ฮือฮา“โอฉี”ทุเรียนจากปีนัง กำลังมาแรงที่เบตงขาย กก.ละ 500 บาท

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

กำลังฮือฮาในวงการทุเรียนที่ อ.เบตง จ.ยะลา หลังจากที่ทุเรียนพันธุ์ “โอฉี” หรือ”หนามดำ” ทุเรียนมาเลเซียที่ปลูกมากที่สุดรัฐปีนัง หลังจากชนะเลิศในการประกวดในมาเลเซียถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกมากขึ้น เพราะราคาแพงขายกันที่สวนในราคา กก.ละ 500 บาท

            นายธีวัฒน์ เดชมณีนิล เจ้าของสวนทุเรียนที่บ้านบ่อน้ำร้อน ต.นาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา เล่าว่า มีสวนทุเรียนกว่า 60 ไร่ได้เก็บผลผลิตแล้วกว่า 10 ไร่ มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์มากที่สุดคือหมอนทอง มูซังคิง พวงมณี และที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือ “โอฉี”(Ochee) หรือหนามดำ (Black  Thorn) หลังจากทราบว่าว่ามีการประกวดในประเทศมาเลเซียได้ชนะเลิศมา 3 ปีซ้อนทำให้ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด ราคาซื้อขายกันในสวน กก.ละ 500 บาท ปัจจุบัน มีการปลูกใน อ.เบตง ที่เก็บผลผลิตแล้วไม่น่าจะเกิน 500 ต้น ที่ราคาแพงเพราะมีน้อย คนอยากทดลองชิม ราคาจึงแพงนั่นเอง

            นายธีวัฒน์ บอกอีกว่า ทุเรียนพันธุ์โอฉีเป็นพันธุ์จากมาเลย์ จากรัฐปีนัง มีคุณสมบัติพิเศษคือผลสุกจากต้นร่วงลงมาแล้วกว่าก้นจะแตกใช้เวลา 3-4 วัน พอมีเวลาขายได้ รูปทรงของผลค่อนข้างกลม มีก้นเป็นแฉก5 แฉก คล้ายราชาทุเรียนมาเลเซีย “มูซังคิง” แต่รอยแฉกไม่ค่อยชัดเจนนัก ตรงกลางแฉกมีหนามสีดำ น้ำหนักผลละ 2-3 กก.เปลือกบาง เนื้อแห้ง ไม่แฉะ ละเอียดสีดอกจำปา รสหวานแหลม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (รายละเอียดตามคลิป)

           จากการดูข้อมูลทราบว่า ทุเรียนชนิดนี้มาจากที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรของประเทศมาเลเซีย ที่ใช้ความพยายามพัฒนาสายพันธุ์มานานกว่า 20 ปี จนได้ทุเรียนจำนวนหลากหลายสายพันธุ์ และมีสายพันธุ์ที่ดีตั้งตั้งชื่อว่า “โอวฉี” เป็นภาษีจีน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “หนามดำ” หรือ Black  Thorn นำที่รัฐปีนังเพื่อเก็บผลสุกรับประทานในครัวเรือน

         ทุเรียนพันธุ์ โอวฉีถือเป็นทุเรียนพันธุ์เบาปลูก 5 ปี ออกผลผลิตแล้ว แต่นายธีวัฒน์ บอกว่า นับตั้งแตกดอกร่วงติดผลกว่าจะสุกได้ใช้เวลาราว 140-145 วัน ทุเรียนหมอนทอง 120 วัน แต่มูซังคิงราว 90-100 วัน  

                                                       เปรียบเทียบด้านซ้ายมือมูซังคิงเมล็ดลีบ ด้านขวาโอฉี

      อย่างไรก็ตาม บางข้อมูลระบุว่า ทุเรียนพันธุ์โอฉี่ หรือหนามดำมีการปลูกกันมากที่สุดรองลงมาจากทุเรียนสายพันธุ์ “มูซังคิง” (รายากูหงิด)” หรือ “เหมา หวาน หวาง” ในรัฐปีนังและรัฐกลันตัน ของมาเลเซีย ว่ากันว่า เกิดจากการที่ นายเหลียว เชือก เกี๋ยง หรือมิสเตอร์เกี๋ยง ปลูกเมื่อ 30 ปีก่อนไปปลูกจนต้นโตติดผลดกเต็มต้น มีทรงผลสวย เปลือกบาง เนื้อเยอะ แต่กระนั้นเมื่อเทียบกับมูซังคิงแล้ว ถือว่าเมล็ดยังโต เนื้อน้อยกว่าด้วย

สนใจ “มูซังคิง” สอบถามได้ที่ 081-554-6816