“ธรรมนัส” ลงพื้นที่ตรวจโครงการพื้นที่ส.ป.ก.ที่ติดชายทะเลใน จ.นราธิวาส เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ขณะที่เกษตรกรชาว อ.เทพา สงหนคร จ.สงขา โอดที่ทำกิน สวนมะพร้าว สถานประกอบการคลื้นกัดเซาะมายาวนานหลายสิบปีแล้ว เสียหายยับเยิน ทุกปี จนบางรายมีแต่โฉนดที่ดินหายไปแล้ว แต่ยังไม่มีหน่วยงานไหนยื่นมือช่วยเหลือ
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลง ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดนราธิวาส ในโครงการพิเศษด้านความมั่นคงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ณบ้านประชารัฐร่วมใจ 2 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ดำเนินงาน โครงการพิเศษด้านความมั่นคงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง นับตั้งแต่ ปี 2557 โดยใช้เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จัดซื้อที่ดินเพื่อจัดสรรให้กับประชาชนผู้ประสบภัยจากคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 50 ราย ให้มีที่อยู่อาศัยพร้อมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยผู้ประสบภัยมีการประกอบอาชีพทำประมงเพียงอย่างเดียว ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น เช่น การทำน้ำบูดู การแปรรูปสัตว์น้ำ การทำเกษตรผสมผสาน ทำให้มีรายได้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้ ภายในงาน ร้อยเอก ธรรมนัส ยังได้มอบถุงยังชีพ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พี่น้องเกษตรกร จำนวน150 ถุง ซึ่งประกอบด้วยข้าวสาร อาหารแห้งพร้อมรับฟัง และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย
ขณะที่ อ.เทพา อ.สิงหนคร จ.สงขา จากการที่ “เกษตรทำกิน” ไปสัมผัสกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ชายทะเล ที่ไม่ใช่พื้นที่โครงการของ ส.ป.ก.ต่างบอกเสียงเดียวกัรนว่า ทำกินที่เป็นมรดกเป็นส่วนมะพร้าวปลูกไว้ ถูกน้ำตลื่นทะเลกัดเซาะกินพื้นชายฝั่งมานาหลายสิบปีแล้ว สร้างความเสียจำนวนมาก บางปีน้ำทะเลรุกเข้ามา และคลื่นกัดเซาะสวนมะพร้าวลึกกินชายฝั่งหลายเมตร มะพร้าวล้มหายไปหลายแล้วจำนวนมาก รวมถึงสถานประกอบการที่พักก็ได้รับความเสียเช่นกัน (ดูในคลิป)
สภาพสวนมะพร้าวที่ ม.4 ต.เกาะบ้า อ.เทพา
นายตอเล็ะ ปิรู ชาวหมู่ 4 ต.เกาะสะบ้า อ.เทพา บอกว่า บริเวณที่หาดที่เป็นที่มรดก ถูกน้ำทะเล และคลื่นกัดเซาะชายตลิ่งมาหลายปีแล้ว ประมาณการณ์ว่าน่าจะลึกกินพื้นที่ของชาวบ้านกว่า 50 เมตร ต้นหูกวางสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน ต้นสนขนาดใหญ่ ต้นมะะพร้าวหายไป บางปีกินลึกเข้ามาในสวนมะพร้าวถึง6 เมตร มะพร้าวหายไป 2 แถวหลายสิบต้น ที่เลวร้ายชาวบ้านมีแต่โฉนด แต่พื้นที่ทำกินถูกทะเลกลืนไปแล้ว มาถึงวันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานรัฐมาช่วยเหลือแต่าอย่างใด