แบน 3 สารเคมียังไม่จบ! สมาพันธ์เกษตรฯขอพบนายกฯยันเกตรกรเดือดร้อนหนัก ห้ามแบนพาราควอต

  •  
  •  
  •  
  •  

านเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่แบน 3 สารเคมีเกษตร ไม่มีวันเลิก กลุ่มแกนนำเกษตรกรในนามสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย สมาคมเกษตรปลอดภัย สมาคมตัวแทนเกษตรกร และเครือข่ายพันธมิตร กลุ่มพืชเศรษฐกิจ ยื่นหนังสือขอเข้าพบ นายกฯ ชี้แจงเกษตรกรเดือดร้อนหนัก ขอให้ห้ามแบนพาราควอต ยืนยันยังไร้สารทดแทนที่มีประสิทธิภาพ และต้นทุนเท่าเทียมกัน พร้อมขอเหตุผลการแบนของคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาจากอะไร  วอนรัฐให้ห่วงสุขภาพประชาชนจริง ด้วยการหยุดนำเข้าผักผลไม้พิษจากประเทศ ที่ยังใช้สารเคมีเกษตรทั้ง 3 ชนิดนี้อยู่

      นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ผล ได้สนับสนุนมาตรการจำกัดการใช้สาร พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีมติการแบนสารดังกล่าวขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 เกิดความสับสน เนื่องจากการตัดสินขัดแย้งกับมติเดิมของคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2562 ที่อนุญาตให้ใช้ 3 สารดังกล่าวได้ภายใต้มาตรการจำกัดการใช้ จึงยื่นหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อพิจารณาอย่างรอบคอบและเป็นธรรม

       รวมทั้ง สมาพันธ์เกษตรฯ ได้ยื่นหนังสือไปยังคณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอรายงานเปิดเผยการตัดสินของมติคณะกรรมการฯ วันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อรับทราบเหตุผลที่ชัดเจนของการตัดสินใจดังกล่าว เนื่องจากมติครั้งนี้ ขัดแย้งกับการตัดสินจากเดิม และใช้เวลาการตัดสินด้วยการประชุมเพียงครั้งเดียว ต่างจากการตัดสินใจในอดีตที่มีการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯอย่างรอบด้าน ประชุมมากถึง 13 ครั้ง

        ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินการสอบถามไปยังกรมวิชาการเกษตร ถึงแนวทางการดำเนินงานและมาตรการเยียวยาให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากมติการแบน 3 สารฯ พบว่า ยังไม่มีสิ่งใดสามารถทดแทนการใช้ พาราควอต ได้แม้แต่อย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น สารชีวภัณฑ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืช และ สารเคมีเกษตร 16 ชนิดตามข้อเสนอของกรมฯ สมาพันธ์ฯ จึงขอความชัดเจนและการช่วยเหลือเกษตรกรแบบเป็นรูปธรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริง หากยังไม่มีแนวทางและมาตรการเยียวยา รัฐต้องทบทวนการยกเลิก 3 สาร โดยเฉพาะพาราควอตเป็นอันดับแรก

       “พาราควอต เป็นสารกำจัดวัชพืชที่กลุ่มเกษตรกรขอไม่ให้แบนเพียงสารเดียว เนื่องจากไม่มีสารใดทดแทนได้ทั้งในแง่ประสิทธิภาพและต้นทุน รวมทั้ง การที่รัฐยกเลิกใช้สารพาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพรีฟอส โดยอ้างว่าห่วงสุขภาพเกษตรกร และประชาชน แต่ยังแนะนำให้ใช้สารเคมีมาแทนสารเคมี ยังให้นำเข้าพืช ผักและผลไม้จากต่างประเทศ ที่ยังใช้สารเคมีทั้งสามชนิด หากสารเคมีเหล่านี้เป็นพิษ ทำไมประชาชนคนไทยยังต้องบริโภคพืช ผัก ผลไม้ จากประเทศอื่นที่ใช้ หากรักสุขภาพประชาชนจริงต้องแบนพืช ผัก ผลไม้ ทุกประเทศที่ใช้สารเคมีทั้งสามชนิด ตั้งแต่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อเมริกา รวมอีก 83 ประเทศทั่วโลก” นายสุกรรณ์ กล่าวเสริม

