เสียงสะท้อนจากท้องทุ่ง คอนเฟิร์ม..เกษตรกรยุคใหม่ จะไม่มีคำว่า”หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน”อีกแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

       “หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน” เป็นสำนวนไทยที่ 58 เป็นการเปรียบเทียบถึงอาชีพของเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ ต้องตรากตรำ ทำงานหนัก เอาหลังต้องสู้ฟ้ารับแดด และหน้าต้องก้มลงสู่ดิน

            หลายปีดีดักที่คนทั่วไปถูกฝังลึกในมโนสำนึกแห่งความรู้สึกจากผู้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ว่า อาชีพการเกษตรนั้นเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนัก รายได้น้อย และอยู่ในวังวนของความยากจน ทำให้คนวัยหนุ่ม-สาวรุ่นใหม่ต้องทิ้งท้องทุ่ง สู่สังคมเมืองอยู่ในภาคอุตสาหกรรม เหลือแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไร้ทิศทางจะไปหากินอย่างอื่น ที่ยังอยู่เป็นแรงงานภาคการเกษตร

            ทว่า ….กาลเวลาเปลี่ยนไป โลกเปลี่ยน ภาคการเกษตรเปลี่ยน จากที่อาชีพการเกษตรต้องใช้แรงงานคน กลับมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำงานแทน ทำให้คนที่เคยเอาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน กลายเป็นหน้าที่ของเรื่องจักรกลมาทำงานแทน ทำงานได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ผลงานมีคุณภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนลดลง จากเดิมชาวนาคือเกษตรกรเต็มขั้น กลายมาเป็นผู้ประกอบการผลิตข้าวแทน

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด (ที่ 4 จากซ้าย)  พร้อม นางบุญเลิศ ปราบภัย  (ที่ 5 จากซ้าย) เปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – หนองผักบุ้ง” โดย นายสาคร รุ่งเรือง รอง ผวจ.เพชรบูรณ์ (ที่ 3 จากซ้าย) เป็นประธาน

         ที่เห็นชัดเจนที่บ้านหนองผักบุ้ง ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้านเกือบ 100 % มีอาชีพเป็นเกษตรกรทำนาข้าว บางปีต้องประสบกับภัยธรรมชาติทั้งน้ำท่วม และภัยแล้งซ้ำซากปีแล้วปีเล่า เด็กรุ่นใมหม่วัยหนุ่ม-สาวทิ้งถิ่นอพยพไปแรงงานตามหัวใหญ่ บ้านที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยกลายเป็นบ้านร้าง เกษตรกรที่ยังอยู่ต้องต่อสู้ หาหาแนวทางในการที่จะพัฒนาภาคการเกษตร เพื่อความอยู่รอดและความยากจน จึงมารวมตัวตั้ง “กลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา” เริ่มจากหาวิธีจัดการแหล่งน้ำ เปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่อายุสั้น หาพันธุ์พืชปลูกหลังนา

         ความพยายามของชาวหนองผักบุ้ง จนบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เห็นความตั้งใจของชาวบ้าน จึงเข้ายื่นมือเข้าใช้เหลือภายใต้ โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า หรือ SIAM KUBOTA Community Enterprise (SKCE) รวมกับกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา เนรมิต “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง” ขึ้นมา เมื่อปี 2559 เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบบริหารจัดการน้ำ ชูการเพาะปลูกด้วยระบบ KUBOTA (Agri) Solutions เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต สร้างชุมชนเกษตรที่ยั่งยืน

         สำหรับการเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรที่บ้านหนองผักบุ้งของบริษัท สยามคูโบต้าฯนั้น เน้นเปลี่ยนทัศนคติในการทำเกษตรแบบใหม่ ด้วยการให้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับทำอาชีพการเกษตร ตั้งแต่การจัดหาและบริหารจัดการแหล่งน้ำ การวิเคราะห์ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การใส่ปุ๋ยตามที่พืชต้องการ และการใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคน และส่งเสริมปลูกพืชหลังนา จนวันเวลาผ่านไปไม่นานนัก สภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรเริ่มมีความอยู่ดีกินดีขึ้น  มีรายเพิ่มอย่างเห็นชัดเจน ทำให้แกนนำของชาวบ้านสุดปลื้มสุด ทำให้ภาคเการเกษตรได้เปลี่ยนสู่ยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถดึงคนหนุ่ม-สาวกลับถิ่นมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่มากขึ้น

           นางบุญเลิศ ปราบภัย ประธานกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา บอกว่า หลังจากที่บริษัทสยามบู้โบต้าฯมาช่วยเหลือ ด้วยการนำเทคโนโลยีและแนวทางการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย มาปรับปรุงการปลูกพืชหมุนเวียน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการเรียนรู้ระบบจัดการน้ำและสร้างแหล่งเก็บกักน้ำในชุมชนเพื่อทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองได้ นอกจากช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกตลอดทั้งปีแล้ว วันนี้กล้ายืนยันว่า อาชีพการเกษตรไม่เหนื่อนเหมือนสมัยก่อน และไม่มีคำว่า อาชีพเกษตรกร ต้องเอา “หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน” อีกแล้ว (ฟังในคลิป)

            สอดคล้องกับการยืนยันของ นางสาวสาวิตรี จันทวิวัฒน์ เกษตรกรรุ่นใหม่ของหมู่บ้านหนองผักบุ้ง บอกว่า หลังจากที่เรียนจบระดับ ปวช.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)ที่เพชรบูรณ์แล้ว ตั้งใจอยาเป็นครู ไปเรียนต่อคณะครุศาสตร์ ในกรุงเทพฯ แต่เรียนไม่จบ จึงกลับมาบ้านนึกไม่ออกว่าจะทำอาชีพอะไร เพราะทำอะไรไม่เป็น พอเห็นสยามคูโบต้าเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรในหมู่บ้าน มีการนำเทคโนโลยี เครื่องจักรกลมาใช้ จึงมองว่า อาชีพเกษตรไม่ใช่อาชีพที่หนักอย่างที่คิด เพียงแต่ในอดีตเกษตรกรเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี (รายละเอียดในคลิป)