“โรคใบร่วง”มหันตภัยตัวใหม่ของยางพารา
โดย…อุทัย สอนหลักทรัพย์
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รับหนังสือจากเลขาธิการสมาคมชาวสวนยางของอินโดนีเซีย บอกว่า ขณะนี้ทางเกาะสุมตราของประเทศอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหากับการระบาดของ “โรคใบร่วง” ในยางพารา ทำให้นึกถึงประเทศบราซิลเมื่อหลายสิบปี ที่ยางพาราในประเทศบราซิล เกิดโรคระบาดในลักษณะใกล้เคียง คือถ้าระบาดหนักต้นยางพารายืนต้นตายทั้งประเทศ ถึงขนาดบราซิลต้องเปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่
โรคใบร่วงในยางพารา เกิดจากเชื้อ fusicocum ยังไม่เคยพบในไทยและอินโดมาก่อน อาจเกิดจาก climate change ลักษณะทำให้ใบร่วง ปัญหาสำคัญคือ ระบาดทุกพันธุ์ ทำให้เชื้อรุนแรงขึ้น ไทยเองก็ต้องเฝ้าระวังครับ
เท่าที่ทราบมา เป็นโรคที่มีรายงานว่า พบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียนานแล้ว แต่ระบาดรุนแรงเหมือนโรคใบจุดทั่วๆไป แต่ที่พบระบาดรุนแรง จนใบร่วงในประเทศอินโดนีเซีย อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมปลี่ยนแปลง ถ้ากลุ่มประเทศสมาชิกของIRRDB (อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย) พบการระบาดรุนแรงของโรคนี้เพิ่มขึ้น ก็น่ากังวล เพราะอาจจะระบาดรุนแรงเหมือนโรคก้างปลาที่พบระบาดรุนแรงในปีพ.ศ.2528
ตอนนี้บ้านเรายังไม่มีรายงาน แต่บางครั้งอาจเป็นไปได้ ถ้าสำรวจดูตามแปลงยางในบ้านเราก็อาจพบโรคนี้แล้วก็ได้ ตราบใดที่ปริมาณเชื้อยังน้อย ยังไม่เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงและพันธุ์ยางยังไม่เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคfusicocom ถึงกับทำให้ใบร่วงหรือถึงระดับยืนต้นตาย
[adrotate banner=”3″]
ผมใด้รวบรวมเรื่องโรคใบล่วง 2 ครั้งแล้ว ว่าโรคนี้ระบาดในอินโดนีเซียตั้งแต่ วันนี้ 29 เมษายน 2561ผมในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง มีความประสงค์ที่จะให้กรมวิชาการเกษตรที่มีหน้าทีโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องโรคพืช และการยางแห่งประเทศ (กยท.) ที่ต้องรับผิดชอบสวนยาง ช่วยออกมาประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบบ้าง ว่าโรคนี้มีความรุนแรงขนาดไหน
ที่สำคัญถ้าเราช่วยกันประโคมข่าวตลาดล่วงหน้าจะสั่นสะเทือนไม่เบา เพราะโรคนี้ถ้าระบาดแล้วกว่าจะฟื้นมาได้ใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ตลาดล่วงหน้า จะได้ไม่กล้ากดราคายางพาราจากเกษตรกรครับ!