เห็นชัด!! ขยายผล “โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน” อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯปลูกผักปลอดสารที่เพชรบูรณ์สร้างได้วันละ 300 บาท

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมวิชาการเกษตรปลื้ม โครงการขยายผลการพัฒนาด้านการเกษตร ตามโครงการผลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเกษตร ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยภายในโรงเรือน ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ สามารถขยายสู่ทั้งนักเรียนและเกษตรกรที่บ้านโป่งตะแบก ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร 300 บาทต่อวัน พร้อมวางแผนการผลิตผักได้ตลอดทั้งปี

          นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้มีโอกาสด้านการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทรงริเริ่ม “แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร” ที่ครอบคลุมทั้งด้านการเกษตร, สุขภาพอนามัยการศึกษา, สหกรณ์, การงานอาชีพ, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่นในโรงเรียนมากกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ

ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์

      ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการขยายผลการพัฒนาด้านการเกษตร ตามโครงการผลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเกษตร ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโป่งตะแบก ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ขึ้น โดยมีกิจกรรมการการสร้างโรงเรือน  การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในโรงเรือน และการติดตามประเมินผลโครงการฯ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการโครงการอาหารกลางวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขประเด็นที่พบเพิ่มเติมให้นักเรียนและเกษตรกรชุมชนใกล้เคียงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในปี 2565 ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ได้เสนอโครงการ การผลิตพืชผักในโรงเรือนเพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรือน ตชด.บ้านโป่งตะแบก จังหวัดเพชรบูรณ์

      ต่อมาปี 2566 ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ได้รับอนุมัติให้จัดทำโครงการขยายผลการพัฒนาด้านการเกษตร ตามโครงการผลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเกษตร ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโป่งตะแบก ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ขึ้น โดยมีกิจกรรมการการสร้างโรงเรือน การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการผลิตผักปลอดภัยในโรงเรือน การดูแลรักษา การใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตพืชผักปลอดภัยการใช้แมลงที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของผักแทนการใช้สารเคมี สาธิตการเลี้ยงแมลงการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในโรงเรือน และการติดตามประเมินผลโครงการฯ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการโครงการอาหารกลางวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขประเด็นที่พบเพิ่มเติมให้นักเรียนและเกษตรกรชุมชนใกล้เคียง   

      โครงการขยายผลการพัฒนาด้านการเกษตรฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนนำผลผลิตที่ได้เพื่อโครงการอาหารกลางวัน สามารถวางแผนการผลิตผักได้ตลอดปีนักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย สามารถกำหนดการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนได้ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน และเพื่อบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและยังสอดคล้องกับนโยบาย 3s ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คือ Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร

       ปัจจุบัน โรงเรียน ตชด.บ้านโป่งตะแบก ได้รับโรงเรือนปลูกพืชผักปลอดภัยในการผลิตผักปลอดภัยสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยภายใต้โรงเรือนเด็กนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้เรื่องเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยภายในโรงเรือนเพิ่มมากขึ้นมีสุขอนามัยที่ดีได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษและยังสามารถนำไปจำหน่ายที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในวันจันทร์และวันศุกร์ จำหน่ายที่ห้างเสรีสรรพสินค้าในวันอังคารและวันพุธ จำหน่ายที่ตลาดเกษตรทุกวันเสาร์และอาทิตย์และโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง สั่งพืชผักอินทรีย์ไปประกอบอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลโดยเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 300 บาทต่อวัน นอกจากนั้นยังนำผักเชียงดามาทำการแปรรูปเป็นชาเชียง แคปซูลเชียงดา ที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย