ภาคีชาวไร่ยาสูบสุดทน หลังเจอมรสุมกระหน่ำครั้งแล้วครั้งเล่าล้วนแต่บรรถรต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร นับตั้งแต่ราคาใบยาสูบไม่ขยับขึ้น ปัจจัยการผลิตมีต้นทุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ภาษีสรรพสามิตยาสูบปี 2560 ล่าสุดออกมาขอคัดค้าน (ร่าง) พ.ร.บ.แบนส่วนประกอบของบุหรี่ ของกระทรวงสาธารณะสุข เผยหากมีการบังคับใช้แล้วจะส่งผลต่ออาชีพของชาวไร่ยาสูบกว่า 30,000 ครอบครัว จะต้องสูญสิ้นอาชีพในทันทีที่มีการประกาศใช้ร่างฯฉบับนี้ เสนอให้รัฐบาลควรมีนโยบายแก้ไขโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ ทบทวนภาษีแบบ 2 อัตรา ให้ปรับใช้อัตราเดียว และควรหยุดขึ้นภาษียาสูบไปก่อนจนกว่าการยาสูบฯจะฟื้นตัวได้ พร้อมข้อเสนอตั้งกองทุนเพื่อดูแลชาวไร่ยาสูบชาวไร่ยาสูบและให้มีการแบ่งเงินจากกองทุนต่างๆ มาดูแลชาวไร่ยาสูบอย่างเป็นรูปธรรมด้วย นายกสมาคมชาวไร่ยาสูบเบอร์เลย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ถาม “ร่าง พ.ร.บ.นี้ใครได้ ใครเสีย ?
ล่าสุดภาคีชาวไร่ยาสูบ ระบุว่า ปัญหาโครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ภาษีสรรพสามิตยาสูบปี 2560 ที่มีการบังคับใช้ทำให้อุตสาหกรรมยาสูบหดตัวลงอย่างมาก ผลที่ได้คือรัฐบาลเก็บรายได้ภาษียาสูบได้ลดลงอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2560 ที่เก็บได้ 6.8 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 5.9 หมื่นล้านบาทในปี 2565 5 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดแล้วว่าภาษีสรรรพสามิตแบบ 2 อัตรานั้น ทำให้ การยาสูบฯ ไม่สามารถแข่งขันกับบุหรี่นอกได้ เพราะราคาบุหรี่มากระจุกตัวกันอยู่ในช่วงราคาเดียวที่ 66-70 บาท ส่งผลให้ผลกำไรของการยาสูบฯ ลดลงกว่า 98% โดยในปี 2560 มีกำไร 9 พันล้านบาท ลดลงเหลือเพียงประมาณ 100 ล้านบาทในปี 2565
ขณะเดียวกันชาวไร่ยาสูบก็ได้รับผลกระทบไปด้วยจากการที่การยาสูบฯขายได้น้อยลงจึงได้มีการสั่งลดโควต้าการรับซื้อจากชาวไร่ยาสูบลงเช่นกัน อีกทั้งยังไม่สามารถหาเงินมาช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิตของชาวไร่ยาสูบที่ได้รับผลกระทบได้เต็มจำนวน จนต้องมีการทำเรื่องขอเงินสนับสนุนจากงบกลางจากรัฐบาล นอกจากนี้การขึ้นภาษียาสูบยังเป็นปัจจัยหลักที่มีการนำเข้าบุหรี่หนีภาษีเพิ่มมากขึ้นโดยปัจจุบันมีบุหรี่หนีภาษี/บุหรี่เถื่อน/บุหรี่ปลอม มากกว่า 10% ของบุหรี่ที่ขายในท้องตลาด
ฉะนั้นข้อเสนอของภาคีชาวไร่ยาสูบ ให้รัฐบาลควรมีนโยบายแก้ไขโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ ทบทวนภาษีแบบ 2 อัตรา ว่ายังเหมาะสมหรือไม่หรือควรปรับไปใช้อัตราเดียวแบบตามที่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เสนอแนะกันตามที่ปรากฏในข่าวสื่อมวลชน และควรหยุดขึ้นภาษียาสูบไปก่อนจนกว่าการยาสูบฯจะฟื้นตัวได้ นอกจากนี้ให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลชาวไร่ยาสูบชาวไร่ยาสูบรวมทั้งการปลูกยาสูบไม่มีหน่วยงานที่สามารถดูแลเราได้อย่างเต็มที่ เพราะพืชยาสูบไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีความถนัดในเรื่องปัญหาด้านการเกษตร แต่อยู่ภายใต้การดูแลของการยาสูบฯ กระทรวงการคลังที่มีความชำนาญในเรื่องของการเงิน การเก็บภาษี
ทั้งนี้พอประสบปัญหาต่างๆทั้ง ภัยธรรมชาติ รวมทั้งปัญหาจากนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการควบคุมยาสูบและการจัดทำโครงสร้างภาษีบุหรี่ จึงไม่มีหน่วยงานไหนที่เข้ามาดูแลชาวไร่ยาสูบโดยตรง อีกทั้งยังไม่มีการจัดตั้งกองทุนชาวไร่ยาสูบที่เป็นรูปธรรม ซึ่งส่งผลให้ชาวไร่ยาสูบต้องออกมาเรียกร้องกับรัฐบาลโดยตรงเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือปัญหาของชาวไร่ยาสูบ พร้อมกันนี้ภาคีชาวไร่ยาสูบขอเสนอให้มีการแบ่งเงินจากกองทุนต่างๆ มาดูแลชาวไร่ยาสูบอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณในการดูแลชาวไร่ยาสูบและไม่ต้องขอแบ่งเงินจากงบกลางของรัฐบาลที่จะต้องนำไปใช้ในเรื่องจำเป็นอื่นๆอีกต่อไปในอนาคต
นายสงกรานต์ ภักดีจิตร นายกสมาคมชาวไร่ยาสูบเบอร์เลย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ บอกว่า พื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เกษตรกรปลูกยาสูบหลังนามากว่า 40 ปีในพื้นที่ราว 2,000-3,000 ไร่ โดยเฉพาะใน ต.ลานบา มากที่สุด ในจำนวนนี้มีสมาชิกสมาคมชาวไร่ยาสูบเบอร์เลย์ จังหวัดเพชรบูรณ์กว่า 850 คน ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยที่ได้โควต้าปลูก โดยเฉลี่ยแล้วครอบครัวละ 3 – 10 ไร่ เพื่อป้อนวัตถุดิบให้โรงงานยาสูบ ของการยาสูบแห่งประเทศไทยและอีกส่วนหนึ่งเป็นโควต้าของบริษัทเอกชน ที่ได้รับอนุญาตจากโรงงานยาสูบ เป็นอาชีพเสริมหลังนาแต่รายได้หลักมากกว่าทำนาหลายเท่า สร้างรายได้ให้เกษตรกรอยู่ที่ดีขึ้น
“ยาสูบเป็นพืชระยะสั้นที่สร้างรายได้ที่ดี ใช้เวลาเพียง 70 วันเท่านั้น และใช้เวลาเก็บเกี่ยวใบยาสูบอีกประมาณ 30-40 วัน ก็จะหมดฤดูกาล โดยผลผลิต 1 ไร่ ขั้นต่ำมีน้ำหนักแห้งอยู่ที่ 400 กก.แปลงไหนที่ดูแลดี ผลผลิตจะสูงขึ้นเป็นไร่ละ 500-600 กก.ปัจจุบันราคาใบแห้งอยู่ที่ กก.ละ 76.10 บาท จากเดิมราคารับซื้อใบยาสูบแห้งอยู่ที่ กก.ละ 69 บาท มายาวนานเกิน 10 ปี ขณะที่ต้นทุนการผลิตประมาณไร่ละ 12,000 บาทต่อไร่ แต่มีรายได้ ไร่ละ 20,000-22,000 บาท เฉลี่ยได้กำไร่ละกว่า 10,000 บาท ดีกว่าทำนากว่าเท่าตัว” นายสงกรานต์ กล่าว
นายกสมาคมชาวไร่ยาสูบเบอร์เลย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวอีกว่า เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบเริ่มกระทบด้านรายได้อย่างต่อเนื่องเกิดมาจากปัจจัยการผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยเคขยับขึ้นเท่าตัว ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็แพง ค่าแรงก็สูงขึ้นและหายากด้วย แถมยังมากระทบกับนโยบายรัฐบาลอีกไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ภาษีสรรพสามิตยาสูบปี 2560 ทำให้ผู้บริโภคน้อยลงเพราะหันไปซื้อของเถื่อนที่มาจากต่างประเทศราคาถูกกว่าสุดท้ายลงที่เกษตรกรที่โดนลดโควาการปลูกน้อยลง ล่าสุดที่เป็นห่วงมากคือ (ร่าง) พ.ร.บ.แบนส่วนประกอบของบุหรี่ ของกระทรวงสาธารณะสุข ถ้าผ่านเป็นกฎหมายแปลว่า ต่อไปบุหรี่จะมีรสหรือกลิ่นของยาสูบอย่างเป็นธรรมชาติ จะไม่มีบุหรี่แมนทอล คนที่คุ้นเคยต้องในตลาดใต้ดินสูบบุหร่เถื่อนเพิ่มสุดท้ายกระทบกับเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบอีก
