สแกนอีกครั้ง ตรวจสอบอีกครา ใกล้เข้ามาแล้วยื่นชิงโรงไฟฟ้าชุม

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

 

      “หัวใจใหญ่ที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาโรงไฟฟ้าชุมชนอยู่ที่ผลประโยชน์ของชุมชนเป็นตัวตั้ง ชุมชนสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จากการตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตัวเอง”

       ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้วแห่งการรอคอยของผู้ประกอบการ ที่สนใจจะลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก 700 เมกะวัตต์ ตามนโยบายของผู้บริหารกระทรวงเจ้าโปรเจกท์ “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ตั้งความหวังจะช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้จากการจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มขึ้น ในส่วนของกลุ่ม Quick Win จำนวน 100 เมกะวัตต์  ก่อนถึงคิวของกลุ่มทั่วไป จำนวน 600 เมกะวัตต์ในโอกาสต่อไป

                                                                                                     สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

        ทั้งนี้นายสนธิรัตน์ เองในฐานะเจ้าของโปรเจกท์ มีความมั่นใจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้เกษตรกรในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ได้  และมีความตั้งใจว่า จะให้มีการพิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2563 จึงอยากให้กระทรวงพลังงาน เร่งรัดให้สามารถดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะจะมีส่วนช่วยนำรายได้จากการจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากได้เพิ่มขึ้นด้วย

       แม้บรรดานักลงทุนผู้สนใจ ในกลุ่ม Quick Win มีการเตรียมพร้อมมาแล้วย่างคึกคักมานานแล้ว ทั้งที่ภาคเหนือ อีสาน ภาคกลาง ยันจรดปลายด้ามขวานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้แต่งตัวเตรียมที่จะลงทุนไม่ว่า จะเป็นในส่วนของสถานที่ตั้ง ของโรงไฟฟ้าชมชน งบฯการลงทุน การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผลิตวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าแล้ว เนื่องจากต่างมองว่า โครงการนี้คุ้มกับการลงทุน และจะทำให้มีส่วนในการชุบชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นได้ก็ตาม

       แต่…..เวบไซต์ “เกษตรทำกิน” ขอย้ำเตือนสักหนึ่ง ก่อนที่จะยื่นของแสดงเจตจำนงค์ในการที่จะลงทุนนั้น ควรตรวจสอบ สแกน แก่นแท้ของโครงการนี้ว่า กระทรวงพลังงานมีเป้าหมายอย่าง เพื่ออะไร และผู้ที่มีโอกาสได้ร่วมโครงการในครั้งนี้ ได้แสดงถึงวัตถุประสงค์อย่างไร ตรงกับเป้าหมายของกระทรวงพลังงานไม่

      อย่าลืมว่า ล่าสุดนั้นทางคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีการประชุมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ได้เห็นชอบให้มีการการปรับปรุงหลักการ และรายละเอียดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก  700 เมกะวัตต์ในบางส่วน จากที่เคยผ่านการเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 และทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) มีการแก้ไขเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การเปิดยื่นประมูลโรงไฟฟ้าชุมชน จำนวน 700 เมกะวัตต์ ในบางส่วนแล้ว โดยเฉพาะกลุ่ม Quick Win จำนวน 100 เมกะวัตต์ ที่จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอในเร็วๆนี้

    คงจะจำกันได้ว่า ภายหลังจากการประชุมในวันนั้น  นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แม่งานใหญ่ของโครงการนี้ บอกว่า   ที่ประชุม กพช.มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงเงื่อนไขโรงไฟฟ้าชุมชน กลุ่ม Quick Win จำนวน 100 เมกะวัตต์ ให้เปิดกว้างขึ้น ให้สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าชุมชนสามารถส่งขายเข้าสู่ระบบได้ตามความต้องการ ซึ่งเดิมกำหนดการผลิตไฟฟ้าจะต้องเอาไว้ใช้เองเป็นหลัก เหลือปริมาณไฟฟ้าเท่าไหร่ค่อยส่งขายเข้าระบบ  แต่หลังจากมีเปิดรับฟังความคิดเห็นและได้พูดคุยกันแล้ว จึงได้มีการปรับแก้เป็นมติดังกล่าวออกมา

     นอกจากนี้ ยังให้มีการปรับแก้ เรื่องของส่วนแบ่งรายได้โรงไฟฟ้าชุมชนด้วย คือจากการจำหน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใดๆ แบ่งให้กับ “กองทุนโรงไฟฟ้าชุมชน” จำนวน 25 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมจะต้องแบ่งให้กับกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการนำเงินจำนวน 25 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อไปพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเต็มรูปแบบ ซึ่งจะมีการจัดตั้งและกำหนดระเบียบการใช้จ่ายเงินขึ้นมาใหม่ โดยให้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

     สำหรับกองทุนโรงไฟฟ้าชุมชนจะมีองค์ประกอบจากหลายฝ่ายเข้าไปร่วม เพื่อให้เกิดการนำเงินจากกองทุนนี้ไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากกับชุมชนได้เต็มรูปแบบ เพราะวัตถุประสงค์หลักของกองทุนหมู่บ้านเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจระดับครอบครัว แต่เห็นว่าเงินก้อนนี้ควรนำไปพัฒนาขอบข่ายของชุมชนได้กว้างขึ้น จึงได้มีการปรับให้มีแบ่งเข้ากองทุนโรงไฟฟ้าชุมชน  ส่วนโรงไฟฟ้าชุมชน กลุ่มทั่วไป จำนวน 600 เมกะวัตต์ รอกลุ่ม Quick Win เสร็จเรียบร้อยก่อนค่อยดำเนินการถัดไป

      แต่กระนั้นก็ตาม  หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาข้อเสนอโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน หัวใจสำคัญ ที่นายสนธิ ย้ำเสมอว่า หัวใจใหญ่ที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาโรงไฟฟ้าชุมชนอยู่ที่ผลประโยชน์ของชุมชนเป็นตัวตั้ง ชุมชนสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จากการตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตัวเอง ดังนั้น เวลาแต่ละพื้นที่เขียนโครงการมานำเสนอจะต้องคำนึ่งถึงหลักเกณฑ์นี้เป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการพิจารณา

     นายสนธฺรัตน์ เคยยกตัวอย่างว่า  โรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้ไบโอแมสเป็นวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าจะต้องนำเสนอว่า ชุมชนใกล้เคียงสามารถขายวัตถุดิบที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบอ้อย และเศษไม้ในพื้นที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุดิบที่เป็นพืชพลังงานที่ปลูกใหม่เสมอไป เพราะวัตถุดิบเหล่านี้สามารถนำมาจากชุมชนใกล้เคียงด้วยการอัดแท่งนำมาขาย สามารถสร้างรายได้ และลดการเผาที่สร้างฝุ่นขนาดจิ๋ว PM 2.5

      ได้อีกทางหนึ่งด้วย ก็ยังเน้นให้คนในชุมชนต้องได้ประโยชน์ สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นเป็นตัวตั้ง ดังนั้นการเขียนโครงการที่จะเสนอต้องระบุด้วยว่า พืชพลังงานที่จะมาป้อนโรงไฟฟ้าจะสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรต่อไร่ต่อปีเท่าไร และต้องให้ดีกว่าของเดิมที่ปลูกอยู่แล้ว อาทิ การปลูกหญ้าเนเปียร์ สามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ 2-3 หมื่นต่อไร่ต่อปี ซึ่งดีกว่าการปลูกข้าว มัน ข้าวโพด ที่มีรายได้หลักพันต่อไร่ต่อปี ดังนั้น แสดงว่าการปลูกเกษตรชนิดใหม่ ทำให้ชีวิตเกษตรดีขึ้น ประการต่อมาสามารถสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร เพราะมีการทำพันธสัญญาขายวัตถุดิบให้กับโรงไฟฟ้าเป็นเวลา 20 ปี  ซึ่งเป็นการันตีความมั่นคงรายได้ที่ยาวนานมาก จากเดิมที่ปลูกแล้วไม่รู้จะขายที่ไหนเป็นต้น

       ทั้งหมดนี้คือหลักการและหลักเกรณ์ คร่าวๆ สำหรับเป็นการย้ำเตือนให้ผู้ประกอบการได้คำนึง และเพื่อพิจารณาก่อนที่จะยื่นข้อเสนอในการที่ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ในส่วนกลุ่ม Quick Win  100 เมกะวัตต์ ที่ใกล้ได้ฤกษ์งาม งามดี ประเดิมเปิดให้ยื่นข้อเสนอในเร็วๆ นี้