มหันตภัยร้ายจาก “ด้วงสาคู” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรยืนยันถ้าจะเลี้ยงต้องทำประชาคมหมู่บ้าน

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

“ด้วง” ทั้ง “ด้วงแรด และ “ด้วงงวง” หรือ “ด้วงสาคู” ถือว่าเป็นแมลงศัตรูพืชตระกูลปาล์มตัวร้ายสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และอินทผาลัม ที่จะมาเจาะทำลายทั้งที่โคนต้น ยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ ทำให้ใบใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลาหรือรูปพัด กรณีถูกทำลายมาก ใบที่เกิดใหม่จะแคระแกรน รอยแผลตรงบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัด หากด้วงสาคูเข้าไปวางไข่่ถ้ากำจัดไม่ทัน มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และอินทผาลัม ตายสถานเดียวเจอกับตัวเองมาแล้ว

ด้วงแรดและด้วงสาคูมักจะมาด้วยกัน คือด้วงแรดจะทำการเจาะช่วงโคนต้น คอของมะพร้าวเพื่อไปดูกินน้ำหวาน หลังจากที่ด้วงแรดออกไป จะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงสาคูเข้ามาวางไข่ ออกลูกออกเต้า กินเนื้อของลำต้นยันยอดมะพร้าว จนยอดเน่าและตายได้ในที่สุด ปัจจุบันข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร ระบุว่า มีการระบาดของด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงสาคู ถึง  84,750 ไร่ โดยเฉพาะด้วงสาคูดูเหมือนว่าจะแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง และทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากด้วงสาคูมีวงจรชีวิต 150-229้ วัน ทำให้ตัวเมียได้ออกไข่เป็นตัวหนอนหลายรอบขนาดเลี้ยงตัวเมีย 4 ตัวออกเป็นหนอนนับเป็นร้อยๆตัว และขยายไปทำลายพืชตระกูลปาล์มเสียหายอย่างมหาศาล

ที่เลวร้ายไปกว่านั้น ที่ทำให้ด้วงสาคูขยายตัวได้อย่างเร็ว เกิดจากมีการเลี้ยงเป็นแมลงเศรษฐกิจ ซึ่งหากหลุดออกมาเพียงเล็กน้อยถือเป็นมหันตภัยอย่างใหญ่หลวงต่อพืชตระกูลปาล์มเพราะจะขยายตัวได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในสวนมะพร้าวน้ำหอมที่ต้นไม่สูงและพืชเศรษฐกิจตัวใหม้คืออินทผาลัม ที่เห็นชัดในพื้นที่ภาคกลางมีการระบาดของด้วงสาคูมาอย่างรวดเร็ว แม้จะไม่มีข้อมูลว่า การระบาดอย่างรวดเร็วในภาคกลางมาจากการเลี้ยงเพื่อเป็นแมลงเศรษฐกิจก็ตาม แต่ก็พบว่ามีบางรายเลี้ยงเล่่นๆและไม่มีระบบป้องกัน พอเลิกเลี้ยงไปทำให้บางส่วนหลุดออกสู่ธรรมชาติ

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ยืนยันว่า ดวงสาคูเป็นแมลงศัตรูพืชตระกูลปาล์ม กรมส่งเสริมการเกษตรไม่เคยส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นแมลงเศรษฐกิจแต่อย่างใด นอกจากจิ้งหรีด ผึ้งชันโรง และครั่งเท่านั้น หากใครจะเลี้ยงด้วงสาคูต้องมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อน และต้องมีโรงเรือนที่มิด ที่สำคัญถ้าจะเลี้ยงในพื้นที่ปลูกพืชตะกูลปาล์มต้องผ่านประชาคมของหมู่บ้านก่อน เพราะถือว่าเป็นแมลงที่อันตรายต่อพืชตระกูลปาล์มหากหลุดออกอาจสร้างความเสียหายต่อพืชตระกูลปาล์มได้ (รายละเอียดชมในคลิป)

วิธีป้องกันกำจัดด้วงมะพร้าว

วิธีป้องกันกำจัดด้วงแรซึ่งตัวต้นที่เจาะต้นมะพร้าวนั้น ต้องแบบผสมผสาน คือ วิธีเขตกรรม ชีววิธี และการใช้สารเคมี คือวิธีเขตกรรม ให้เกษตรกรหมั่นรักษาความสะอาดและกำจัดเศษวัสดุต้นมะพร้าวบริเวณสวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ กรณีมีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย กองแกลบ ควรกำจัดออกไปจากสวนมะพร้าว หรือกองให้เป็นที่แล้วหมั่นกลับกองเพื่อตรวจดูหนอนด้วงแรดมะพร้าว ถ้าพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองนั้นทิ้งทันที ตอมะพร้าวที่ที่ยืนต้นตายนั้นให้โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผา

วนชีววิธี ให้เกษตรกรใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมใส่ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือกับดักท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ และเกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด จากนั้นรดน้ำให้ความชื้นและหาวัสดุใบมะพร้าวมาคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด ซึ่งเชื้อราเขียวเมตาไรเซียมจะเข้าทำลายในทุกระยะการเจริญเติบโตของด้วงแรดมะพร้าว

กรณีที่จะใช้สารเคมีในต้นมะพร้าวอายุ 3-5 ปีที่ยังไม่สูงมาก ให้ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6-8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว หากระบาดมาก ให้ใช้สารฆ่าแมลงสารไดอะซินอน 60% อีซี หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี ชนิดใดชนิดหนึ่ง อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15-20 วัน และควรใช้ 1-2 ครั้งในช่วงระบาด