กรมการข้าวจับมือ 10 ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตร วางกรอบผลิตสินค้าตามมาตรฐานสากล

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมการข้าวจับมือ 10 ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตร วางแนวทางผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานสากล เน้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมการเติบโตทางการเกษตรที่ยั่งยืนในการพัฒนาชนบท ให้สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี 2030 พร้อมขจัดอุปสรรคการส่งออก และระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก

    วันที่ 26 ตุลาคม 2562 นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว ได้รับเชิญจากสมาคมพัฒนาคุณภาพและบริการสินค้าเกษตร (China Good Agri-products Development and Service Association) เข้าร่วมพิธีเปิดงาน 2019 Brand Agriculture Development International Symposium ณ เมืองผู่เจียง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน  ซึ่งผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้แทนระดับผู้บริหารหรือระดับอธิบดีจากประเทศต่างๆ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ ทางด้านการค้า การพัฒนาทางการเกษตร งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึงแนวทางนโยบายและมาตรฐานการรับรอง การพัฒนาการเกษตรนวัตกรรมสมัยใหม่ในอนาคต การส่งเสริมสินค้าเกษตรไปสู่มาตรฐานสากลร่วมกัน แนวทางการเพิ่มความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันในสาขาเกษตร โดยในงานประกอบด้วยผู้บริหารจากประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น โปรแลนด์ รัสเซีย สเปน ยูเครน และโคลัมเบีย

       ต่อมานายสุดสาคร ได้ร่วมเวทีเสวนาแนวทางความร่วมมือสนับสนุนในการยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก โดยมีผู้แทนเข้าร่วมเวทีเสวนาประกอบด้วย 1.Mr. Marcela UrueriaGmez รมช.กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทโคลัมเบีย, 2. Mr. Monika Rzepecka อธิบดี กระทรวงเกษตรโปรแลนด์ ,3. Mr. Tang Keผอ.กรมสารสนเทศและการตลาด กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน,4.นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว ,5. Mr. Daniel Owassa เอกอัครราชทูตคองโก,6.Mr. Yvonne McDowell กงสุลเกษตรของสหรัฐอเมริกา ประจำเมืองเฉิงตู,และ7. Mr. Mohammed Alotaish กงสุลพาณิชย์ของซาอุดิอาระเบีย ประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน

          นายสุดสาคร เปิดเผยภายหลังการเสวนาว่า ผลการเสวนานั้น ผู้แทนแต่ละประเทศส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญและตระหนักร่วมกัน ถึงแนวทางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการเกษตร การส่งเสริมการเติบโตทางการเกษตรที่ยั่งยืนในการพัฒนาชนบท เพื่อให้สอดคล้องและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี 2030 นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญถึงการปรับปรุงระบบมาตรฐานการผลิตและอุตสาหกรรมทางการเกษตรในประเทศต่างๆ ส่งเสริมการยอมรับร่วมกันของมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและขจัดอุปสรรคการส่งออกสินค้า ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก

         การส่งเสริมผลักดันร่วมกันในผลิตภัณฑ์สินค้า GI เพิ่มความร่วมมือ การแก้ไขของระบบกฎระเบียบและมาตรฐานการตรวจสอบและกักกันสินค้าเกษตร รวมทั้งหาแนวทางการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการค้าร่วมกัน ทั้งนี้ในเวทีเสวนาได้ทราบถึงนโยบายที่ประเทศไทยมีโครงการให้ความสำคัญกับนโยบายการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยซึ่งมีแผนและส่งเสริมการผลิตมาตั้งปี 2560 รวมทั้งเห็นควรที่จะมีความร่วมมือทางวิชาการเพื่อผลักดันมาตรการรองรับข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้าต่างๆ

         ในส่วนของกรมการข้าวได้มีแผนงานการพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืนการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 90,550 ราย มีเป้าหมายที่ผลิตสินค้าข้าวตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 3 ปี จึงจะสามารถผลิตข้าวอินทรีย์ได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งกรมการข้าวได้เริ่มแผนงานระยะเวลา 5 ปี 2560-2564 ตั้งเป้าที่ 1 ล้านไร่