ดัน 5 พืชเศรษฐกิจหลักเข้าสู่การตลาดนำการผลิตดีเดย์ทันที่ตุลาฯนี้

  •  
  •  
  •  
  •  

กระทรวงเกษตรฯ เดินหน้ายกระดับผลผลิต – บริหารจัดการน้ำ ประกาศเพิ่มสินค้าเป้าหมาย 5 ชนิด ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สานต่อนโยบายตลาดนำการผลิต ภายใต้งบประมาณปี 2562 เริ่มตุลาคมนี้

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2562 ที่จะเริ่มต้นในเดือนตุลาคมนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้รับการจัดสรรจำนวน 111,762 ล้านบาท จำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบุคลากรภาครัฐ จำนวน 25,492 ล้านบาท 2) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายของกระทรวง/หน่วยงาน (Function) จำนวน 25,021 ล้านบาท 3) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) จำนวน 53,366 ล้านบาท และ 4) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ (Area) จำนวน 7,882 ล้านบาท

[adrotate banner=”3″]

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังเน้นสานต่อนโยบายตลาดนำการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างความเป็นธรรมด้านราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เน้นดำเนินการ 2 เรื่องหลัก คือแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และการบริหารจัดการ น้ำ วงเงินรวม 51,631 ล้านบาท แบ่งเป็นแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร 7,460 ล้านบาท เน้นการบริหารจัดการ สินค้าเกษตร (Product Base) และให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางพัฒนา (Farmer – Center) ส่วนการบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 44,171 ล้านบาท ใช้เพื่อจัดหาแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน และบรรเทาปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 213,813 ไร่

สำหรับส่วนแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร วางเป้าหมายบริหารจัดการสินค้าเกษตร (Product Base) 5 รายการคือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา + 4 plus (สับปะรด มะพร้าว ปศุสัตว์ ประมง) ดำเนินการพัฒนาศักยภาพ กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความ ต้องการของตลาด และการแปรรูปสินค้าเกษตร มี 5 โครงการสำคัญ ดังนี้ 1) โครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 2) โครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร 3) โครงการยก ระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร 4)โครงการพัฒนาศักยภาพ กระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร และ 5)โครงการพัฒนาตลาดสินค้า เกษตร 400 แห่ง

ส่วนแผนงานเกษตรกรเป็นศูนย์กลางพัฒนา (Farmer – Center) มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กลไกศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเครือข่าย รวมทั้งพัฒนา ศักยภาพสถาบันเกษตรกรรูปแบบประชารัฐ ด้วยระบบส่งเสริม การเกษตรแปลงใหญ่ การปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่ เหมาะสมตาม Agri – Map เพื่อพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยมี โครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ของสหกรณ์ภาคการเกษตร/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 350 แห่ง โครงการ ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 4,608 แปลง โครงการ บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหาร จัดการเชิงรุก (Agri – Map) และโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน 709,390 ไร่

นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า ปีงบประมาณ 2561ที่ผ่านมา พืชเป้าหมายที่กระทรวงเกษตรฯจะใช้สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกเพื่อนำร่องมี 3 ชนิด เพราะปริมาณไม่เพียงพอต่อการปริโภค ผู้ผลิตในประเทศต้องนำ เข้าปีละหลายหมื่นล้านได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่ว เหลือง โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไทยยังมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความ ต้องการในประเทศ แต่ละปีต้องนำเข้าประมาณ 3 ล้านตัน ภาครัฐ สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ด้วยการส่งเสริมปลูกข้าวโพดทดแทน ข้าวนาปรัง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดในพื้นที่เดิมที่ปลูกอยู่ ประมาณ 6 ล้านไร่

ส่วนมันสำปะหลังยังมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใน ประเทศ ในแต่ละปีต้องนำเข้ามาประมาณ 13.51 ล้านตัน ภาครัฐ สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่เดิมที่ ปลูกอยู่แล้ว 8.29 ล้านไร่ และถั่วเหลืองยังผลิตไม่เพียงพอต่อความ ต้องการในการใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยในปี 2560 ต้องนำเข้า 2.75 ล้านตัน ภาครัฐสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตโดยการส่งเสริมให้ เกษตรกรทำการผลิตในพื้นที่เหมาะสมทั้งในพื้นที่หลังนาและพื้นที่ใหม่