องค์การโรคระบาดสัตว์ฯ ชม “คอมพาร์ทเม้นต์โมเดล” ของซีพีเอฟ ทำให้ไทยปลอด“ไข้หวัดนก”

  •  
  •  
  •  
  •  


องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ยกประเทศไทยและซีพีเอฟ เป็นตัวอย่างสำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค ด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นต์เป็นรายแรกของไทย พร้อมจะยกให้ ซีพีเอฟ เป็นกรณีตัวอย่างในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ OIE ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

      น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้แทนจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization of Animal Health หรือ OIE)  ได้เข้าเยี่ยมชมความสำเร็จในการจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ และจะยก ซีพีเอฟ เป็นกรณีตัวอย่างในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ OIE ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องการป้องกันโรคสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นต์ เพื่อสร้างให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากโรคไข้หวัดนก

      น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวอีกว่า บริษัท จัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ปลอดโรคไข้หวัดนก สำหรับธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อร่วมกับกรมปศุสัตว์ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้บริษัทพัฒนามาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) ตามแนวทาง HACCP สำหรับโรคไข้หวัดนก ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ เพื่อการป้องกันโรคอย่างเข้มแข็ง

       “แม้ว่าจะไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ แต่ที่ผ่านมาคณะกรรมมาธิการสหภาพยุโรป ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลก และ OIE ตลอดจนผู้แทนองค์กรเพื่อสุขภาพระหว่างประเทศต่างๆ ได้มาศึกษาดูงานและชื่นชมในความสำเร็จระบบคอมพาร์ทเม้นต์ ของ ซีพีเอฟ ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยปลอดโรคไข้หวัดนก และสร้างความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ปลอดภัย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศนำร่องในการจัดทำระบบนี้ได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าว

       สำหรับ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ของ ซีพีเอฟ ยังส่งเสริมให้บริษัทฯ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งช่วยป้องกันโรคสัตว์ปีกที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต (emerging disease) ตลอดจนช่วยสนับสนุนการค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระหว่างประเทศ   เพื่อการป้องกันโรคอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ยังได้อบรมเกษตรกรในคอนแทร็คฟาร์มจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ สำหรับป้องกันโรคไข้หวัดนก โดยมีสัตวแพทย์ของบริษัทและผู้เชี่ยวชาญจากกรมปศุสัตว์ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

     ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ยังได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยผลิตภัณฑ์ “ไก่เบญจา” ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นต์แล้วยังไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ

ทั้งนี้   ซีพีเอฟ เป็นบริษัทไทยรายแรกที่นำหลักการจัดทำคอมพาร์ทเม้นต์ของ OIE มาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุก โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ประกอบด้วย 1.หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Common Biosecurity) ที่มีมาตรการป้องกันโรคที่สอดคล้องกันตลอดห่วงโซ่การผลิต 2. การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก (Surveillance) ทั้งภายใไนพกนคอมพาร์ทเม้นต์และพื้นที่กันชน รัศมี 1 กิโลเมตร รอบฟาร์ม 3. การควบคุมโรค (Control Measure) และ 4.การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System) ซึ่งหลักการทั้ง 4 ประการ เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยการผลิตสัตว์ปีกปลอดไข้หวัดนก