โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์จาก Institute for Sustainable Agriculture และ University of the Basque Country ในสเปนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการแก้ไขยีนในการพัฒนาข้าวสาลีที่มีปริมาณกลูเตนต่ำโดยใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 การศึกษานี้ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการผลิตข้าวสาลีปลอดกลูเตน (Gluten-Free Wheat) ในตลาด
ข้าวสาลีเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายและใช้เป็นอาหารหลักของผู้คนหลายล้านคน ส่วนประกอบสำคัญของข้าวสาลีคือกลูเตน ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนที่ซับซ้อน ประกอบด้วย α/β-, γ- และ ω-gliadins แม้ว่ากลูเตนจะไม่เป็นอันตรายสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่กลูเตนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพสำหรับผู้ที่เป็นโรค Celiac Disease (CD – โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน) Non-Celiac Wheat Sensitivity (NCWS – ภาวะที่ร่างกายไม่ย่อยกลูเตน) และ IgE-mediated food allergies (โรคภูมิแพ้อาหารอย่างเฉียบพลัน) ซึ่งอาจต้องใช้อาหารที่ปราศจากกลูเตนในอาหาร
ในการศึกษานี้ นักวิจัยได้ก้าวไปข้างหน้าในการผลิตข้าวสาลีปลอดกลูเตน โดยกำหนดเป้าหมายยีนที่เข้ารหัสสำหรับ γ- และ ω-gliadins ในข้าวสาลี ผลการศึกษาพบว่าการกลายพันธุ์นั้นสามารถสืบทอดไปยังลูกหลาน และปริมาณกลูเตนก็ลดลงถึง ร้อยละ 97.7 และ เมื่อผสมกับสายพันธุ์ที่แก้ไขยีนที่มี α-gliadins ลดลง พบว่าสายพันธุ์ที่ได้จะผลิตปริมาณกลูเตนต่ำมากหรือไม่มีเลย ในอนาคต นักวิจัยตั้งเป้าที่จะทำการตรวจสอบโดยการกระตุ้นด้วย peripheral blood mononuclear cells (เม็ดเลือดขาวในเลือดที่มีลักษณะ Nucleus เป็นกลีบเดียวและมักมีลักษณะค่อนข้างกลม) เพื่อรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย CD และ NCWS
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://academic.oup.com/jxb/advance-article/doi/10.1093/jxb/erae376/7750082?login=false