จินตนา แสงทีป
“ผมก็งงนะ รัฐบาลส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชหลังนาที่ใช้น้ำน้อย พอเกษตรกรได้โควต้าให้ปลูกยาสูบ ที่มีตลาดแน่นอน ใช้น้ำน้อย รายได้ดี แต่รัฐบาลมีมาตรการโน้น นี่ นั่น ล้วนแต่กระทบต่อเกษตรกร อย่าให้รัฐบาลทบทวนใหม่ โดย ร่าง พ.ร.บ.แบนส่วนประกอบของบุหรี่ โดยให้ตัวแทนเกษตรกรมีส่วนร่วมด้วย เพราะกระทบโดยตรง ตรงนี้แหละผมอยากถามว่า ร่าง พ.ร.บ. นี้ใครได้ใครเสีย ที่ผมเห็นที่แน่นพ่อค้าบุหรี่เถือนได้แน่นอน ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบตาย และอาจจะเลิกอาชีพนี้ไป” เขา กล่าวและว่า ภาคีชาวไร่ยาสูบในฐานะภาคยาสูบที่ต้องปกป้องอาชีพการปลูกยาสูบ ภาคีชาวไร่ยาสูบขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขนี้ ให้มีการบังคับใช้ เพราะหากมีการบังคับใช้แล้วจะส่งผลต่ออาชีพของชาวไร่ยาสูบกว่า 30,000 ครอบครัว จะต้องสูญสิ้นอาชีพในทันทีที่มีการประกาศใช้ร่างฯฉบับนี้แน่นอน (รายละเอียดในคลิป)
ด้านนางจินตนา แสงทีป เกษตรกรชาว ต.ลานบา อ.หล่มสัก บอกว่า มีอาชีพทำไร่ยาสูบมาตลอด เดิมได้โควต้าปลูก 10 ไร่ แต่นอนนี้เหลือแค่ 7 ไร่ ทำน้อยลง หลังจากที่โครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ภาษีสรรพสามิตยาสูบปี 2560 มีผลบังคับใช้ แต่ขณะเดียวกันต้นทุนสูงขึ้น จึงอย่าให้รัฐบาลมาช่วยดูแลปัญหาของไร่ยาสูบบ้าง เพราะการทำไร่ยาหลังจากใน ต.ลายบาถือว่ามีรายดีที่สุดกว่าปลูกพืชอย่างอื่นทั้งหมด เมื่อเกษตรกรกระทบจากนโยบายรัฐ ทางรัฐบาลต้องมาดูแลหามาตรการที่จะช่วยเเหลือเกษตรกรบ้าง
ขณะที่ ดร.พีนพัฒน์ วัชรินทร์วกางกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ลายบา อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ บอกว่า ในพื้นที่ ต.ลานบา มีเกษตรกรปลูกจำนวนมากกว่า 2,000 ไร่ ตนคลุกคลีอยู่กับเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบมาตั้งแต่ต้น เพราะเป็นคนในพื้นที่ และมองว่าอาชีพการปลูกยาสูบเป็นอาชีพเสริมหลังนาที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี แต่ระยะหลังเริ่มมีปัญหาขึ้นมาที่กระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่เห็นชัดคือต้นทุนสูงขึ้นมาจากราคาปุ๋ยเคมี แรงงานที่หายากราคาแพง และปัญหาด้านราคาค่อนข้างต่ำ ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับเกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรมาตลาด การออกกฎหมายบางก็เข้าใจการเป็นอยู่ในสังคมการค้าโลก แต่เมื่อรัฐบาลต้องมีมาตรการอย่างอื่น (รายละเอียดในคลิป)