ระเนระนาด!! สวนทุเรียนมาเลเซีย “มูซังคิง” ถูกโค่นทิ้งในรัฐปะหัง

  •  
  •  
  •  
  •  

     มีภาพนิ่งและคลิป ส่งต่อๆกันมาผ่านสื่อออนไลน์ และไลน์กลุ่มระบุว่า กรมป่าไม้ของประเทศมาเลเซีย ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปโค่นทิ้งต้นทุเรียนมูซังคิงซึ่งเป็นทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดของมาเลเซียในรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซียจำนวนมากในขณะที่กำลังออกผลผลิตอยู่

     ทั้งนี้ทางการของมาเลเซีย ระบุว่า เป็นสวนทุเรียนที่ปลูกรุกล้ำพื้นที่ป่าสงวน ในเบื้องต้นคาดว่ามีมากกว่า 650 ไร่ ทำให้การโค่นต้นทุเรียนมูซังคิงใครั้งนี้ มีปัญหาปะทะกับชาวสวนหลายราย ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กรกฏาคม 2564 เป็นต้นมา

     กระทั่งล่าสุดล่าสุดรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2564 ทางการมาเลเซียจึงต้องใช้กำลังตำรวจไปคุ้มกัน เพื่อป้องกันการปะทะอาจเกิดความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากความโกรธแค้นของชาวสวนนั่นเอง ก็ปีนี้ราคชาทุเรียนของมาเลเซีย “มูซังคิง” อาจทำให้ราคาขยับขึ้นได้

      ที่จริงทุเรียน “มูซังคิง” เป็นทุเรียนพื้นเมืองของมาเลเซียที่ชาวบ้านปลูกตามป่าติดต่อกับเทือเขาสันกาลาคีรี รอยตะเข็บติดชายแดนทางภาคใต้ของไทยในรัฐกลันตันและเคดาร์ เดิมชื่อ “รายากูหญิด” หรือ “ราชาขมิ้น” เพราะเนื้อสีเหลิองอร่ามเมล็ดลีบ เนื้อเหนียว นุ่ม ทางมาเลเซียชื่อเป็นทางการใหม่ว่า “มูซังโก” หรือมูซังโกลด์ ครั้นที่นายราจิบ ราซัค  นายกรัฐของมาเลเซียสมัยนั้น นำทุเรียนพันธุ์มูซังโก ไปฝากนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน(สมัยนั้น ราวปี 2554) ถือเป็นฤกษ์งามยามดี ทางการจีนเปิดไฟเขียวให้มาเลเซีย มีโอกาสส่งออกทุเรียนไปเข้าสู่ตลาดจีนเป็นครั้งแรกด้วย

    อีกไม่นาน นายอาห์เมด อิสชัค เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกลางด้านการตลาดสินค้าเกษตรมาเลเซีย ยืนยันกับสำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซีย (ราว 10 ปีก่อน) ว่า ปัจจุบันว่ามาเลเซียสามารถผลิตทุเรียนได้ปีละประมาณ 3.3 แสนตัน ต่อปี ที่นอกเหนือจากการจำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่นายโนห์ โอมาร เมื่อครั้งที่ดำรงแหน่งรัฐมนตรีเกษตรมาเลเซียปีเดียวกัน ยืนยันด้วยว่า มาเลเซียจะเริ่มส่งออกทุเรียนไปจีน

      เนื่องจากทุเรียนพื้นเมืองสายพันธุ์นี้เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาสัตว์ป่าโดยเฉพาะชะมด หรืออีเห็น ที่มักจะเลือกกินทุเรียนสายพันธุ์นี้ ทางมาเลเซียนเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “มูซังคิง” (Musang King)หรือราชาแมวป่า คนจีนในมาเลเซียเรียกว่า “เหมา ซาน หว่อง” บ้างเรียกเพี้ยนว่า หรือ “เหมา ซาน คิง”  และเป็นทุเรียนที่ตลาดจีนต้องการสูงมากและราคาสูงมากเมื่อเทียบกับหมอนทองของไทย ขนาดปลูกในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ขายกันในราคา กก.ละท 500 บาทตลาดภายในประเทศมาเลเซียตอนไปเมื่อ 3 ปีก่อน ขายกันในราคาท้องตลาด กก.ละ 100 -120 ริงกิต หรือราว กก.800-1,000 บาทไทย แต่รัฐบาลกำหนดราคาซื้อจากสวนอยู่ที่ 85 ริงกิต หรือประมาณ กก.ละ 660 บาท ทำให้เกษตรกรมาเลเซียหันมาปลูกทุเรียนมูซังคิงมากขึ้น บางพื้นที่โค่นสวนปาล์มน้ำมันหันมาปลูกทุเรียนมูซังคิงจนกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของทุเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ

    “มูซังคิง” มีลักษณะลูกเล็กกว่าหมอนทองของไทย เนื้อเนียน สีเหลืองเข้ม ปัจจุบันมีผู้ประกอบการตั้งเป็นซุ้ม หรือร้านเหมือนกับร้านกาแฟสด ปรากฏว่าเป็นที่นิยมในกลุ่มไซโซนิยมที่เข้าไปซื้อ จนกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของหมอนทองของไทยชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้