โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์จาก University of Maryland ในสหรัฐอเมริกา ใช้การแก้ไขยีนเพื่อพัฒนาต้น Poplar ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้และสีไม้ออกเหลืองปนเขียว คล้ายไม้จำปา ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไม้ที่มีโครงสร้าง (structural wood) ประสิทธิภาพสูงได้ ต้นไม้ที่ผ่านการแก้ไขยีนนี้ยังสามารถนำไปใช้กักเก็บคาร์บอนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
การผลิตไม้แปรรูปต้องใช้สารเคมีระเหยและพลังงานจำนวนมหาศาล ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้คนและสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้
นักวิจัยได้ใช้การแก้ไขพื้นฐานเพื่อกำจัดยีน 4CL1 ในต้น Poplar ต้นที่ผ่านการแก้ไขยีนจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างไม้อัดที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งทำให้ปริมาณลิกนินลดลง และพบว่ามีความแข็งแรงพอ ๆ กับไม้ธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการทางเคมี เทคนิคนี้เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับการพัฒนาไม้ที่มีความหนาแน่นสูง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cell.com/matter/fulltext/S2590-2385(24)00396-5?_returnURL=https%3A%2F%2Flinkinghub.elsevier.com%2Fretrieve%2Fpii%2FS2590238524003965%3Fshowall%3Dtrue