“เป๊ปซี่โค”เดินหน้าสานพลังบวก pep+ทั้งธุรกิจ-หนุนการเกษตรยั่งยืนด้าน สวล.-คุณภาพชีวิต ด้วยเทคโนโลยียุคใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  

“เป๊ปซี่โค” ได้ประกาศเดินหน้ากลยุทธ์ PepsiCo Positive (pep+)  เพื่อปรับโฉมธุรกิจในทุกขั้นตอนของธุรกิจ หวังสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับโลก ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ด้วยการนำเรื่องความยั่งยืนและการพัฒนาประชากรโลกด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจและคุณค่าให้กับสังคม การเกษตรเชิงบวก  ห่วงโซ่คุณค่าเชิงบวกและทางเลือกเชิงบวก ล่าสุดพาทัพสื่อมวลชนท้าพิสูจน์ของจริง สัมผัสเกษตรกรผู้ปลูกมั่นฝรั่งป้อนโรงงาน “เลย์” ที่เวียงปาเป้า จ.เชียงราย ที่ใช้ระบบการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผสสัมผัสเกษตรกรสุดปลื้มสุดๆ ปลูกมันฝรั่งหลังนารายได้เห็นๆ ดีกว่าปลูกข้าวหลายเท่าตัว ขณะที่กงศุลให้สรัฐฯประจำเชียงใหม่ ชมเป็นบริษัทเอกชนของอเริการายใหญ่ที่สุดที่ส่งเสริมภาคการเกษตรในภาคเหนือ

สนับสนุนเกษตรแบบฟื้นฟู-เกษตรอัจฉริยะ

นายคอลิน แมทธิวส์ ผู้อำนวยกาารอาวุโสฝ่ายซัพพลายเชน  ของ PepsiCo Indochina Food บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า หนึ่งในกลยุทธ์ PepsiCo Positive (pep+) ของเป๊ปซี่โค มีเป้าหมายและแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อผืนดิน เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้านการเกษตรบนที่ดินอันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งหมด 7 ล้านเอเคอร์ทั่วโลก จัดหาพืชผลและวัตถุดิบหลักอย่างยั่งยืน และปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรกว่า 250,000 คน ในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรของบริษัท โดยการนำระบบเกษตรแบบฟื้นฟู และเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เข้ามาช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาวะทางชีวภาพของดิน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนศักยภาพให้กับเกษตรกร

คอลิน แมทธิวส์

ที่สำคัญเป๊ปซี่โค ยังได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารการจัดการน้ำและแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การใช้ระบบน้ำหยด การใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ โซล่าเซลส์ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของดิน และความเป็นไปได้ในการเกิดโรคพืชโดยการใช้โดรน เข้ามาใช้ในแปลงปลูกมันฝรั่งของเกษตรกรที่ทำงานร่วมกับบริษัท ซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอาหาร บนพื้นฐานที่คำนึงถึงการเกษตรที่ยั่งยื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

เสริมสร้างศักยภาพสตรี ในปี 2568 เท่ากับผู้ชาย

ไม่เพียงแต่การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนของภาคสังคม เป๊ปซี่โคให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียม เป๊ปซี่โคมุ่งมั่นที่จะผลักดันเรื่องความหลากหลายในที่ทำงาน โดยกำหนดเป้าหมายว่า ภายในปี 2568 พนักงานของเป๊ปซี่โคระดับผู้จัดการขึ้นไป จะต้องมีสัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชาย อยู่ที่ 50:50 เป๊ปซี่โค เชื่อมั่นในความแตกต่าง และความหลากหลาย ความหลากหลายจะนำมาซึ่งนวัตกรรม และนวัตกรรมจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีกว่า

นายแมทธิวส์  ย้ำว่า เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ถือเป็นบริษัทด้านการเกษตรที่มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำให้การทำไร่มันฝรั่งในประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันและประสบความสำเร็จของเกษตรกรไทยเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ในปัจจุบัน การทำการเกษตรกำลังเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เป๊ปซี่โคมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรร่วมกับเกษตรกรไทยเพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตของฟาร์มเพิ่มขึ้น มีความยั่งยืน และเกษตรกรและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเชื่อมั่นในความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ในการสร้างความก้าวหน้าให้กับการเกษตรของประเทศไทย

ส่งเสริมเกษตรกรไทยกว่า 4,000  ครอบครัวปลูกมันฝรั่ง

ด้านนายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และรัฐกิจ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันหลังจากที่การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสควิด -19 ทำให้สถานการณ์โลกเปลี่ยน ที่เห็นชัดเจนคือด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีความขัดแย้งสูง นอกจากนี้ความมั่นคงด้านอาหารที่องค์การสหประชาชาติคาดว่าในอนาคตอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก โดยปี 2037 เป็น 9,000 คน และจะมีความหลากลั่นของชนชั้นระหว่างผู้มีรายได้น้อยกับคนร่ำรวย ร่วมถึงปัญหาด้านมลภาวะอีกด้วย

จิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว

สิ่งเหล่านี้ทางบริษัท เป๊ปซี่โค ได้ตระหนักมาตลอดโดยเฉพาะความมั่นด้านอาหารจึงมีการสนับสนุนภาคการเกษตรกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการส่งเสริมเกษตรกรปลูกมันฝรั่งหลังนาในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคอีสานรวมพื้นที่กว่า 3.5 หมื่นไร่มีเกษตรกรร่วมโครงการกว่า 4,000 ครอบครัวในรูปแบบของเกษตรพันธสัญญาหรือคอนแรคฟาร์มมิ่ง โดยที่บริษัท เป๊ปซี่โค จะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตทั้งหมดปีละราว 80 ตัน ในราคาประกันระหว่างกก.ละ 10-14 บาท เพื่อป้อนโรงงานใน จ.ลำพูน 2 แห่งแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารขนมกรอบภายใต้แบรนด์ “เลย์” ขายในประเทศไทยและส่งอออก

พร้อมกันนี้มีการนำสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงจากเดิมเกษตรกรได้ไร่ละ 1.5 ตัน เป็น 3.5 ตันต่อไร่ ขณะที่เกษตรกรสามารถลดต้นทุนทางการผลิตได้ รวมถึงสามารถลดน้ำที่เหลือทิ้งสูญเปล่าได้เช่นเดียวกัน แต่กระนั้นยอมรับว่าการปลูกมันฝรั่งไม่ง่าย เป็นพืชชอบอากาศเย็น ต้องการน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำแฉะเกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่พอสมควร

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ผลผลิตมันฝรั่งลดน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคพืชและแมลงศัตรูเพิ่มขึ้น ทั้งยังทำให้ต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้นตลอดจนการดำรงชีวิตของเกษตรกรจะตกอยู่ในความเสี่ยงหากปราศจากความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว”  นายจิระวัฒน์  กล่าว

ปลูกมันฝรั่งรายได้ดีกว่าทำนาหลายเท่า 

ส่วนนายอานนท์  สุนทรนนท์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายเกษตรประเทศไทย บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ส่งเสริมเกษตรกรปลูกมันฝั่งหลายจังหวัด อย่างที่ อ.เวียงปาเป้า จ.เชียงราย ถือเป็นหนึ่งพื้นที่ที่เกษตรกรปลุกมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์แอตแลนติก ให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 3.5 ตัน แต่บางพื้นที่เคยพบว่าได้ไร่ละ 5 ตันปัจจุบันบริษัทรับซื้อในราคา กก.ละ 14 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไร่ละกว่า 4 หมื่นบาทขณะที่ต้นทุนไร่ละ 3 หมื่นบาท ยังได้กำไร่ละกว่า 1 หมื่นบาทถือว่ามีรายได้ดีกว่าทำนา ทั้งที่การปลูกมันฝรั่งนั้นเป็นพืชหลังนา แต่กระนั้นต้องยอมรับว่า ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานจึงมีการนำเข้าราว 30 % ของวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานทั้งหมด

สอดคล้องกับนางปัญญา ศรีมา เกษตรกรชาวบ้านดง ต.เวียงกาหลง อ.เวียงปาเป้า จ.เชียงราย บอกว่า ร่วมโครงการกับบริษัท เป๊ปซี่โค ปลูกมันฝรั่งมากว่า 20 ปีแล้วในพื้นที่กว่า 20 ไร่ยอมรับว่า มีรายดีกว่าทำนาหลายเท่า อย่างบางปีทำนาไม่ได้กำไรเลย แต่ปลูกมันฝรั่งได้กำไรไร่ละราว 1.5 หมื่นบาท อย่างปีนี้แม้ราคาปุ๋ยแพง แต่บริษัทรับซื้อในราคาแพงขึ้นกก.ละ 13 บาทก็มีกำไรไร่ละกว่า 1.5 หมื่นบาท   (รายละเอียดในคลิป)

แป๊บซี่โค เอกชนรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯหนุนเกษตรกรภาคเหนือ

ขณะที่ ลิสา เอ. บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า บริษัท เป๊ปซี่โค ถือเป็นบริษัทเอกชนของสหรัฐอเมริการายใหญ่ที่สุด ที่ส่งเสริมเกษตรกรในภาคเหนือของไทย ให้ปลูกมันฝรั่งกว่า 3 หมื่นไร่ เพื่อแปรรูปเปฺ็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทคบเคี้ยว “เลย์” จำหน่ายในประเทศไทยส่งออก ซึ่งเท่าที่ทราบมาผลผลิตทั้งหมดไม่เพียงพอต้องนำเข้าด้วย นอกจากบริษัท แป๊บซี่โค แล้วที่ส่งเสริมเกษตรกรไทย ยังมีรัฐบาลสหรัฐอเมริกาส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชอย่างอื่นหลายโครงการ ทั้งไม้ผลจำพวกไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล อาทิ พีช มันฝรั่ง ชา และกาแฟ เป็นต้น (รายละเอียดในคลิป)