ทุเรียนคู่…หลุมเดียว 2 ต้น ทุนเท่าเดิมกำไรเพิ่ม 30%

  •  
  •  
  •  
  •  


ขณะที่วงการผู้ปลูกทุเรียนมีการถกเถียงด้านการข้อมูว่า การปลูกทุเรียนที่ดีที่สูตรแบบระยะห่างที่ปลูกกันแบบคั่งเดิมคือ 8×8 เมตร หรือตามหลักระยะชิดของกรมวิชาการเกษตรแบบ 7×4 เมตร แต่ข่าวเกษตร “ไทยรัฐ” ได้ข้อเสนอข้อมูของเกษตรกรที่ จ.ระยองป ลูกทุเรียนแบบหลุมคู่ น่าสนใจ

ข่าวเกษตรไทยรัฐ ระบุว่า “เดิมพื้นที่ 22 ไร่ ปลูกทุเรียนเหมือนทั่วไป แต่ช่วงหลังอากาศแปรปรวน ลมพัดแรงไม้ค้ำกันล้มเอาไม่อยู่ ปี 2554 ได้รับคำแนะนำจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 3 จ.ระยอง ให้ทดลองปลูกทุเรียนต้นคู่ จึงเริ่มทดลองทำ ได้ผลเป็นอย่างดี ต้นทุนใกล้เคียงกับการปลูกทั่วไป แต่ได้ผลผลิตเพิ่มอีกกว่า 30%”

ธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ต.ตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนภาคตะวันออก ปี 2561 เล่าถึงที่มาจุดเริ่มต้นปลูกทุเรียนต้นคู่ หรือปลูก 2 ต้นในหลุมเดียวกัน…เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแต่โบราณ ปลูก 2 ต้น เผื่อชดเชยหากอีกต้นตายไป
แต่ถ้าไม่ตาย ผลลัพธ์ที่ได้ รากของ 2 ต้นจะทำหน้าที่ช่วยยึดประสานทำให้โค่นล้มยาก ทนแรงพายุได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นไม่โทรม ฟื้นฟูได้เร็ว เพราะรากทุเรียนแทนที่จะหาอาหารแย่งกันเอง กลับเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน…ต่างจากพืชชนิดอื่น ปลูกใกล้กันมักแย่งอาหารกันเอง

ธีรภัทร อธิบายถึงวิธีปลูก…ต้องปลูกแบบยกโคก เพื่อลดปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และเอื้อต่อการจัดการออกดอกติดผลและดูแลรักษาแต่ละโคกควรมีขนาด 8×8 ม. สูง 1.20 ม. หลุมปลูกกว้าง 4-6 ม. ลึก 30 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 12 เมตร
ใน 1 หลุม ลงทุเรียน 2 ต้น ห่างกัน 1 เมตร ในแนวทิศเหนือกับทิศใต้ เพื่อให้ทั้ง 2 ต้น ได้รับแดดตลอดวัน…พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 30-32 ต้น (ปลูกแบบเดิมได้ 15-25 ต้น)

หลังลงต้นทุเรียนแล้ว โรยปุ๋ยอินทรีย์หรือขี้ไก่อัดเม็ด 1 กำมือ ห่างโคนต้น 1 คืบ แล้วให้ปุ๋ยปริมาณเท่าเดิมเดือนละครั้ง ใช้ฟางข้าวหรือหญ้าแห้งคลุมรักษาคว

การดูแลไม่ต่างจากทุเรียนทั่วไป แต่ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งให้แผ่ออกด้านข้างไม่ให้กิ่งเบียดกัน ข้อควรระวัง …ระยะแทงตาดอกควรให้น้ำเฉพาะภายในทรงพุ่ม ถ้าให้รอบปลายทรงพุ่มดอกจะเปลี่ยนเป็นใบอ่อนแทน และระยะดอกบานควรให้น้ำน้อยลง เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน ที่สำคัญจะไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะทุเรียนเป็นพืชระบบรากตื้น อ่อนแอต่อสารเคมี จึงปล่อยให้หญ้าคุมแปลงตัดให้เตียนเมื่อถึงฤดูฝน เพราะหญ้าจะโตเร็วมาก


จะให้ได้ผลผลิตดี ธีรภัทร แนะนำหลังเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่ห้อยชี้ลงดิน เพื่อให้แดดส่องถึงใต้ต้น และเมื่อถึงระยะแตกใบอ่อน 2-3 ชุด ให้อาหารทางใบเสริมเพื่อสะสมอาหาร ที่สำคัญระยะใบอ่อนชุดที่ 3 ให้ใช้สารแพคโคบิวทราโซล 25% อัตรา 1,000 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นกระตุ้นการออกดอกปลูกวิธีนี้ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 19,000– 20,000 บาท (ไม่รวมค่ายกโคกและค่ากิ่งพันธุ์) ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 2,000–2,500 กิโลกรัม…ในขณะที่ปลูกแบบเดิมได้ผลผลิตไร่ละ 1,500 กก.

 

ที่มา : ไทยรัฐ  : โดย…กรวัฒน์ วีนิล  : อ่านเพิ่มเติม : https://www.thairath.co.th/content/1298241