ปุ๋ยแพงมาทำปุ๋ยละลายช้าแบบง่ายๆ สไตล์ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ถูกกว่ากันเยอะ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…มนตรี บุญจรัส

         ปุ๋ยเคมี (Fertilizer) ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะละลายออกมาอย่างรวดเร็วเมื่อโดนหรือสัมผัสน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนหรือน้ำที่สาดราดรดมาจากน้ำมือของมนุษย์โดยการใช้เครื่องจักรหรือจากตะบวยแบบเก่าก่อนก็ตาม ปุ๋ยที่ละลายรวดเร็วรากพืชไม่สามารถที่จะดูดจับ(Absorb) ซับกินได้ทัน รากพืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ประมาณ 20 – 30 % ส่วนที่เหลือก็จะสูญสลายหายไปกับสายลม อากาศและแสงแดด

         จะทำอย่างไรให้ปุ๋ยอยู่กับพืชไปนานๆ และเขียวนานเขียวทนเนื่องด้วยปุ๋ยมีราคาแพง!!

 เชื่อว่าเกษตรกรหลายคนอยากจะแก้ปัญหานี้ก่อนจะไปตรงจุดนั้นต้องดูกันเสียก่อนนะครับว่าทำไมเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วพืชจึงสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่นาน หลังจากนั้นก็ทำท่าอิดโรย ขาดอาหาร ใบเหลืองซีด

         ปัญหาดังกล่าวทำให้มีคนคิดเรื่องการผลิตปุ๋ยละลายช้าออกมาจำหน่าย ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีชื่อลงท้ายด้วยคำว่า “โค๊ท”

         อะไรที่ลงท้ายด้วย “โค๊ท” ก็จะรู้กันทันทีว่าคือปุ๋ยละลายช้าแต่ปัญหาของเกษตรกรมืออาชีพที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ ใหญ่กว่าเกษตรกรในเมืองที่เพาะปลูกในกระถางเพียงไม่กี่ต้น และมีเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อจึงไม่เดือดร้อนกับการซื้อปุ๋ยละลายช้าที่มีราคาแพง  แต่ถ้าเกษตรกรตามหัวไร่ปลายนานำมาใช้เห็นทีจะต้องทำนาปลูกข้าวไปอีกหลายปีกว่าจะได้กำไรคืนทุนกลับมา

         ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้ปุ๋ยเคมีทั่วไปที่ละลายง่ายกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า เพื่อพี่น้องเกษตรกรโดยทั่วไปจะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

         ชมรมเกษตรฯ จึงได้มีการศึกษาคุณสมบัติจากหินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ ,สเม็คไทต, พูมิช, ม้อนท์โมริลโลไนท์, ไคลน็อพติโลไลท์) ที่โดดเด่นในเรื่องของการมีความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุ (Cation Exchange Capacity) ค่อนข้างดี สะดวกและหาง่ายกว่าวัสดุอีกหลายชนิดเมื่อนำมาคลุกผสมกับปุ๋ยเคมีทั่วไปในท้องตลาด เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-20-0, 8-24-24, 25-7-7 ฯลฯ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อ 5 ส่วน ช่วยทำให้ปุ๋ยเคมีทั่วในท้องตลาดกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ ราคาประหยัด และสามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานมากนัก

        เมื่อนำปุ๋ยเคมีเหล่านี้คลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ (Zeolite, Volcanic Rock) จึงทำให้ปุ๋ยที่ละลายเร็ว เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า เปรียบเหมือนกับคอยทำหน้าที่เป็นตู้เย็นให้กับพืช พืชหิวก็เปิดตู้เย็นกิน อิ่มก็ปิด แต่สารอาหารยังคงอยู่ ไม่สูญสลายหายไป เหมือนเมื่อตอนแรกที่ยังไม่คลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ

       การทำปุ๋ยละลายช้ายังสามารถช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าแรงประมาณ 50% ในขณะที่ผลผลิตยังคงเดิมนอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงความเสื่อมโทรมของดิน และปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุอาหารตามระยะความต้องการของพืช ซึ่งปุ๋ยจะค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา จะช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไป ลดความเสี่ยงจากภาวะที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรก และพืชอาจได้รับปุ๋ยน้อยเกินไปช่วงหลัง จากการที่สารอาหารถูกชะล้างไปลึกกว่าระดับรากพืช จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งพืชก็จะขาดสารอาหารได้

       ดังนั้นเกษตรกรสามารถลดปัญหาปุ๋ยแพงด้วยการทำปุ๋ยละลายช้าแบบง่ายๆ สไตล์ชมรมเกษตรปลอดสารพิษโดยไม่ต้องกลัวว่าเมื่อเป็นปุ๋ยละลายช้าแล้ว พืชจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่อันนี้ก็เป็นความเชื่อที่ผิดเพราะว่าคำว่า “ละลายช้า” ไม่ได้แปลว่า “ละลายยาก” นะครับ ละลายยากนี่คือปุ๋ยที่ไปเอาดินเหนียว อิฐ หิน ปูน ทรายมาผสม จึงทำให้เมื่อเวลารดน้ำแล้วสสารของปุ๋ยละลายหายไป แต่ที่เหลืออยู่คือดินหรือ อิฐ หิน ปูน ทรายนั่นเอง สงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02 986 1680 – 2