ภูมิปัญญาชาวบ้านหลายเรื่องได้รับการยอมรับในวงกว้าง…แต่หลายเรื่องกลับไม่มีคำตอบทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายเหตุผลได้
ชาวบ้านยังคงทำตามๆกันมา ตามคำบอกเล่าด้วยความเคยชิน โดยไม่รู้ถึงข้อจำกัดของทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ อะไรที่ใช้กันมากเกิน ล้วนมีแต่โทษ มีผลกระทบข้างเคียงด้วยกัน เลยส่งผลให้การนำภูมิปัญญานั้นๆ มาใช้ จึงมีทั้งคนประสบความสำเร็จและล้มเหลว
สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งหลายที่มีมาหาคำตอบที่สามารถใช้หลักวิทยาศาสตร์อธิบายได้
“1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” เป็นโครงการพัฒนาต่อยอดจากการทำแผนตำบลกับองค์กรเกษตรกร ที่ขึ้นทะเบียนกับสภา เกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ที่เริ่มตั้งแต่มีนาคมไปสิ้นสุดกันยายน 2561 เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผนึกรวมกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
ตัวให้มีมาตรฐาน เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ผลิตระดับท้องถิ่นให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ SMEs โดยมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาสร้างเครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง รวมทั้งนำภูมิปัญญามาผลิตปุ๋ยยากำจัดศัตรูพืช พัฒนาเทคโนโลยียืดอายุหลังเก็บเกี่ยว และเทคโนโลยีนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์กับภาคเกษตรโดยรวม
บื้องต้นมีเป้าหมาย…ลดต้นทุนการผลิต 20% เพิ่มผลผลิต 20% ยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลนานขึ้น 10% ให้กับเกษตรกร 10,000 ราย ใน 878 ตำบล 300 องค์กรเกษตรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร
สภาเกษตรกรจึงเชิญชวนเกษตรกรที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องการต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” แจ้งความจำนงได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทุกแห่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.
ที่มา : ไทยรัฐ