แผนของศรีลังกาโอบรับเกษตรอินทรีย์ หวังต้นแบบเศรษฐกิจ-สังคมสีเขียว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    ประเทศศรีลังกามีชื่อเสียงไปทั่วโลกในด้านการผลิตชา และมีความคิดริเริ่มที่จะผลิตชาออร์แกนิคทั้งประเทศ แม้ว่าจะเป็นเจตนาดีก็ตาม แต่ก็กลายเป็นการขัดขวางความก้าวหน้าทางการเกษตรซึ่งประธานาธิบดีของประเทศนี้ ได้เรียกร้องให้มีต้นแบบทางเศรษฐกิจและสังคมสีเขียว(Green Socio-Economic Model) ที่เสนอโดยผู้สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ และผู้ต่อต้านต่อการเกษตรที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เช่น ให้มีการจำกัดการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู ที่เป็นสารอนินทรีย์หรือสารสังเคราะห์

     หลายคนยกย่องการตัดสินใจนี้ โดยระบุว่า เป็นขั้นตอนสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ และเป็นการเตรียมการเพื่อรับมือกับอันตรายที่เกิดจากการเกษตรที่ทำอยู่ในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน แต่การตัดสินใจนี้กลายเป็นว่า เป็นการเพิ่มสัดส่วนของความเสียหาย

     ทั้งนักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจจำนวนมาก อันเนื่องมาจากผลผลิตที่ลดลงร้อยละ 25 สำหรับข้าวและร้อยละ 35 สำหรับชา ซึ่งผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ความมั่นคงด้านอาหารลดลง ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งรายได้ของฟาร์มที่ลดลง นั่นหมายถึงความยากจนในชนบทจะทวีความรุนแรงขึ้น

    แทนที่จะเล่น chemophobe game (เกมที่สร้างความกลัวสารเคมี) แต่ควรกลับมาเข้มงวดในกฎเกณฑ์และสถาบันที่ควบคุมโครงสร้างพื้นฐานของการเกษตรที่กำลังพัฒนา เทคโนโลยีและการศึกษา ซึ่งจะได้ผลลัพธ์สีเขียวที่ต้องการ “อย่างเป็นธรรมชาติ”

    ครับ ก็คอยดูไปว่าจะออกผลมาอย่างไร และเราควรเอาตามหรือไม่

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.agdaily.com/insights/perspective-sri-lankas-organic-push-threatens-to-backpedal-ag/