พายุโซนร้อน “โซเดล” จ่อถล่มไทยอีก เตือน 5 จังหวัดภาคอีสาน “นครพนม-สกลนคร-มุกดาหาร-อานาจเจริญ –อุบลราชธานี” จะมีฝนและลมแรงช่วงวันที่ 25-26 ตุลาคม 2563 นี้ ขณะที่อิทธิพลของดีเปรสชัน ช่วงที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน เกษตรกร ประชาชนทั่วไทยกระทบถึง 32 จังหวัด พื้นที่การเกษตรเสียหายถึง 640,209 ไร่ พืชไร่หนักสุด 302,168 ไร่ ตามด้วยนาข้าว 279,483 ไร่ เกษตรกรเดือดร้อนกว่า 9.5 หมื่นรายใน 17 จังหวัด ด้านประมงอีก 9 จังหวัด
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานถึงสภาพอากาศล่าสุดว่า ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุโซนร้อนกาลังแรง “โซเดล” (พายุระดับ 4) ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2563 เมื่อเวลา 4.00 น. วันนี้ (25 ตุลาคม 2563) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนโดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเกาะไหหลา ประเทศจีน ไปทางใต้ประมาณ 115 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 17.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.7 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กาลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วลมประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 25-26 ตุลาคม 2563 หลังจากนั้นจะอ่อนกาลังลงตามลาดับ ส่งผลทาให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนกับมีลมแรง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อานาจเจริญ และอุบลราชธานี
ส่วนสถานการณ์อุทกภัย น้าไหลหลาก น้าเอ่อล้นตลิ่ง และวาตภัย จากอิทธิพลพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทาให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้าไหลหลาก น้าเอ่อล้นตลิ่ง และวาตภัย ช่วงวันที่ 7 ต.ค.63 – ปัจจุบัน จานวน 32 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 19 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาแพงเพชร ปราจีนบุรี ชลบุรี สระแก้ว สิงห์บุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำหรับผลกระทบด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค.63) ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สตูล สุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง เกษตรกร 95,146 ราย พื้นที่ 640,209 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 279,483 ไร่ พืชไร่ 302,168 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 58,558 ไร่ อยู่ระหว่างสารวจความเสียหาย
ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ราชบุรี กาญจนบุรี สระบุรี เพชรบุรี สระแก้ว กระบี่ สตูล และจังหวัดตรัง เกษตรกร 723 ราย พื้นที่ (บ่อปลา) 682 ไร่ กระชัง 2,215 ตรม. อยู่ระหว่างสารวจความเสียหาย
ขณะที่ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ กาญจนบุรี เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีชันธ์ เกษตรกร 1,096 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 80,663 ตัว แบ่งเป็น โค – กระบือ 12,444 ตัว สุกร 3,892 ตัว แพะ – แกะ 941 ตัว สัตว์ปีก 63,386 ตัว แปลงหญ้า 60 ไร่ อยู่ระหว่างสารวจความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้การช่วยเหลือมาระดับหนึ่งแล้ว กล่าวคือ กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสูบน้า 138 เครื่อง เครื่องผลักดันน้า 96 เครื่อง รถแบคโฮ 15 คัน รถเครน 1 คัน รถบรรทุก 8 คัน กระสอบทราย 500 ใบ
กรมปศุสัตว์ จัดเตรียมเสบียงอาหารสัตว์ 5,600 ตัน ถุงยังชีพสาหรับสัตว์ 3,000 ถุง คอกสัตว์สาหรับตั้งจุดอพยพสัตว์ 30 ชุด และทีมสัตวแพทย์เคลื่อนที่ 325 หน่วย ได้ดาเนินการอพยพสัตว์แล้ว 4,082 ตัว แจกจ่ายเสบียงอาหารสัตว์พระราชทาน 39.2 ตัน (นครราชสีมา 12 ตัน เพชรบุรี 5.2 ตัน ประจวบคีรีขันธ์ 12 ตัน สระแก้ว 1 ตัน) สร้างเสริมสุขภาพสัตว์ 4,471 ตัว รักษาสัตว์ 19 ตัว และถุงยังชีพสาหรับสัตว์ 102 ถุง สนับสนุนเรือตรวจประมงน้าจืด จานวน 3 ลำ นอกจากนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมเยียนและประเมินความเสียหายหลังน้าลด และได้แจกข้าวกล่อง 1,026 กล่อง ถุงยังชีพ 100 ชุด