มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดแปลงสาธฺตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ “สีดาทิพย์” ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง พร้อมโชว์ 40 สายพันธุ์ เชิญชวนเกษตรกรกร ผู้ประกอบการ ผู้สนใจ ให้ไปช่วยไปคัดเหลือกตามที่ชอบ ระหว่างวันที่ 13-28 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อคัดให้สายพันธุ์ที่ดีที่สุด
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ได้ดำเนินการปรับปรุงสายพันธุ์ดมือเทศสายพันธุ์ใหม่ “สีดาทิพย์” ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง ขณะนี้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง และจะเปิดตัวมีทั้งหมด 40 สายพันธุ์ ระหว่างวันที่ 13-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร โดยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน นครปฐม จึงขอิญชวนเกษตรกร ผู้ประกอบ และผู้ที่สนใจ เข้าไปชมโครงการแปลงสาธิตสายพันธุ์มะเขือเทศสีดาทิพย์ และช่วยกันคัดเลือกสายพันธุ์ที่ว่าดีที่สุดเพื่อจะดำเนิการขยายพันธุ์ต่อไป
มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ “สีดาทิพย์” ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง เป็นมะเขือเทศบริโภคผลสด กลุ่มมะเขือเทศสีดา เป็นมะเขือเทศที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากมีการใช้มะเขือเทศสีดาผลสุกเป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทส้มตา ยา และอาหารคาวหลากหลายชนิด ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน (TVRC) จึงมีการเก็บรวบรวมพันธุ์มะเขือเทศและขยายเมล็ดพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์อย่างยั่งยืน และดาเนินการพัฒนามะเขือเทศในกลุ่มนี้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการปล่อยสายพันธุ์ส่งเสริมสู่เกษตร ในชื่อ มะเขือเทศสีดาทิพย์ ตั้งแต่ สีดาทิพย์ 1 ถึงสีดาทิพย์ 4 สายพันธุ์เหล่านี้เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค แต่ข้อเสีย คือ อ่อนแอต่อโรคใบหงิกเหลือง ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลง รายได้ของเกษตรกรลดลง ดังนั้นทางศูนย์ TVRC จึงมีการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดาทิพย์ ให้ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะคล้ายพันธุ์เดิมและต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง รวมทั้งให้ผลผลิตสูงเทียบเท่าพันธุ์การค้า
ศูนย์ TVRC จึงได้จัดโครงการแปลงสาธิตสายพันธุ์มะเขือเทศ ระหว่างวันที่ 13-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กาแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน จ.นครปฐม เพื่อแสดงลักษณะของสายพันธุ์มะเขือเทศสีดาทิพย์ ที่ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง ทั้งสายพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม ซึ่งพันธุ์เหล่านี้ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองพืชพันธุ์ใหม่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เรียบร้อยแล้ว
วัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อเผยแพร่มะเขือเทศกลุ่มสีดาทิพย์พันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง จานวน 40 สายพันธุ์ (สายพันธุ์แท้ 20 สายพันธุ์ และ สายพันธุ์ลูกผสม 20 สายพันธุ์),2.เพื่อให้บุคคลากรภาครัฐ บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมประเมินความพึงพอใจต่อลักษณะพันธุ์มะเขือเทศสีดาทิพย์ใหม่ สาหรับคัดเลือกพันธุ์ดีเด่น ใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์, 3.พื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้มะเขือเทศสีดาทิพย์พันธุ์ต้านทาน เพื่อลดการใช้สารเคมี, และ 4.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาพันธุ์และใช้ประโยชน์จากพืชพันธุ์ใหม่ โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กาแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน จ.นครปฐม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