พิษโควิดเกษตรกรปลูกผักที่เพชรบูรณ์อ่วม ไร้พ่อค้าซื้อผผลผลิต เกษตร-พาณิชย์จังหวัดหาช่องทางแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง

ส่งเสริมการเกษตร สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาผลผลิตพืชผักล้นตลาด พบว่าเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้พ่อค้าคนกลาง ลดจำนวนการซื้อลง ล่าสุดประสานพาณิชย์จังหวัด หาช่องทางระบายสินค้าต่อไป

        ตามที่มีข่าวว่า เกษตรกรในพื้นที่ จ.เพชชรบูรณ์ ประสบปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ โดยเฉพาะมะเขือไม่มีผู้รับซื้อ จนเจ้าของสวนขาดทุนอย่างหนัก ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหานั้น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเกษตรกรในพื้นที่พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ปลูกผัก จำนวน 64,474 ไร่ และอำเภอหนองไผ่ มีพื้นที่ปลูกผัก จำนวน 2,655 ไร่ เกษตรกร จำนวน 402 ราย (ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร 2563) ส่วนสถานการณ์ราคาพืชผักในช่วงนี้ พบว่า เกษตรกรมีการปลูกจำหน่าย แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงทำให้พ่อค้าคนกลาง ลดจำนวนการซื้อลง ทำให้ไม่รับซื้อจากเกษตรกร

     นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยสามารถปลูกพืชผักได้ทุกภูมิภาค และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี จากข้อมูลระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า พืชผักเศรษฐกิจที่ปลูกในประเทศไทยมีประมาณ 80 ชนิด พื้นที่ปลูกประมาณ 1.4 ล้านไร่ การผลิตพืชผักของประเทศไทย ส่วนใหญ่เกษตรกรจะมีการปลูกพืชผักสลับหมุนเวียนกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศ และปริมาณน้ำในแต่ละช่วง    โดยเฉพาะพืชผักส่วนใหญ่สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาค และมีอายุสั้น อย่างผักทานใบ ประมาณ 30 – 45 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

     สำหรับพื้นที่ปลูกพืชสำคัญ เช่น พริก แหล่งผลิตที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ (ส่วนใหญ่พบในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี หนองคาย นครพนม แพร่ น่าน เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก) หน่อไม้ฝรั่ง แหล่งผลิตที่สำคัญ ภาคตะวันตก (ส่วนใหญ่พบในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี) ปัจจุบันมี จังหวัดเพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ปลูกหน่อไม้ฝรั่งเพิ่มมากขึ้น แต่หากเป็นพวกผักใบ ผักสวนครัวต่างๆ จะมีในทุกจังหวัด มากน้อย ต่างกันไป

       ส่วนกกรณีที่เกิดปัญหาราคาตกต่ำที่ จ.เพชรบูรณ์ ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ประสานงานกับพาณิชย์จังหวัด ในการหาช่องทางการระบายสินค้าเพิ่มเติมพร้อมลงพื้นที่ช่วงเกษตรกรวิเคราะห์การปลูกผัก เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป.