ข้าวโพดหลังนาราคาพุ่ง กก.10 บาท“เบทาโกร”สบช่องรับซื้อไม่อั้น

  •  
  •  
  •  
  •  

 

เกษตรกรยิ้มร่า ข้าวโพดหลังนาไปได้สวย ล่าสุดราคาพุ่ง 10บาท/กก. สูงกว่าราคาประกัน      ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อฯ บ.เบทาโกร การันตีเป็นพืชเศรษฐกิจเงินสดที่มีอนาคตไกล  สบช่องช่วงวิกฤติวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศขาดแคลนหนักปี  ประกาศพร้อมสนับสนุนนโยบายกระทรวงเกษตรฯเต็มร้อย พร้อมรับซื้อไม่อั้นในพื้นที่ 4 จังหวัดเป้าหมายทดแทนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

             ข้าวโพดหลังนาภายใต้ความมือโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ซึ่งเป็นนโยบายการตลาดนำการผลิต ของนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ในขณะนี้เนื้อหอม ก่อนหน้าที่ทางสมาคมผู้ประกอบการอาหารสัตว์ประกาศสนับสนุนเต้มที่ ร่วมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ประกาซพร้อมรับชื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร

            ล่าสุดนายณรงค์   วงศ์ธรรมสรณ์        ผู้อำนวยการจัดซื้อและสำรวจวัตถุดิบ   บริษัท  เบทาโก  จำกัด(มหาชน)  ยืนยันว่าทางบริษัท เบทาโกร มีความพร้อม 100% ในการสนับสนุนโครงการดังนี้ของรัฐบาล และเตรียมพร้อมที่จะเข้าไปรับซื้อผลผลิตข้าวโพดหลังนาของเกษตร/สหกรณ์ในพื้นที่ 4จังหวัดที่ได้รับการจัดสรรจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ คือ จังหวัดเพชรบูรณ์  นครสวรรค์  สระบุรีและลพบุรีในปริมารณที่ไม่อั้น เพื่อป้อนโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมดที่บริษัทมีจำนวน  10 โรง ซึ่งแต่ละปีมีความขาดแคลนวัตถุดิบเป็นจำนวนมากคือปีละ 8 แสน-1 ล้านตัน/ปีจนต้องนำเข้าวัตถุดิบจากในประเทศและต่างประเทศประเภทอื่น   อาทิ  ข้าวสาลี  ปลายข้าวมาทดแทน เป็นต้น 

            “ ที่ผ่านมาบริษัทฯได้เข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐในการรับซื้อข้าวโพดหลังนามาแล้ว 2ปีคือในปี  2559  รับซื้อผลิตจำนวน 60,000 ตัน  ปี 2560 รับซื้อจำนวน 25,000 ตัน ที่ลดลงจากปี 2559 เพราะราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้เกษตรกรมีตัวเลือกในการจำหน่ายมากในตลาดที่หลากหลายขึ้น” นายณรงค์ กล่าว 

              ส่วนปี 2561รับซื้อไม่จำกัดจนกว่าจะเพียงพอและยังมีความต้องการข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์อีกจำนวนมหาศาล  ฉะนั้นขอให้ความมั่นใจแก่ชาวนาและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหลังนาว่าไม่ต้องวิตกปัญหาด้านการตลาดและราคาแต่อย่างใด   ขอให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมั่นใจได้ว่า มีผู้รับซื้อผลผลิตแน่นอน อีกทั้งราคาจะเป็นตามกลไกตลาด รับประกันไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาทที่หน้าโรงงาน ขณะนี้ราคาข้าวโพดอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท คาดว่าในช่วงเก็บผลผลิตเดือนมีนาคมถึงเมษายน ราคาจะไม่ลดลงไปกว่านี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์ที่จำเป็น อีกทั้งผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ

              ทั้งนี้เนื่องจากว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศมีความขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์อีกจำนวนมากแต่ละปีมีความต้องการ  โดยที่ผ่านมาไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประมาณ 5 ล้านตัน มีความต้องการถึงประมาณ 8 ล้านตัน จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ แม้จะมีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศบางส่วนแล้วก็ยังมีความขาดแคลนอยู่อีก1.4 ล้านตัน/ปี    แม้ผู้ผลิตอาหารสัตว์จะนำเข้าข้าวสาลีมาทดแทนข้าวโพด แต่ไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมดในสูตรที่เลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด โดยอาหารไก่ต้องมีข้าวโพดอย่างน้อยร้อยละ 40 – 50 อาหารสุกรประมาณร้อยละ 20 -25 และอาหารโคประมาณร้อยละ 20

