รับผิด รับชอบ ตามกรอบหน้าที่

  •  
  •  
  •  
  •  


นายสุรศักดิ์เจริญศิริโชติ ผู้ว่าฯระยอง 

เมื่อเร็วๆนี้ ผมในฐานะประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย ( สยยท.)ได้เห็นข่าวจากการให้ข่าวของการยางแห่งประเทศไทย จำนวน 3 ครั้ง โดย นางปรีดิ์เปรม ทัศกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งการให้ข่าวแต่ละครั้ง ส่งผลเสียหายทำให้ราคายางลดลง เพราะผู้รับซื้อไม่แน่ใจในคุณภาพยาง เป็นผลกระทบต่อเกษตรกรโดยตรงเป็นอย่างมาก แต่ผมและสภาเครือข่ายยางในพื้นที่ได้ใช้เวทีช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องจนเกิดผลดีเป็นที่กระจ่างจนเป็นที่ยอมรับดังนี้
1. เรี่องการใช้กรดซัลฟิวริกในการผลิตยาง โดยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 ได้นำเรื่อง กรดซัลฟิวริก เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ โดยมี ฯพณฯ ประยุทธ จันทน์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกไปทำความเข้าใจต่อเกษตรกร ซึ่งสภาเครือข่ายยาง (สยยท.) ได้จัดเสวนาที่จังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2559 โดยมีนักวิชาการจาก สกว,กยท, มอ, เอ็มเท็ค และสภาอุตสาหกรรมไปทำความเข้าใจกับเกษตรกรและพ่อค้าผู้รับซื้อยาง แนะนำการใช้กรดซัลฟิวริก แจกจ่าย เป็นผลให้พ่อค้าคลายความกังวล และยินยอมรับซื้อยางในราคาปกติ
2. เรื่องการผลิตยางเหลืองของเกษตรกรภาคตะวันออก ในวันที่ 20 เมษายม 2560 พนักงานคนเดียวกับ ข้อ 1 เผยแพร่บทความในเว็ปไซต์ราคายางดอทคอม เผยแพร่ไปทั่วโลกที่เกี่ยวกับยาพารา โดยอ้างอิงว่า จากคำบอกเล่าของเกษตรกรแจ้งมายังที่ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ว่า การซื้อยางที่ตลาดกลางยางพาราภาค ตะวันออกแต่นำมาเผยแพร่ทั้งที่ยังไม่ได้พิจสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งในสมัยปี 2518 ถึงประมาณปี 2530 ยางเหลืองของภาคตะวันออกเคยมีการผสมไพลที่มีสีเหลืองตามธรรมชาติไปในน้ำยาง
แต่ในปัจจุบันไม่มีแล้ว และเกษตรกร นิยมปลูกยาง PB5/51 ซึ่งมีสีเหลืองตามสายพันธุ์โดยทั่วไปบทความยังอ้างว่า ในเขตพื้นที่ ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี เกษตรกรจะผลิตยางโดยเข้าโรงอบมีหลังคาให้สัมผัสความร้อนจากแสงแดด ทำให้ยางคุณภาพไม่ดี แต่กลับขายได้ราคาดีเพราะมีสีสวยโดยเฉพาะยางเหลือง1ข้อเท็จจริงมีเกษตรกรส่วนน้อยเท่านั้นที่ผลิตยางตามที่กล่าว ส่วนใหญ่ผลิตยางคุณภาพ 1-4 ในภาคตะวันออกจะไม่ได้ผลิตในโรงอบแดดและที่ผลิตในโรงอบแดดก็จะปรับสภาพไม่ให้ยาง


ลักษณะของยางเหลือง

ต้องรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ตรงได้ ส่วนการที่ยางเหลือของภาคตะวันออกได้ราคาที่สูงกว่ายาง 6 ตลาดของการยาง ฯ ตลอดมา เป็นเพราะเกษตรกรผลิตยางได้คุณภาพ มีความสะอาด ไม่มีฟองอากาศหรือมีน้อย ปริมาณความขึ้น ขนาดความหนาบางของแผ่นตรงตามมาตรฐาน รวมทั้งมีความยืดหยุ่นดี การออกข่าวเช่นนี้ เป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรภาคตะวันออกได้เพราะพ่อค้าอาจเข้าใจผิดตามข่าวและให้ราคาลดลง และที่ผ่านมาการซื้อขายยางผ่านตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออกได้มรการแจ้งกลุ่ม/สหกรณ์ ที่รวบรวมยางขายผ่านตลาดให้ทำความเข้าใจกับสมาชิกให้ผลิตยางแผ่นคุณภาพดี โดยพ่อค้าได้ให้ความไว้วางใจในคุณภาพมาโดยตลอด และยางเหลืองของเกษตรกรที่มาขายตลาดกลางระยอง ราคาจะสูงกว่า 6 ตลาดหลักของ กยท.ซึ่ง กยท.น่าจะต้องส่งเจ้าหน้าที่มาศึกษาและนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกร ให้ผลิตยางให้ได้ราคาจึงจะถูกต้องกว่า
3. เรื่องกรดฟอร์มิคปลอมระบาดทางภาคอีสาน ออกข่าวในวันที่ 19 เมษายน 2560 ในเว็บไซต์คมชัดลึกดอทคอท ในบทความมีการจำหน่ายกรดฟอร์มิคปลอม ซึ่งทำความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง การออกข่าวฟังดูดี แต่ขอติงว่า เมื่อเจ้าหน่าที่การยางฯ รู้ว่ามีการทำกรดปลอม ทำไมไม่แจ้งความดำเนินคดีในฐานะเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ควรที่จะเก็บตัวอย่างดำเนินคดีไม่ให้จำหน่าย เพราะในบทความได้บอกว่า ลงพื้นที่สุ่มตัวอย่างภาคอีสาน 22 ตัวอย่างไปวิเคราะห์ ผลออกมาไม่ตรงกับฉลากที่ระบุไว้เกือบทั้งหมด ถือเป็นการทำผิดตามพรบ. คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 มาตรา 22 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อคุณภาพยาง เกิดความเสียหายต่อประเทศอย่างมหาศาล ทำไมการยางฯ ไม่แจ้งความดำเนินคดี กับออกข่าวเป็นผลให้ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพยางไทย ผลกระทบก็จะทำให้ราคายางถูกกดราคา

ดังนั้น คณะกรรมาการสภาเครือข่ายยาง (สยยท.) จึงของให้ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย กำกับดูแลพนักงาน มิให้เผยแพร่ข่าวสารทำนองที่เป็นผลเสียหายในเชิงลบต่อเกษตรกร สำหรับระเบียบปฏิบัติของการยางฯ การเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ควรผ่านการเห็นชอบของผู้บังคับบัญชาขั้นสูงเสียก่อน มิฉะนั้นอาจเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้ ขอให้ท่านได้ตรวจสอบและแจ้งให้ สยยท. ในฐานะเป็นองค์กรของเกษตรกรทราบต่อไป

ดังนั้นผมในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางขอใช้เวที มิติใหม่กับยางพาราไทย4.0นี้ ขอให้ผู้บริหารการยางพาราแห่งประเทศไทย(กยท.)ช่วยดำเนินการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยด่วน ซึ่งในโอกาสต่อๆไปหากมีการเผยแพร่บทความลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อราคายางของเกษตรกรขอให้ผู้บริหารกยท.ออกมาตรวจสอบให้รอบคอบยิ่งขึ้นรวมทั้งหากกรณีได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องออกมารับผิดชอบ ไม่เพียงแค่คำพูดขอโทษแต่โปรดพิจารณาการทำงานทั้งระบบทั้งกระบวนการด้วย