กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวอ้อยพลังงานพันธุ์ แรกของประเทศไทย “กวก. ขอนแก่น 4” หลังจาทำการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์อ้ อยยาวนานถึง 25 ปี เผยลักษณะเด่น ให้ผลผลิต 11.71 ตันต่อไร่ ที่สำคัญยังให้พลังงานไฟฟ้า 596 กิโลวัตต์ต่อไร่ และพลังงานแก๊สชีวภาพ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี ระบุเกษตกรปลูกจะมีรายได้ไร่ละ 44,164 บาท
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำ ตาลทราย กากน้ำตาล และยังเป็นวัตถุดิบสำคั ญในการผลิตเอทานอล รวมทั้งชานอ้อยที่ใช้เป็นเชื้ อเพลิงในการผลิตน้ำตาลและผลิ ตพลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลั งงานปีละประมาณ 85,966 พันตันและมีแนวโน้มสูงขึ้น อ้อยจึงเป็นพืชที่มีศั กยภาพและมีความยั่งยื นในการนำมาเป็นพืชพลังงานทดแทน ซึ่งผลผลิตอ้อยทุกส่ วนสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ ทั้งพลังงานไฟฟ้าชีวมวล และเชื้อเพลิง
.
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีพันธุ์อ้อยที่ มีศักยภาพในการผลิตพลั งงานโดยตรง เนื่องจากที่ผ่านมาการพัฒนาพั นธุ์อ้อยเน้นอ้อยที่มี ความหวานสูง ดังนั้นศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพื ชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ ปุ่น จึงได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์อ้ อยเพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลากหลาย มีผลผลิต ผลผลิตชานอ้อย ผลผลิตกากน้ำตาล ผลผลิตแก๊สชีวภาพ และพลังงานไฟฟ้า และเป็นพืชพลังงานชีวภาพหรือพลั งงานทางเลือกของโรงไฟฟ้าชุมชน
.
จาการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์อ้ อยตั้งแต่ปี 2540 -2565 ทำให้ได้อ้อยพันธุ์ใหม่ใช้ชื่ อพันธุ์ว่า ”กวก. ขอนแก่น 4” เป็นลูกผสมข้ามชนิดระหว่างอ้ อยและอ้อยป่า (Saccharum spotaneum) เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างอ้ อยพันธุ์แม่ 94-2-128 ที่มีผลผลิตและความหวานสูง และอ้อยพันธุ์พ่อ 03-4-331 ที่มีผลผลิตสูง และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้กว้ าง ประเมินผลผลิตในการเปรียบเที ยบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร และการทดสอบในไร่เกษตรกร ในปี 2553-2564 ทดสอบและศึกษาศักยภาพการผลิ ตพลังงานชีวภาพในปี 2555-2557 ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ทรงกอค่อนข้างตั้งตรง ปล้องเรียงตัวค่อนข้างตรง ปล้องทรงกระบอก ใบกว้างปานกลางและไม่มีขนที่ กาบใบ
ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตอ้อย 11.71 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิตชานอ้อยเฉลี่ย 1.96 ตันต่อไร่ มีปริมาณเยื่อใยเฉลี่ยร้อยละ 17.12 ให้ผลผลิตกากน้ำตาล 523 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งลักษณะเด่นดังกล่าวสูงกว่ าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ที่สำคัญยังให้พลังงานไฟฟ้า 596 กิโลวัตต์ต่อไร่ และพลังงานแก๊สชีวภาพ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ผ่านการรับรองพันธุ์ประเภทพั นธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566
.
ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่