW) และการตรวจสอบสินค้า โดยเฉพาะทุเรียนสดส่งออกไปจีน ซึ่งมีข้อตกลงตามพิธีสาร ภายใต้มาตรการสุขอนามัยพืช กรมวิชาการเกษตรได้ปรับเปลี่ยนคําขอใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นแบบบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ e Phyto เพื่อรองรับการ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางการจีนในอนาคต.