“ประภัตร”นำทีมลุยบ้านควาย เตรียมงานใหญ่”มหกรรมเกษตรสร้างชาติ”ชงกว่า 20 เมนูอาชีพให้เกษตรกรเลือก

  •  
  •  
  •  
  •  

“ประภัตร” นำทีมข้าราชการทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และ ธ.ก.ส. ลงพื้นที่บ้านควาย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เพื่อเตรียมความพร้อม จัดงานใหญ่ “มหกรรมเกษตรสร้างชาติ” ชงกว่า  20 เมนูอาชีพทางเลือก และสร้างรายได้ ที่มีตลาดจริงให้เกษตกรเรียนรู้ตามความถนัด เน้นลงมือทำจริง คาดปลายมีนาคม 2563 จะแล้วเสร็จ และเปิดเข้าชมฟรี

      วันที่ 6 มีนาคม 2563 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯและเจ้าหน้าที่ธนาครเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ลงพื้นที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ของนายประภัตรเอง เพื่อเตรียมความพร้อม ในจัดงานมหกรรมเกษตรสร้างชาติที่จะมีขึ้นปลายเดือนมีนาคม 2563 นี้

       นายประภัตร กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมจัดงานมหกรรมเกษตรสร้างชาติขึ้นนั้น วันนี้ได้เชิญทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ มาลงพื้นที่เพื่อร่วมกันคิดเมนูอาชีพด้านต่างๆ และพิจารณาสถานที่จัดทำแปลงสาธิตตามความเหมาะสม กว่า 20 เมนูอาชีพทางเลือกให้เกษตรกรได้เรียนรู้และเลือกทำ โดยจะจัดให้มีศูนย์ถ่ายทอด ศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต ทุกเมนูต้องมีตลาดรองรับแน่นอน มีการสัมมนา อบรม สาธิต  รวมทั้งให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินในการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อให้เป็นจุดบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยใช้พื้นที่กว่า 100 ไร่ ในหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี เข้าชมฟรี นอกจากนี้ยังมีสาธิต และให้ความรู้ การปลูกข้าวนุ่มคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด การแปรรูปสินค้าปศุสัตว์ การปลูกพืชในโรงเรือน การปลูกอ้อยคั้นน้ำน้อย เทคนิคการเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้ผลดีและไว อาทิ ปลาสลิดดอนกำยาน กุ้งก้ามกราม เป็นต้น

 

    นายประภัตร กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา โครงการเกษตรสร้างชาติ มีปัญหาติดขัดในเรื่องของการปล่อยกู้ ภายหลังจากที่ ครม.อนุมัติงบประมาณาช่วย 50,000 ล้านบาท แต่ตอนนี้ยังปล่อยไม่ได้ เพราะเกษตรกรยังไม่เข้าใจ หรือทำไม่ถูกเงื่อนไขของ ธ.ก.ส. วันนี้จึงต้องเร่งทำแปลงสาธิต เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกรได้มาเห็นของจริง หากยังไม่เข้าใจต้องมาลงมือทำ ถึงจะตัดสินใจได้ว่าจะเลือกเมนูอะไร โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และ ธ.ก.ส. ผสานความร่วมมือกัน ช่วยเกษตรกรให้องค์ความรู้  ติดขัดตรงไหนก็มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเขียนแผนธุรกิจ ธ.ก.ส. จะต้องแนะนำให้ชัดเจน 

     ทั้งนี้จะได้ช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้  โดยเน้นรูปแบบโมเดลด้านต่าง แบบ One Stop Service คือ เกษตรกรมาในงานนี้จะได้ทั้งความรู้และแหล่งเงินทุนในการส่งเสริมอาชีพต่อ หากทำได้อย่างจริงจังเชื่อว่าจะแก้ปัญหาความยากจนได้ส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งเป้าว่าภายในเดือนมี.ค. จะต้องแล้วเสร็จ และสามารถปล่อยกู้ให้เกษตรกรได้ในเดือน เมษายน 2563นี้  อย่างไรก็ตาม หากจังหวัดอื่นๆ มีความพร้อม ทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ยินดีไปสนับสนุนต่อไป