นำร่อง 5 คนส่งทายาทเกษตรกรศึกษาเรื่องไผ่เศรษฐกิจเมืองจีน

  •  
  •  
  •  
  •  

สภาเกษตรกรฯร่องทายาทเกษตรกรว 5 คน จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และบุรีรัมย์ แห่งชาติ ศึกษาเรื่องไผ่ไปที่งสถาบันวิจัยไผ่แห่งชาติของจีน ใช้เวลาในการอบรม 2 เดือน เน้นตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเบื้องต้น และการแปรรูประดับสูง

         นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  เผยถึงการพัฒนาเศรษฐกิจไผ่ของประเทศไทยว่า      การแปรรูปนวัตกรรม  จากไม้ไผ่นับเป็นเศรษฐกิจชุมชนจนถึงเศรษฐกิจระดับโลก ซึ่งประเทศจีนได้จัดตั้งสถาบันวิจัยไผ่แห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ในการวิจัยพัฒนาต่อยอดและเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรในกรณีที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งของเกษตรกร ชุมชน หรือแม้กระทั่งของบริษัทขนาดใหญ่รัฐบาลจะส่งนักวิจัยเข้าไปร่วมในการพัฒนาด้วย รัฐบาลจีนเองอยากจะเห็นความร่วมมือของเกษตรกรของไทยและจีน

[adrotate banner=”3″]

       สภาเกษตรกรแห่งชาติจัดส่งเกษตรกรหรือทายาทเกษตรกรที่สนใจเรื่องไผ่ไปที่ประเทศจีนโดยทางสถาบันวิจัยไผ่แห่งชาติของจีนจะจัดคอร์สอบรมให้ ซึ่งบัดนี้สภาเกษตรกรแห่งชาติโดยสภาเกษตรกรจังหวัดได้จัดส่งทายาทเกษตรกรนำร่องไปแล้ว 5 คน จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และบุรีรัมย์ ซึ่งจะใช้เวลาในการอบรม 2 เดือน พร้อมกับทายาทเกษตรกรประเทศอื่นๆเพื่อศึกษาตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเบื้องต้นจนกระทั่งการแปรรูประดับสูง

        ยุวเกษตรกรทั้ง 5 คนกลับมาต้องสรุปเป็นเอกสาร รูปเล่ม จัดทำโครงการที่จะลงไปพัฒนานำร่องในเชิงพื้นที่ของตัวเองและสามารถพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้หรือว่าเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกรให้รู้จักการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยไผ่ให้หลากหลายมากขึ้น และหากมีเกษตรกรหรือทายาทเกษตรกรให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นสภาเกษตรกรฯจะประสานสถาบันวิจัยไผ่แห่งชาติของจีนเพื่อนำส่งเกษตรกรหรือทายาทเกษตรกรเพิ่มเติมเป็นรุ่นต่อๆไป โดยต้องขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่ให้การสนับสนุน หากเกษตรกรหรือทายาทเกษตรกรที่สนใจเรื่องไผ่ก็สามารถติดต่อประสานงานไปที่สภาเกษตรกรจังหวัดพื้นที่ของท่านหรือสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ 


ในส่วนของประเทศไทยสภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการส่งเสริมการปลูกและแปรรูปไผ่ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะสภาเกษตรกรจังหวัดลำปางเตรียมปลูกไผ่เพิ่มอีกอย่างน้อย 20,000 ต้น และได้ขึ้นเตาเผาถ่านขนาดเล็ก 1 เตา ขนาด 8 คิว ที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นการนำร่องและเป็นการเรียนรู้ศึกษาเรื่องพลังงานทดแทน โดยภายในเดือนมิถุนายนจะขึ้นเตาอีกเป็นขนาด 18 คิว สิ่งที่ง่ายที่สุดที่จะให้เกษตรกรเรียนรู้ได้เองก็คือเอาไผ่ เศษไผ่หลังจากขายลำจะเหลือข้อ ตา รากหรือกิ่งก้านสามารถจะเอามาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น เผาเป็นถ่านอัดแท่งซึ่งให้ความร้อนสูงรองจากกะลามะพร้าว ถ้าเผาด้วยวิธีที่ถูกต้องจะไม่มีควันและไม่แตก ทำส่งขายเป็นพลังงานทั่วไปและจะพยายามพัฒนาให้เป็นถ่านขาวหรือถ่านไวท์ชาโคลซึ่งเป็นถ่านเพื่ออุตสาหกรรม และต้องขอบคุณกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จัดส่งนักวิชาการมาเป็นพี่เลี้ยงด้วย