ควรยกเลิกเงิน CESS ชั่วคราว แก้วิกฤตราคายางพารา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์

            ตอนนี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปกันแล้วว่า ราคายางพาราตกต่ำมาก ถึงขนาดยางก้นถ้วย 3 กก.100 บาท เผลอๆซื้อขายในท้องถิ่นอาจไม่ถึงด้วยซ้ำไป

            ผมอ่านข้อมูลของ อาจารย์อัทธ์ “รศ.ดร.นายอัทธ์ พิศาลวานิช” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เปิดเผยผลการวิจัย เรื่อง “วาระแห่งชาติ ยางพาราไทย : อุปสรรคและทางรอด”         

 

              อาจารย์อัทธ์ ระบุว่า ต้นทุนยางพาราไทยปัจจุบันอยู่ที่ 63 บาท/กก. ซึ่งแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากยังมีสต๊อกยางเก่าทั้งในประเทศและโลกรวมกว่า 1 ล้านตัน เป็นตัวกดดัน ซึ่งยางพาราไทยยังมีอนาคตอยู่ แต่ต้องบริหารจัดการและควบคุมให้ได้ โดยราคายางพาราที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราไทยจะอยู่ได้ควรจะอยู่ที่ 70-80 บาท/กก. แต่ธนาคารโลกคาดว่าราคายางพาราในอีก 5 ปีข้างหน้าจะยังไม่เกิน 2 ดอลลาร์/กก.

            ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศได้เสนอให้การแก้ปัญหายางพาราเป็นวาระแห่งชาติระยะเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ ปรับโครงสร้างหน่วยงานยางพาราให้ทำงานเป็นเอกภาพ เกษตรกรต้องรวมตัวกัน พัฒนาบิ๊กดาต้ายางพาราให้อัพเดทและตรงกัน จัดตั้งศูนย์เตือนภัยยางแห่งชาติ เพื่อประเมินสถานการณ์ยางพารา เป็นต้น

           นี่เป็นข้อมูลของงานวิจัยครับ แต่สำหรับผมในฐานะประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.)  และได้คลุกคลีอยู่กับเกษตรกรชาวสวนยางพารา และติดตามสถายการณ์มายาวนานถึง 40 ปี ในช่วงนี้อยากเสนออีกแนวทางครับ

            เป็นแนวทางที่กระทบรายใด้ของรัฐบาลน้อยมากคือในช่วงราคายางตกต่ำเช่นนื้ควรยกเลิกเก็บเงินสงเคราะห์ยาง หรือที่เรียกว่า “เงินเซสส์” (CESS) ที่เก็บจากผู้ส่งออก แต่ผู้ส่งออกก็ไปบวกกับชาวสวนยางอยู่ดีแหละ

            คือยกเลิกชั่วคราวครับ แต่ต้องมีมาตราการเข้มงวดในการตรวจสต๊อกคาดโทษเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำผิดหรือแจ้งเท็จให้มีโทษถึงขั้นไล่ออก ส่วนผู้ประกอบการให้จำคุกขั้นรุนแรงตาม พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542ผมว่าจะใด้ผลพอสมควรครับ แต่รัฐจะตัองสมทบค่าบริหารให้ การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.เงินจะใม่รั่วไหลเลย

           อันนี้เป็นแนวคิดของผมครับ ถ้าทำได้จะทำให้ราคายางดีดขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย เพราะสงสารเกษตรกรชาวสวนยางพาราเหลือเกินครับ !