        นอกจากนี้ ศาสตราจารย์รังสิต สุวรรณมรรคา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช และวิทยาศาสตร์เกษตร ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ประเมินคุณลักษณะ 16 สารเคมีเกษตรที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอเป็นทางเลือกให้เกษตรกรว่า ทั้งหมดไม่สามารถนำมาเป็นทางเลือกหรือทดแทน พาราควอต ได้  เพราะคุณลักษณะของสารและข้อเสียของสารแต่ละชนิดมีผลต่อพืชเศรษฐกิจแตกต่างกัน เช่น สารกลูโฟซิเนต เป็นสารกึ่งดูดซึม คล้ายไกลโฟเซต จึงทดแทนพาราควอตไม่ได้ และกลูโฟซิเนต ไม่สามารถฆ่าวัชพืชบางชนิดได้ อัตราที่ใช้ต่อไร่สูง มีราคาแพง สารเมทริบิวซิน + 2,4-D ไม่สามารถใช้กำจัดวัชพืชที่มีต้นโตได้ สารนิโคซัลฟูรอน ไม่สามารถฆ่าวัชพืชที่มีต้นโตได้ และหากใช้ในอ้อยจะเป็นพิษกับอ้อย สารอะทราซีน และสารอะทราซีน + อะลาคลอร์ ไม่สามารถฆ่าวัชพืชที่มีต้นโตได้

        ขณะที่สหรัฐอเมริกาให้จำกัดการใช้ เพราะปนเปื้อนกับน้ำบาดาล สารกลุ่ม Fenoxapro-P-ethyl, Fluazifop-P-butyl, Haloxifob-P-methyl และ Quizalofop-P-tefuryl ไม่สามารถคุมวัชพืชใบเลี้ยงคู่หรือกลุ่มใบกว้างได้ เป็นพิษต่ออ้อยและข้าวโพดรุนแรง สารอะมีทรีน และสารอะทราซีน ไม่สามารถฆ่าวัชพืชที่มีต้นโตได้ สารกลุ่ม 2,4-D 2,4-D + พิคลอแรม, ไตรโคไพร์ และฟลูรอกซิเพอร์ เป็นสารกลุ่ม plant hormone เป็นพิษต่อพืชปลูกเมื่อมีการปลิวของละออง ออกฤทธิ์เฉพาะวัชพืชในกลุ่มใบเลี้ยงคู่ สารเฮกซาซิโนน ใช้คุมวัชพืชได้ 2-3 เดือน เมื่อเข้าเดือนที่ 4 หากมีวัชพืชงอกจะไม่สามารถใช้ได้ อาจมีพิษต่ออ้อยในสภาพดินทรายและฝนตกชุก ทนทานต่อการย่อยสลายโดยแสงแดด

        “ปัจจุบัน เกษตรกรในหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากมติการแบนที่ปราศจากสิ่งทดแทน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่หายากขึ้น ปัญหาแรงงานต่างชาติในภาคเกษตรกรรม ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มสูงขึ้นจากนโยบายรัฐ หรือ การแนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเกษตรมาแทนสารเคมีเกษตร เป็นสิ่งที่เกษตรกรยอมรับไม่ได้ เพราะสารเคมีเกษตรทุกชนิดล้วนมีความเป็นพิษ เพื่อทำลายวัชพืช ส่วนข้ออ้างเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้น มติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเคยให้เหตุผลแล้วว่าไม่มีความเชื่อมโยงว่าพาราควอตนั้นก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เนื้อเน่า พาร์กินสัน งานวิจัยจากแม่สู่ลูกก็มีหลักฐานไม่เพียงพอ และไม่มีผลตกค้างเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งการตัดสินครั้งล่าสุดนี้ขัดแย้งกับการตัดสินครั้งเก่าอย่างรุนแรง หากมีการเปิดเผยข้อมูลจะทำให้สังคมเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนสารชีวภัณฑ์ที่ขายอยู่ในท้องตลาด กรมวิชาการเกษตรเองก็เคยนำไปตรวจสอบกลับพบว่า มีสารเคมีเกษ” นายสุกรรณ์ กล่าว