5 ประเทศลุ่มน้ำโขงจะแปรรูปยางพาราเองเพื่อส่งออก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…อุทัย  สอนหลักทรัพย์

        เมื่อวันที่12 มีนาคม 2562 ผมได้ร่วมประชุมวางแผนกับผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยางประเทศเพื่อนบ้านคือเมียนมา นำโดยนายอูอองทวย ที่จะร่วมมือในภาคเกษตรกรชาวสวนยางลุ่มน้ำโขง 5ประเทศ ซึ่งใด้พูดคุยไปแล้วคือ สปป. ลาว เวียตินาม และเมียนมา โดยยังขาดประเทศกัมภูชาอีกประเทศเดียวที่ยังไม่ได้คุยกัน

      เนื้อหาหลักๆคือจะร่วมมือกันด้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ และให้มีมาตราฐานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในประเทศให้มากที่สุดและลดส่งออกยางดิบออกไป เพื่อมุ่งให้ยางขาดตลาดล่วงหน้า ถ้าทำได้จะได้ใม่ต้อมมากดราคากับเกษตรกร

       งานนี้เราจะจับมือกัน 5 ประเทศลุ่มน้ำโขง จะจับมือเฉพาะภาคเกษตรกรโดยใม่พึ่งพารัฐบาล เพราะว่าเราหมดหวังไปแล้วที่ปล่อยให้ราคายางขายต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ทั้งๆที่ตลาดร่วมทุนลงเงินกันตั้งร่วมมา15 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่ายังพายเรือในอ่าง เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์เลย แต่กลับต้องเสีย cess 2บาท/กก

       ตอนที่หาเสียงก็จะช่วยให้ราคายางพารา กก.ละ 60บาท และ กก.ละ 80 บาทบ้าง โปรยยาหอมไปวันๆ ที่มันเลวร้ายนักการเมืองบางคนโม้ว่า บริหารทำให้ยางขึ้น แต่ใม่พูดว่าตอนบริหารอยู่เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)ขึ้นเงิน cess กก.ละ 5บาท ผมเป็นคนค้านเอง เลยเก็บเป็นขั้นบรรได จนมาเปลี่ยนเก็บเป็น 2บาท/กก. แล้วเอาเงินไปเก็บบไว้ที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

      เงินที่เก็บไป เกษตรกรขอใช้ก็ยากมากถ้าใม่ใช่พวก ทางสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) จึงใม่ขอพึ่ง เดินด้วยตัวเอง พึ่งตนเอง จึงมาร่วมมือกันทำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง 5ประเทศโดยใม่ขอเงินจากตลาดร่วมทุนเลย

       นี่คือเกษตรกรชาวสวนยางประเทศไทยครับ และในวันที่22-23 มีนาคม 2562 ทางนายกสมาคมชาวสวนยางประเทศเมียนมา และกรรมการจะเดินทางมาประเทศไทย เพื่อประชุมร่วมกันอีกครั้งที่กรุงเทพฯ โดยมีนายอำนวย ปะติเส เป็นประธานครับ!