ดลมนัส กาเจ
นึกถึงคำพูดของ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และนายกสมาคมเกษตรปลอดภัย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2563 ว่า ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้ ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบพืชปลูกเสียหาย ตายเรียบ ที่จากคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ที่มีแรงเชียร์จากเอ็นจีโอ ผลักดันให้เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช “กลูโฟซิเนต” หลังที่แบนสาร พาราควอต และจำกัดการใช้ ไกลโฟเซต
ทั้งนี้เนื่องจากว่า เมื่อเกษตรกรนำใช้ฉีดกำจัดวัชพื้นตามที่แนะนำ ทำให้พืชเศรษฐกิจที่ปลูกเสียหาย บางอย่างพืชที่ปลูกตาย บางอย่างที่ไม่ตายเลี้ยงไม่โต เพราะสารเคมีที่มีพิษดูดซึม ขณะที่วัชพืชที่ถูกฉีดได้แค่สลบ พอเวลาผ่านไปมีฝนตกก็ฟื้นกลับมาอีก
สภาพหลังฉีดพ่นหญ้าฟื้นอีก
มาเจอกับตัวเองแล้วครับที่สวนแสวงหา ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ที่ได้ทดลองปลูกมะพร้าวน้ำหอมกว่า 100 ต้นสลับกับพืชอย่างอื่น แบบขุดร่อง ซึ่งในร่องน้ำกว้าง 2-3 เมตรลึกเมตรครึ่งปล่อยปลาหลาย เวลาวัชพืชขึ้นก็ให้น้องๆญาติๆช่วยฉีสารเคมีกำจัดวัชพืช ช่วงแรกๆใช้พาราควอตก็โอเค สามารถจำกัดได้ตามที่ต้องการ เพราะไม่กระทบกับพืชอื่นที่ลำต้นไม่ใช่สีเขียว และปลาที่เลี้ยงไว้ในบ่อก็ไม่ตายซึ่งปกติในสวนจะใช้สารเคมีเฉพาะกำจัดวัชพืชเท่านั้น จะไม่ใช้สารเคมีชนิดอื่น
ตอนที่ใช้พาราควอต
หลังจากที่สารพาราตวอตโดนแบน ก็ให้น้องๆใช้สารชนิดอื่นแทน เกษตรกรที่นั่นบอกว่า มีคนแนะนำให้ใช้สารตัวใหม่ กลูโฟซิเนต พอไปซื้อมาราคาแพงหลายเท่าตัว ที่สำคัญพอมาใช้แล้ว วัชพืชประเภทหญ้าตายช้า บางสวนไม่ตาย แค่สลบ พอฝนตกฟื้นขึ้นมาอีก ขณะที่พืชผักอย่างอื่นที่เป็นพืชผักสวนครัวที่ปลูกแซม ต้นอ่อนกว่าหญ้า กลับตาย บางส่วนพลอยสลบด้วย ฟื้นขึ้นมาก็ไม่โต
ใบมะพร้าวที่เหลืองและไหม้ต้องตัดทิ้ง
เป็นที่สังเกตอย่างหนึ่งคือใบมะพร้าวซึ่งต้นยังเตี้ยอยู่ใบช่วงล่วงเป็นสีเหลืองราวกับเป็นโรคใบเหลือง ทำให้น่าสงสัยว่า มาจากการฉีดสารกลูโฟซิเนตด้วยหรือไม่ แม้จะไม่กล้ายืนยัน แต่ก่อนหน้านั้นไม่เคยเป็นมาก่อน (รายละเอียดในคลิป)