4 กรรมวิธีพิชิตกลิ่นสะตอ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…บังดล  คนเดิม

ตอนนี้สะตอเริ่มออกสู่ท้องตลาดกันบ้างแล้วครับ!

พอนึกถึงสะตอ นึกถึงอาหารยอดนิยมของชาวปักษ์ใต้ แท้จริงสะตอนิยมบริโภคหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ สปป.ลาว เมียนมาร์ รวมถึงอินเดียด้วย

สะตอที่ปลูกกันในภาคใต้ และตะวันออกมี 2 สายพันธุ์คือสะตอข้าว ลักษณะฝักเป็นเกลียว และสะตอดาน ฝักมีลักษณะตรงแบนเมล็ดใหญ่ กลิ่นแรง แต่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เพราะอุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี เป็นต้น

ธาตุอาหารเหล่านี้จึงมีคุณค่าทางสมุนไพร กินแล้วช่วยบำรุงสายตา,ทำให้เจริญอาหาร,ทำให้เจริญอาหาร,ที่สำคัญช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน,ช่วยลดความดันโลหิต ,ทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น ,.มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์, รับประทานประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ , ช่วยขับลมในลำไส้,ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้,มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ,ช่วยในการขับปัสสาวะ,แก้ปัสสาวะพิการ,.ช่วยแก้ไตพิการ,ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย,เชื้อรา

ส่วนการปรุงเป็นอาหารหลากหลายชนิด อาทิ สะตอผัดกุ้ง เนื้อ หมู , แกงป่าใส่สะตอ ทำเป็นผักจิ้มน้ำพริกอร่อยมาก  แต่กระนั้นผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ควรระวัง เพราะยูริคสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และหูอื้อ

บนความอร่อยและประโยชน์อย่างมหาศาลของสะตอ ยังมีโทษที่เห็นๆ และไม่เกียวกับสุขภาพ แต่เกี่ยวมลภาวะทางกลิ่น เพราะถ้ากินสะตอเข้าไปแล้ว อย่าบอกใครเชี่ยว กลิ่นจะแรงมาก ยิ่งได้จิ้มกับน้ำกะปี น้ำบูดู หรือปลาร้าสับ กลิ่นจะทวีความรุ่นแรง ว่ากันคุยกันห่างถึง 2 ศอก หรือ 1 ช่วงแคนคน กลิ่นจากปากจะทำลายบรรยากาศการสนทนาได้

กระนั้นทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ ดุจเดียวกับกลิ่นสะตอ “เคล็ด(ไม่ลับ)กับบังดล” ประจำวัศุกร์นี้  ง่ายๆครับ หลังรับประทานสะตอแล้วพืชผักที่ดับกลิ่นสะตอได้คือ หลังกินสะตอให้กินแตงกวา หรือมะเขือเปาะ 2-3 ผล รวมถึงใบฝรั่งก็ได้ อีกทางหนึ่งคือก่อนนำมาทำอาหารให้ลวกน้ำร้อนกลิ่นจะเบาลงได้

แค่นี้เองครับท่าน ….ง่ายแรงนิ่ !