กรมวิชาการเกษตร โชว์สับปะรดบริโภคสดพันธุ์ใหม่ “กวก. เพชรบุรี 3” หลังใช้เวลากว่า 27 ปีในการปรับปรุงสายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรเพชรบุรี เผยให้ให้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 7.20 ตัน เนื้อแน่น นุ่มละเอียด สีเหลืองเข้ม รสชาติดี วิตามินซีสูง สามารถทนทานต่ อโรคยอดเน่าและโรครากเน่าได้ดี
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่ง“ส่งเสริมและสนับสนุนด้ านการเกษตร” เพื่อยกระดับรายได้ ของเกษตรกร สร้างโอกาสให้เกิดการพั ฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้แนวคิด“เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน” กรมวิ ชาการเกษตร ซึ่งมีภารกิจหลักวิจัยและปรั บปรุงพันธุ์พืช เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ ตอบสนองต่อความต้ องการของเกษตรกรและผู้บริโภคได้ ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพั นธุ์ “สับปะรด กวก. เพชรบุรี 3”
รพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์
นับเป็นอีกก้าวสำคั ญของการเกษตรไทยที่มุ่งเน้ นการพัฒนาพืชผลที่สามารถเพิ่ มผลผลิตได้สูงและรสชาติดี เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิ จที่สำคัญของไทยอีกชนิดหนึ่ง ในปี 2566 การส่งออกสับปะรดผลสดมีมูลค่าสู งถึง 913 ล้านบาท มีการขยายตัวมากถึง 299 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 ที่มีมูลค่าการส่งออกเพียง 229 ล้านบาท โดยมีจีนเป็นตลาดหลักในการส่ งออกมีส่วนแบ่งการตลาด 86 เปอร์เซ็นต์
ด้านนางสาวมัลลิกา นวลแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า “สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 3” เป็นสับปะรดลูกผสมสายพันธุ์ SPPV#51 ได้มาจากการคัดเลือกลูกผสมระหว่ างสับปะรดพันธุ์สิงคโปร์ปั ตตาเวียและปัตตาเวีย โดยใช้วิธีการคัดเลือกสายต้นที่ ศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรเพชรบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ได้สร้างประชากรลูกผสมสำหรั บการคัดเลือกจาก 3 คู่ผสม ได้แก่ สิงคโปร์ปัตตาเวีย×ปัตตาเวีย (SPPV), ปัตตานี×ปัตตาเวีย (PNPV) และตราดสีทอง×ปัตตาเวีย (TTPV)
จนได้ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีลักษณะเด่นตามที่ต้องการ คือ ให้ผลผลิต 7.20 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทองซึ่งเป็ นพันธุ์เปรียบเทียบ 33 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะผลใหญ่ ให้ปริมาณวิตามินซีสูงถึง 30.03 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 23 เปอร์เซ็นต์ เนื้อแน่นนุ่มละเอียด สีเหลืองสวย รสชาติหวานหอม
สับปะรดกวก. เพชรบุรี 3 เป็นสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ที่ได้ รับการปรับปรุงและวิจัยมาอย่ างยาวนานตั้งแต่ปี 2539-2566 จึงได้พันธุ์ที่เหมาะสมต่ อสภาพภูมิอากาศและดิ นในประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถทนทานต่ อโรคยอดเน่าและโรครากเน่า ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มั กพบในการเพาะปลูกสับปะรดทั่วไป ที่สำคัญสับปะรดพันธุ์กวก. เพชรบุรี 3 ช่วยลดการใช้สารเคมีในการดู แลทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้ อมและลดต้นทุนในการผลิตได้อย่ างมีประสิทธิภาพ
“ในปี 2567 ศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรเพชรบุรี มีต้นแม่พันธุ์ในสภาพแบบปลอดเชื้ อ 3,000 ต้น ซึ่งจะสามารถขยายด้วยการเพาะเลี้ ยงเนื้อเยื่อได้ 20,000 ต้น/ปี ในปี 2568 ศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรเพชรบุรี จะร่วมกับศูนย์วิจัยและพั ฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่ นวางแผนการขยายพันธุ์ด้ วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพิ่ม 40,000 ต้น ซึ่งสับปะรดพันธุ์กวก. เพชรบุรี 3 จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่ วยพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตร เพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงให้ กับเกษตรกรไทย พร้อมทั้งเป็นต้นแบบของการพั ฒนาพืชผลในอนาคตที่ยั่งยื นและสร้างความเข้มแข็งให้กั บเศรษฐกิจการเกษตรของไทย เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่ อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ได้ที่ศูนย์วิจัยและพั ฒนาการเกษตรเพชรบุรี โทรศัพท์ 032-772-853” นางสาวมัลลิกา กล่าว