กระทรวงเกษตรฯ เดินหน้าขับเคลื่อนงานหม่อนไหมแปลงใหญ่ ปี 2563 ด้วยนโยบายตลาดนำการผลิต ในพื้นที่ 34 แปลง 18 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกหม่อนมากกว่า 1.2 หมื่นไร่ เกษตรกรรวม 2,994 ครัวเรือน ชูการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ภายใต้แปลงใหญ่ ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เป็นที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง
นายสันติ กลึงกลางดอน รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ตามที่กรมหม่อนไหมได้รับนโยบายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตรให้มีความสมบูรณ์และครบวง จร โดยส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกันผลิต ในรูปแบบแปลงใหญ่นั้น ในปี 2563 ได้ดำเนินการในพื้นที่ 34 แปลง 18 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกหม่อนมากกว่า 12,000 ไร่ เกษตรกรรวม 2,994 ครัวเรือน ได้แก่
1. การผลิตไหมอุตสาหกรรม จำนวน 16 แปลง ในจังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์มุกดาหาร (2 แปลง) ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ (3 แปลง) นครราชสีมา สุรินทร์ และอุทัยธานี, 2.การผลิตไหมหัตถกรรม จำนวน 17 แปลง ในจังหวัดเชียงราย ขอนแก่น กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ (5 แปลง) บุรีรัมย์ (3 แปลง) นครราชสีมา (2 แปลง) ศรีสะเกษและอำนาจเจริญ (2 แปลง) ,และ 3. การผลิตหม่อนผลสด จำนวน 1 แปลง ในจังหวัดน่าน
(แปลงใหญ่ประชารัฐ) เพื่อพัฒนา เน้นให้เกิดการรวมแปลง/ รวมกลุ่มเกษตรกรจัดทำฐานข้อมูล และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและผู้จัดการแปลงใหญ่
นายสันติ กล่าวอีกว่า แบบอย่างการเกษตรแปลงใหญ่ด้านหม่อนไหมที่ประสบความสำเร็จ และแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานที่สนองตอบการขับเคลื่อนในทุกนโยบาย ทั้งนโยบาย "การรวมกลุ่มการทำเกษตรแปลง ใหญ่" และนโยบาย "ตลาดนำการผลิต" คือ แปลงใหญ่หม่อนไหม การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ภายใต้แปลงใหญ่(ไหมอุตสาหกรรม) ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีพื้นที่ปลูกหม่อน 707 ไร่ จำนวนสมาชิก 95 ราย ผลิตสินค้าไหมรังเหลืองตามมาตรฐาน GAP(มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 8201-2555)
สำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จังหวัดน่าน ได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา โดยศูนย์หม่อนไหม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ น่านได้ขับเคลื่อนดำเนินการส่งเสริมการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่จังหวัดน่าน เชียงราย และพะเยา เพื่อพัฒนาเกษตรกรไปสู่การเป็น Smart Farmer ขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” โดยร่วมกับบริษัทเอกชนให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อจำหน่ายรังไหมให้แก่บริษัทมากขึ้น ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องตลาดรับซื้อรังไหม และมีการทำสัญญาซื้อขายรังไหมล่วงหน้าระหว่างเกษตรกรกับบริษัท (Contract farming) ปีต่อปี
ส่วนในปี 2563 ได้มีการทำสัญญาซื้อขายรังไหมล่วงหน้ากับบริษัท จุลไหมไทย จำกัด เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2563 โดยนายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เป็นสักขีพยานในการทำสัญญาซื้อขายรังไหมดังกล่าว กำหนดปริมาณผลผลิตที่ต้องส่งมอบตามสัญญาซื้อขายรังไหม 55,000 กิโลกรัม (55 ตัน) จำนวน 8-10 รุ่น โดยใช้ไข่ไหมพันธุ์เหลืองสระบุรี ซึ่งเป็นไข่ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม(ผลิตโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ของกรมหม่อนไหม) บรรจุปริมาณไข่ไหม22,000 ฟอง/แผ่น คาดคะเนผลผลิตรังไหมสด 30 กิโลกรัม/แผ่น ราคาเฉลี่ย 156.88
บาท/กิโลกรัม ซึ่งการเลี้ยงไหมได้ปีละ 8-10 รุ่น
ต