กรมวิชาการเกษตร สั่งเจ้าหน้าที่ จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพื ช และศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรปทุมธานี ลงพื้นที่ลุยแผงรับซื้อ-ขายผักในตลาดสี่มุมเมื องย่านรังสิต เพื่อตรวจสอบกรณีมีการเผยแพร่คลิปเตื อนภัยให้ระวังอันตรายต้นหอมมี ผงสีฟ้าอยู่บนต้นคาดจะรู้ผลไม่เกิน 7 วัน
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพื ช และศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรปทุมธานี ลงพื้นที่ตลาดสี่มุมเมื องที่รังสิต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ไปตรวจสอบแผงค้าเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 หลังจากที่ทราบมาว่า มีการเผยแพร่คลิปเตื อนภัยให้ระวังอันตรายต้นหอมมี ผงสีฟ้าอยู่บนต้นโดยเมื่อเอามื อลูบแล้วมีสีฟ้าก็ติดตามมือมาด้ วย
ทั้งนี้เนื่องจากว่าแผงค้าดังกล่าวรับสินค้ าเกษตรมาจากหลากหลายจังหวัด ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้สุ่มเก็บตั วอย่างต้นหอมส่งตรวจวิเคราะห์ สารตกค้างในห้องปฏิบัติการด้ วยเครื่อง GC-MS และเครื่อง Atomic Absorption Spectrometer (AAS) ซึ่งมีผลการตรวจที่แม่ นยำของกองวิจัยพัฒนาปัจจั ยการผลิตทางการเกษตร และห้องปฏิบัติการของสำนักวิจั ยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จ.ชัยนาท เพื่อยืนยันชนิดสารและปริ มาณสารตกค้างว่าเกินค่ ามาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อผู้ บริโภคหรือไม่ คาดว่าจะทราบผลการตรวจวิเคราะห์ ภายในห้องปฏิบัติการของกรมวิ ชาการเกษตรทั้ง 2 แห่งภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วันนี้
เบื้องต้นคาดว่าสารเคมีที่ เกษตรกรนำไปใช้ในการป้องกันกำจั ดโรคใบไหม้ในต้นหอมคือแมนโคเซบ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมี คำแนะนำในการใช้ที่ถูกต้ องตามหลักวิชาการ คือ การพ่นผสมในถัง 200 ลิตร ใช้ปั๊มพ่น ที่ละ 3 ร่อง 6 หัวฉีด และเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวหลั งการฉีดพ่นสารไปแล้ว15 วัน ก่อนนำไปจำหน่ายต้องล้ างคราบของสารแมนโคเซบออกให้หมด รวมถึงผู้บริโภคก็ต้องล้างออกอี กครั้งก่อนนำไปรับประทาน ซึ่งหากเกษตรกรใช้ สารแมนโคเซบตามคำแนะนำฉลากข้ างบรรจุภัณฑ์และปฏิบัติหลั งการเก็บเกี่ยวตามคำแนะนำดังกล่ าวผลผลิตจะมีความปลอดภัยต่อผู้ บริโภค
“ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิ ภาคให้ความรู้และสร้างความเข้ าใจการใช้สารเคมีเพื่อป้องกั นกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่ถู กต้องตามหลักวิชาการให้แก่ เกษตรกรซึ่งหากเกษตรกรปฏิบัติ ตามจะไม่เกิดปัญหาสารคกค้ างในผลผลิตตามนโยบายของ นางสาวมนัญญาไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการส่งเสริมให้ เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุ ณภาพมาตรฐานความปลอดภัยทั้ งมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์พร้อมกันนี้ จะประสานให้กระทรวงสาธารณสุข ผู้ประกอบการร้านค้าจำหน่ายปั จจัยการผลิตทางการเกษตรร่วมกั นให้ความรู้และความเข้าใจที่ถู กต้องด้วย” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว