จับตา“มันญี่ปุ่น” ระวัง!! แชร์ลูกโซ่คืนชีพ

  •  
  •  
  •  
  •  

         จับตา“มันญี่ปุ่น” ระวัง!! แชร์ลูกโซ่คืนชีพ

โดย …ดลมนัส  กาเจ

         เมื่อปลายปี 2560 พรรคมาเล่าให้ฟังว่า มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ตั้งบริษัท เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก “มันญี่ปุ่น” ดูแล้วแปลกๆ ทั้งที่จะให้เกษตรกรปลูกเพื่อเอาหัวมันขายให้กับบริษัท แต่กลับรับซื้อ”ยอด” ส่งสัยเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ อย่างไร

          ที่สำคัญเป็นกลุ่มเดียวกับกับที่เคยไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยหอมคาเวนดิช สุดท้ายกลับไม่ผลผลิตปล่อยให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน  โดยเฉพาะใน จ.นครราชสีมา หรือโคราช คราวนี้เปลี่ยนชื่อบริษัทส่งเสริมให้ปลูกมันญี่ปุ่นที่กระแสกำลังมาแรง

           รูปแบบคือส่งเจ้าหน้าที่ไปแกนนำชาวบ้าน เน้นนักการเมืองท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันญี่ปุ่น โดยขายยอดให้เกษตรกรในราคากิ่งละ 10 บาท พร้อมบอกว่า มันญี่ปุ่นแตกกิ่งก้านเยอะต้นละ 10 -20 กิ่งและจะรับซื้อยอดคืนยอดละ 4.50 บาท เกษตรกคำนวนแล้ว หากเฉลี่ยต้นหนึ่งแตกยอดได้ 15 กิ่ง จะได้เงินต้นละ 60-70 บาท หักค่าโน่น นี่ นั่น ก็จะมีกำไรต้นละ 30 บาท

           วิธีการส่งเสริมของบริษัทเหล่านี้คือมีพนักงานของบริษัท ไปเชิญชวนให้ปลูกมันญี่ปุ่น พร้อมกับอบรมวิธรฃีการเพาะ  เพื่อขายยอดพันธุ์คืน มีข้อแม้ว่า เฉพาะยอดที่สมบูรณ์มีความยาว 30 เซนติเมตร

          เพื่อนคนนี้บอกว่า ทำในลักษณะคล้ายกับเกษตรพันธสัญญา หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือคล้ายๆเป็นแชร์ลูกโซ่ คือนำยอดจากตรงนี้ไปส่งเสริมที่อื่นไปเรื่อยๆ  หรือไม่ก็เข้าข่ายหลอกประชาชนให้ซื้อกิ่งพันธุ์มากกว่า

          บริษัทที่ว่านี้ มีเครือข่ายใหญ่ใน จ.สุพรรณบุรี และมีสาขาอีกหลายจังหวัด ส่งเจ้าหน้าที่ไปส่งเสริมเกษตรกรกว่า 10 จังหวัดทั้งภาคกลาง อีสาน และภาคเหนือตอนล่างครับ

           มันญี่ปุ่น หรืออันโนะอิโอะ (ANNO IMO) เรามักจะเรีกว่า มันหวานญี่ปุ่ ลักษณะคล้ายมันเทศ มีหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าเป็นมันสีส้ม ได้ว่านิยมที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เมื่อนำไปเผาแล้วจะได้เนื้อที่นุ่มเนียน

            แล้วจู่ๆเมื่อไม่นานมานี่เองครับ มีเกษตรกรผู้ปลูกมันเทศญี่ปุ่นกว่า 50 รายในจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง ไปร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมโคราช ให้บริษัทผู้ประกอบธุรกิจเคมีภัณฑ์รายหนึ่ง เพื่อให้จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรหลังทำสัญญาเพาะปลูกและซื้อขายยอดพันธุ์ เพื่อส่งให้กับทางบริษัทฯ แต่เกษตรกรไม่ได้รับเงินตามสัญญา

            ตอนนี้ทราบว่า เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายกว่า 200 ราย ในพื้นที่ 12 จังหวัด ประกอบด้วยนครราชสีมา พิษณุโลก ชัยภูมิ ลพบุรี ขอนแก่น สระแก้ว นครสวรรค์ สุพรรณบุรี เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี พิจิตร และร้อยเอ็ด รวมยอดเงินที่เกษตรกรควรได้เป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท 

            มีเกษตรกรรายหนึ่ง บอกว่า ได้ปลูกมันญีปุ่น ตามที่แนะและที่ตกลงกับบริษัทที่เข้าไปส่งเสริม จนได้ยอดได้ขนาดที่ตกลงไว้ แล้งส่งไปให้บริษัท 2 ครั้ง เป็นเงินกว่า 350,000 บาท ปรากฏว่า บริษัทไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ อ้างว่า ยอดเน่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่คัดเลือกมาอย่างดี  และได้จรจากับทางบริษัทหลายครั้ง

           บริษัทที่กำลังเป็นปัญหานี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นักข่าว พยายามสอบถามข้อเท็จ ได้รับการชี้แจงว่า ได้เตรียมเงินแล้ว แต่ไม่ขอชี้แจงข้อมูล เพราะยังไม่พร้อม ฟังแล้วก็กระไรอยู่

[adrotate banner=”3″]

            ที่จริง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 หรือที่เรียกว่ากันว่า พ.ร.บ.คอนแทรคฟาร์มมิ่ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2560 แล้ว น่าจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.นี้ได้ครับ

           แต่…อย่างที่เพื่อนว่านะครับ ดูไปดูมา จะเป็นแชร์ลูกโซ่ อีรอบเดียวกับการส่งเสริมให้เลี้ยง “นากหญ้า”หรือไม่ เพราะแชร์ลูกโซ่ที่ว่านี้พอกระแสเงียบมันจะโผล่ อย่างตอนนี้ที่เห็นชัดเจน คือ การขายตั๋วเครื่องบินที่ระบาดในพื้นที่ จ.สงขลา หลอกหลวงชาวบ้านเสียหาอย่างยับเยิน

          ย้อนประเทศไทย แชร์ลูกโซ่เกิดครั้งแรก คือ “แชร์แม่ชม้อย” (พ.ศ.2526-2528) ถือเป็นต้นกำเหนิดแชร์ลูกโซ่ในปัจจุบัน  ตอนนั้นเป็น ซื้อขายน้ำมัน หน่วยลงทุนเป็นคัน (คันรถน้ำมัน) ราคาอยู่ที่คันละ 160,000 บาท จะได้เงินคืนเดือนละ 10,400 บาท

          ถ้าใครไม่มีทุนก็เลือกลงทุนในขนาดย่อยลงมาคือ เป็น ล้อ ล้อละ 40,000  จะได้เงินคืนเดือนละ 2,600 บาท ถือว่าดอกเบี้ยที่แพง คนหลงกลไปทุนในห้วงเวลา 3 ปี มีเงินหมุนเวียน 8,000ล้านบาท ในยุคนั้นถือเยอะมากครับต่อมา มีแชร์ชาเตอร  นากหญ้า เป็นต้น

           ต้องระวังครับ หากพบเห็นแชร์ลูกโซ่ หรือตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่แจ้ง ตู้ปณ 231 ปณจ บางรัก กทม 10500 หรืออีกหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ โทร.แจ้งไปที่สายด่วน 159 กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ เพื่อจะได้เฝ้าดูพฤติการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลต่อไปครับ!

หมายเหตุ-ขอบคุณรูปจาก : taibann.com