   จากตัวเลขที่ยังขาดแคลนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโครงการข้าวโพดหลังนาของรัฐบาลตลาดยังมีอนาคตอีกยาวไกล    เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องผลผลิตไม่ได้ราคาหรือล้นตลาด  เป็นโครงการที่จะทำให้เกษตรกรยิ้มออกมีเงินสดหมุนเวียนในมือ   เพราะข้าวโพดถือพืชเงินสดขายให้ใครก็ได้เงินสดทันทีทำให้เกษตรกรและชาวนามีสภาพคล่องมากขึ้น  

               “บริษัท เบทาโกร พร้อมให้ความร่วมมือโครงการปลูกข้าวโพดหลังนาอย่างเต็มที่  เพราะถือเป็นโครงการที่เข้ามาช่วยกอบกู้วิกฤติภาวะขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศได้อย่างถูกจังหวะและสถานการณ์  ในขณะเดียวกันอีกทางหนึ่งก็ได้ช่วยเกษตรกรและชาวนาไทยเพิ่มทางเลือกในอาชีพช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายลดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง ทั้งยังช่วยโรงงานอาหารสัตว์ได้มีวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ได้เพียงพออีกทางหนึ่งด้วย”   เขา กล่าว

         ผู้อำนวยการจัดซื้อและสำรวจวัตถุดิบ   บริษัท  เบทาโก   กล่าวถึงราคาในการรับซื้อข้าวโพดหลังนาด้วยว่า     กำหนดราคารับซื้อตามคุณภาพคือ ราคาประกันไม่ต่ำกว่า 8 บาทนั้น เป็นราคาหน้าโรงงานที่ความชื้นร้อยละ 14.5 ซึ่งปกติแล้วข้าวโพดสดมีความชื้นร้อยละ 30 ราคาที่โรงงานต่างๆ รับซื้อขณะนี้อยู่ที่ 7.50 – 7.80 บาท เมล็ดเสียไม่เกินร้อยละ 6 เมล็ดแตกไม่เกินร้อยละ 5 และราคาจะปรับลดลงบ้างเล็กน้อยตามระยะทางขนส่งจากจุดรับซื้อมายังโรงงาน โดยหากระยะทางไม่เกิน 150 กิโลเมตร ค่าขนส่ง 250 บาทต่อตัน หากระยะทางไม่เกิน 350 กิโลเมตร ค่าขนส่งตันละ 350 บาท แต่เกษตรกรมีทางเลือกที่จะขายให้แก่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ หากพึงพอใจในราคารับซื้อ ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยไม่ได้ผูกขาดให้ขายเฉพาะบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น

              อย่างไรก็ตาม     ในขณะที่รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง   ได้ออกมาสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรด้วยการออกมาตรการจูงใจเกษตรกรจำนวน  4 มาตรการด้วยกัน     เพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรและชาวนา   อาทิ   1.สนับสนุนสินเชื่อเป็นค่าปัจจัยการผลิตและการเตรียมดินผ่านธ.ก.ส.ในอัตราร้อยละ0.01ต่อปีโดยสามารถขอกู้ได้ไร่ละ 2,000 บาทแต่ต้องไม่เกิน 15ไร่ต่อราย 2.ประสานภาคเอกชนให้มารับซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ตามคุณภาพในราคาไม่น้อยกว่าราคาชั้นต่ำที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด  3.รัฐบาลสนับสนุนเบี้ยประกันภัย 65 บาท/ไร่เมื่อได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติจะได้รับชดเชยไร่ละ 1,500บาทและ 4 ให้สินเชื่อสถาบันเกษตรกร เพื่อเสริมสภาพคล่องในการรวบรวมและรับซื้อผลผลิตข้าวโพดผ่านธ.ก.ส.ในอัตราร้อยละ 1ต่อปี

            ล่าสุดมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว 110,346  รายพื้นที่ 962,222.50 ไร่ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานในจังหวัดเป้าหมาย 33 จังหวัด โดยคาดว่าเกษตรกรจะเริ่มปลูกได้ในช่วงฤดูเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป-15มกราคม 2562 โดยการกำหนดราคารับซื้อข้าวโพดแห้งความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาไม่ต่ำกว่า8 บาท/กกซึ่งเป็นราคาจำหน่ายที่หน้าโรงงานในกทม.และปริมณฑลในขณะที่ขณะนี้ราคาในท้องตลาดที่รับซื้อในพื้นที่จังหวัดต่างๆพุงสูงกิโลกกรมละ 9-10 บาท/ สูงกว่าราคาที่ได้กำหนดประกันที่กำหนด