มก.จับมือพรีไซซฯ เดินหน้าวิจัย-พัฒนาไผ่ หวังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างอาชีพ สร้างรายได้สู่ชุมชน

  •  
  •  
  •  
  •  

มหาวิทยาลัยเกษตรฯลงนามMOU) บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่นฯ ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องไผ่ เพื่อสร้าง Innovative Cluster Addressing the Overall Supply Chain of Bamboo ให้กับผู้สนใจในกระบวนการตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการบริโภค มุ่งหวังให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน

     วันที่ 12 เมษายน 2564 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)กับ นายกิตติ สัมฤทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ไผ่เพื่อสร้าง Innovative Cluster Addressing the Overall Supply Chain of Bamboo  โดยมี ผศ.ดร.นายนิคม แหลมสัก และ นายกิตติ ณัฐชยางกุล เป็นสักขีพยานเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

      ดร.จงรัก กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นการสานต่อความร่วมมือระหว่างบริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีการศึกษาและวิจัยร่วมกันโดยอาศัยองค์ความรู้และทักษะเฉพาะทางจากทรัพยากรบุคคลของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งมีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งทรัพยากรอื่น ๆ เช่น ฐานข้อมูลสารสนเทศ เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่มีนำมาสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีการเกษตรของไผ่ เพื่อการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     หลังจากนี้จะมีการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และผลงานภายใต้กิจกรรมความร่วมมือ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านไผ่ ผ่านเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่นฯ ต่อไป อีกทั้งทางด้านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังมีแผนที่จะผลักดันให้เกิด โครงการ Bamboo Academy ในการพัฒนาไผ่ตามห่วงโซ่อุปทานในระดับประเทศ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างยั่งยืน

     ด้านนายกิตติ  เปิดเผยว่า พรีไซซฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งการผลักดันให้เกิด Bamboo Academy (ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับไผ่) ในการวิจัยพัฒนาไผ่ตามห่วงโซ่อุปทานในระดับประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างขีดความสามารถทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ รวมถึงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับผู้สนใจในกระบวนการตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการบริโภค มุ่งหวังให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน

     อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการร่วมกันวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของไผ่ ที่จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้ เพื่อสร้างและยกระดับขีดความสามารถตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเพาะปลูก กลางน้ำ คือ การแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ จนถึงปลายน้ำ คือ การบริโภค ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้และขีดความสามารถของทั้งสององค์กรในการร่วมมือกันดำเนินการเผยแพร่และนำเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาใช้

       ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิด Bamboo Academy ที่จะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์สาธารณะแก่เกษตรกร และผู้สนใจ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมภาคชุมชนในการนำไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีด้านการเกษตรใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งสร้างการเติบโตให้แก่ชุมชน แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน